A-D-L-I กับการเขียนรายงาน TQA


จากบันทึกก่อนๆๆผู้เขียนได้เขียนถึงการเขียนรายงาน TQA เพื่อประกอบการสมัครรับรางวัล TQA ซึ่งแนวทางการเขียน ต้องอยู่ในรูปแบบที่เป็น A-D--L-I แต่รายละเอียดเกี่ยวกับ A-D-L-I ยังไม่ได้เขียนถึงมากนัก วันนี้เลยคิดจะเอามาเขียนไว้พอเป็นแนวทาง

 

ในการปฏิบัติงานนั้น เราก็ต้องมีกระบวนการ

กระบวนการ หมายถึง วิธีที่องค์การใช้และปรับปรุง เพื่อตอบสนองข้อกำหนดต่างๆของข้อกำหนดต่างๆ ตามมาตรฐานแห่งวิชาชีพ หรือมาตรฐานที่เราใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ อย่างเช่น เกณฑ์มาตรฐาน TQA มี 6 หมวดที่ต้องตอบคำถาม ปัจจัยหนึ่งที่ต้องนำมาตอบ ก็คือ A-D-L-I  เพื่อใช้ในการประเมินกระบวนการ ตลอดจนให้คะแนน ในการที่จะได้รับรางวัล

A-Approach = แนวทาง  แนวทาง หมายถึง

  • วิธีการที่ใช้เพื่อให้กระบวนการบรรลุผล
  • ความเหมาะสมของวิธีการที่ตอบสนองข้อกำหนดของหัวข้อต่างๆ
  • ความมีประสิทธิผลของการใช้วิธีการต่างๆ
  • ระดับของการที่แนวทางนั้นนำไปใช้ซ้ำได้และอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลและสารสนเทศที่เชื่อถือได้

หมายถึงว่า ต้องทำงานอย่างเป็นระบบ แนวทางนั้นต้องใช้ซ้ำได้ มีสารสนเทศเพื่อให้เกิดการเรียนรู้

D-Deployment = การนำไปปฏิบัติ

        การนำไปปฏิบัติ หมายถึง ความครอบคลุมและทั่วถึง ของ

  • การใช้แนวทาง เพื่อตอบสนองข้อกำหนดต่างๆของหัวข้อที่มีความเกี่ยวข้องและสำคัญต่อ องค์การ
  • การใช้แนวทางอย่างคงเส้นคงวา
  • การใช้แนวทางในทุกหน่วยงานที่ควรใช้

 

L-learning = การทบทวนและการปรับปรุง

การเรียนรู้ หรือการทบทวนและปรับปรุง หมายถึง

  • การปรับปรุงแนวทางให้ดีขึ้น โดยใช้วงจรการประเมินและการปรับปรุง
  • การกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดของแนวทางโดยใช้นวตกรรม
  • การแบ่งปันความรู้จากการปรับปรุงที่ดีขึ้นและนวตกรรมกับกน่วยงานและกระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้องภายในองค์การ

 

I-Integration = การบูรณาการ

การบูรณาการ  หมายถึง ความครอบคลุมและทั่วถึง ของ

  • การใช้แนวทางที่สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับคามต้องการขององค์การตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดของหัวข้อต่างๆในเกณฑ์
  • การใช้ตัวชี้วัด สารสนเทศและระบบการปรับปรุงที่ช่วยเสริมกระบวนการและหน่วยงานทั่งทั้งองค์การ
  • แผนงาน กระบวนการ ผลลัพธ์ การวิเคราะห์ การเรียนรู้และการปฏิบัติการ มีความสอดคล้องกลมกลืนกันทุกกระบวนการและหน่วยงานเพื่อสนับสนุนเป้าประสงค์ระดับองค์การ

 

การเขียนรายงานที่ดี หมายรวมถึง การได้คะแนนที่ดีด้วย ก็ต้องเขียนให้ครอบคลุม แบบ A-D-L-I ซึ่งหากมองจากหลักการ แนวคิด ก็เป็นการยากลำบากที่จะนำมาปฏิบัติและเขียนออกดมาให้ครอบคลุมทั้งหมด

 

 

หมายเลขบันทึก: 160246เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2008 12:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
ตามมาเก็บความรู้ต่อค่ะป้าแดง
  • สวัสดีครับป้าแดง
  • จะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ครับ
  • ดีจังเลยครับได้ความรู้เพิ่มขึ้น
  • ขอบคุณป้าแดงครับ

สวัสดีค่ะ อ.เพชรน้อย อ.บัวชูฝัก

ป้าแดง ก็ยังไม่เข้าใจลึกซึ้งซักเท่าไรค่ะ

 

ผลผลิตของ Approach  คือ  Plan

ผลผลิตของ Deployment  คือ Do  หรือ Action

ผลผลิตของ Learning  คือ    CQI  ที่เกิดหลัง check   และเรียนรู้  act

ผลผลิตของ Integration  คือ  CPG  นวตกรรม ผลงาน agility  ความพึงพอใจ  ความสำเร็จทั้งหลายที่ต้องการ  หรือ  act  ทีเกิดตามมาหลังมี action

เรื่อง PDCA  เดิมๆคะ ป้าแดง 

่มองในระดับ top eye view  เพื่อวัดผล total quality ขององค์กรค่ะ

ถ้าติดศัพท์   จะงง! และเมาศัพท์จนมองไม่ออก

 

 

ขอบคุณสำหรับความรู้มากๆ ค่ะ พอดีหัวหน้าเพิ่งให้งานมาหมาดๆ งงกับ ADLI มาก แต่พอได้อ่านก็เริ่มจะเข้าใจขึ้นมาบ้างแล้วค่ะ :)

สิ่งที่ยากคือทำอย่างให้เกิดการเรียนรู้และกลายเป็นค่านิยมของคนทำงาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท