พลเมืองดี


พลเมืองดีระบบประชาธิปไตย
พลเมืองเรื่องดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตยความหมายของ พลเมืองดี ในวิถีชีวิตประชาธิปไตย                พจนานุกรมนักเรียนฉบับราชบัณฑิตยสถาน  ได้ให้ความหมายของคำต่าง ๆ  ดังนี้                พลเมือง  หมายถึง  ชาวเมือง  ชาวประเทศ  ประชาชน                วิถี  หมายถึง  สาย  แนว  ทาง  ถนน                ประชาธิปไตย  หมายถึง  แบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่                ดังนั้นคำว่า พลเมืองดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย  จึงหมายถึง  พลเมืองที่มีคุณลักษณะที่สำคัญ  คือ  เป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา  มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต  ปฏิบัติตนตามกฎหมายดำรงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ 

ให้เป็นสังคมและประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริงหลักการทางประชาธิปไตย

แนวทางการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตย                พลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตยควรมีแนวทางการปฏิบัติตนดังนี้ คือ1)      1)      ด้านสังคม  ได้แก่(1)    (1)    การแสดงความคิดอย่างมีเหตุผล(2)    (2)    การรับฟังข้อคิดเห็นของผู้อื่น(3)    (3)    การยอมรับเมื่อผู้อื่นมีเหตุผลที่ดีกว่า(4)    (4)    การตัดสินใจโดยใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์(5)    (5)    การเคารพระเบียบของสังคม(6)    (6)    การมีจิตสาธารณะ  คือ  เห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมและรักษาสาธารณสมบัติ2)      2)      ด้านเศรษฐกิจ  ได้แก่(1)    (1)    การประหยัดและอดออมในครอบครัว(2)    (2)    การซื่อสัตย์สุจริตต่ออาชีพที่ทำ(3)    (3)    การพัฒนางานอาชีพให้ก้าวหน้า(4)    (4)    การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม(5)    (5)    การสร้างงานและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ  เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยและสังคมโลก(6)    (6)    การเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคที่ดี   มีความซื่อสัตย์  ยึดมั่นในอุดมการณ์ที่ดีต่อชาติเป็นสำคัญ3)      3)      ด้านการเมืองการปกครอง  ได้แก่(1)    (1)    การเคารพกฎหมาย(2)    (2)    การรับฟังข้อคิดเห็นของทุกคนโดยอดทนต่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้น(3)    (3)    การยอมรับในเหตุผลที่ดีกว่า(4)    (4)    การซื่อสัตย์ต่อหน้าที่โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน(5)    (5)    การกล้าเสนอความคิดเห็นต่อส่วนรวม  กล้าเสนอตนเองในการทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร        หรือสมาชิกวุฒิสภา(6)    (6)    การทำงานอย่างเต็มความสามารถ  เต็มเวลา 
คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา#สังคม
หมายเลขบันทึก: 160249เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2008 13:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท