ศึกษานพลักษณ์ด้วยการอ่านหนังสืออย่างเดียวได้หรือไม่


มังกรยังอยากสนับสนุนให้เริ่มจาการเข้ารับการอบรมมากกว่าค่ะ เพราะอาจเป็นหนทางลัดสั้นที่จะทำให้เราเข้าใจปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างเป็นกลางและง่ายขึ้น

ในแวดวง "นพลักษณ์" บ้านเรา เวลาใครต้องการศึกษา มักได้รับคำแนะนำว่า ให้ไปเข้าฝึกอบรมสิ

 

ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ติดใจดิฉันเป็นอย่างมาก....  การคิดด้วยตรรกะ แบบหัวๆ ของดิฉัน (ลักษณ์ 5) บอกตัวเองว่า การศึกษานพลักษณ์ น่าจะสามารถศึกษาด้วยตนเอง หรืออ่านหนังสือ และระบุลักษณ์ของตนเอง ... ทำไมจะทำไม่ได้

ในเมื่อการศึกษานพลักษณ์ คือการทำความเข้าใจตัวเอง .... อ่านหนังสือพอให้รู้ทฤษฎี แล้วก็มาทำความเข้าใจตัวเอง ... มันยากตรงไหน .... ไม่เข้าใจ ..... ทำไมต้องกีดกันคนที่ไม่ได้เข้ารับการอบรมนพลักษณ์ขั้นต้น ไม่ให้เข้าร่วมในการอบรมนพลักษณ์หลักสูตรขั้นกลาง

นั่นคือ การคิด........ เพราะตัวดิฉันเอง ก็รู้จักนพลักษณ์ ด้วยการเข้ารับการอบรมในหลักสูตรขั้นต้นเหมือนกัน เลยไม่กล้าฟันธงว่า หากเรารู้จักเอง เรียนรู้เองด้วยการอ่านหนังสือเพียงอย่างเดียวจะเป็นเช่นไร

 

พอไปสนทนาในกระดานสนทนาของสมาคมนพลักษณ์ไทย พบลักษณ์ 4 ท่านหนึ่งที่มักเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกระดานสนทนา เก็บเล็กผสมน้อยข้อมูล พอจะประมวลได้ว่าเธอ เป็นตัวอย่างหนึ่งของคนที่ศึกษาด้วยการอ่านหนังสือ (ไม่ได้เข้ารับการอบรม )

 

พอจะสร้างความเชื่อมั่นต่อความคิดของดิฉันระดับหนึ่ง ว่าคนไทยก็สามารถศึกษานพลักษณ์ด้วยการศึกษาจากหนังสืออย่างเดียวได้  ก็เลยถามเธอไป

เธอ (นามปากกาในกระดานสนทนา คือ "มังกร" ) ตอบมาว่า  

"บอกได้เลยว่า การศึกษาด้วยตนเองมันยากมาก แม้ว่ามังกรจะเริ่มจากการอ่านหนังสือเองก็จริง แต่ก็ผ่านประสบการณ์ที่ผิดพลาดมามาก คือ อ่านอยู่ในกรอบ"ความเข้าใจตามความคิดของตัวเอง" และจากการไม่ได้ศึกษาอย่างลึกซึ้ง พอคิดจะใช้นพลักษณ์แก้ปัญหา กลายเป็นแค่เริ่มต้น ก็ไปใช้การตัดสินลักษณ์คนอื่นตามความคิดของตัวเอง ซึ่งตอนนั้น ก็ดันระบุลักษณ์เขาผิดเสียด้วย เลยกลายเป็นยุ่งกันไปใหญ่ ยิ่งคิดแก้ปัญหา ยิ่งเจ็บหนัก แต่ที่ผ่านพ้นมาได้ เพราะเรื่องของการเห็นคุณค่าของมิตรภาพที่มีกันมานานและการให้อภัยแก่กัน ซึ่งนพลักษณ์น่าจะเป็นตัวเสริมการให้อภัยให้เกิดง่ายขึ้น"

" มังกรยังอยากสนับสนุนให้เริ่มจาการเข้ารับการอบรมมากกว่าค่ะ เพราะอาจเป็นหนทางลัดสั้นที่จะทำให้เราเข้าใจปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างเป็นกลางและง่ายขึ้น โดยไม่ใช่เข้าใจตามกรอบความคิดของตัวเองที่ได้อ่านมา ซึ่งกว่าจะเข้าใจดีขึ้น ก็อาจทำให้เราต้องกระทำเหตุต่างๆที่ต้องมาเสียใจภายหลัง หรือต้องมานั่งบอกตัวเองว่า..ถ้าเพียงฉันรู้... "

 

นั่นคือส่วนหนึ่งที่เธอตอบค่ะ

หากสนใจอ่านต่อ ไปที่ http://board.dserver.org/n/noppaluk/00000496.html

อย่างไรก็ตาม ดิฉันอยากให้คนไทยได้ศึกษา และเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการฝึกอบรม แต่จะด้วยวิธีไหน อย่างไร ตอนนี้ยังไม่แน่ใจ

เคยมีองค์กร คือ สวทช. เสนอสมาคมนพลักษณ์ไทยให้ทำเป็น e-learning เรื่องนพลักษณ์ ดิฉันสนใจ แต่ยังใคร่ครวญดูว่า เหมาะสำหรับขั้นต้นหรือไม่  ... หรือเหมาะสมสำหรับคนที่รู้ลักษณ์แล้วเท่านั้น

 

ท่านๆ มีความเห็นอย่างไร แลกเปลี่ยนกันได้นะคะ ... ยินดีรับฟังค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 160158เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2008 16:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)
อาจารย์คะ..ทำเป็นe-learning ก็น่าสนใจอีกแบบนะคะ..เหมือนกับสื่อเข้าถึงผู้สนใจที่หลากหลายดีค่ะ..ก็น่าลองนะคะ..แต่สำหรับตัวเองก็ยังไม่เคยได้อบรมเรื่องนี้..ก็ติดตามอ่านจากของอาจารย์บ้าง จากแหล่งอื่นบ้างก็พอจะเข้าใจนะคะ.. ยังไงก็เป็นกำลังใจให้ค่ะ..และจะติดตามอ่านเสมอค่ะ.. ขอบคุณค่ะ..
  • สวัสดีครับ
  • ผมหาความรู้เรื่องนี้ ก็จากหนังสือ ไม่เน้นเข้าใจคนอื่น เน้นการเข้าใจตนเอง ก็คิดว่า หนังสือ ก็ใช้ได้น่าพอใจ
  • แต่ความเห็นของผมคือ หนังสือมีน้อยไปครับ และบางเล่ม ก็แปลแล้วอ่านไม่รู้เรื่อง (ปัญหาของภาษา) ปัญหาจริง น่าจะอยู่ตรงนั้นมากกว่า

 

ขอเรียนถามอาจารย์วิบูลครับว่า

เล่มไหนพอจะอ่านรู้เรื่อง หรือเป็นเล่มเริ่มต้นที่ดีบ้าง

  • ขอบคุณ P คุณครูแอ๊ว ที่ติดตามอ่านสม่ำเสมอ และมาคุยด้วยค่ะ
  • ขอเรียนถาม P  wwibul  คุณวิบูล ค่ะว่า ที่อ่านศึกษาด้วยตนเองนั้น นอกจากหนังสือภาษาไทยแล้ว อาจารย์อ่านหนังสือภาษาอังกฤษด้วยหรือไม่คะ ... ถ้าอ่าน อ่านของใครบ้างคะ .... อยากทราบเพื่อทำการสำรวจค่ะ .... เพราะของทางสมาคมนพลักษณ์ไทยนั้นเป็นแนวทางของ เฮเลน พาล์มเมอร์ค่ะ แต่เราก็ศึกษาของหลายคน เพียงแต่ไม่ได้ใช้เป็นแนวทางในการจัดการฝึกอบรมค่ะ

 

  • คุณผู้สนใจคะ.... ขออนุญาตตอบที่คุณถามคุณวิบูลนะคะ ว่า เล่มไหนน่าสนใจสำหรับทำความเข้าใจ หรือรู้จักนพลักษณ์ในเบื้องต้น ดิฉันขอแนะนำเล่มที่แปลโดยทีมของคุณหมอจันทร์เพ็ญ ชูประภาพวรรณ ค่ะ ชื่อ "นพลักษณ์ แผนที่เข้าถึงตน เข้าถึงคน" http://newsite.enneagramthailand.com/book03-mmap.html
  • หรือสนใจเล่มอื่นๆ ก็สามารถเข้าไปดูในเว็บไซด์ของสมาคมนพลักษณ์ไทยได้ค่ะที่ http://newsite.enneagramthailand.com/bookindex.html
  • ภาษาไำทยนี่แหละครับ
  • แปลดีหรือไม่ดีนี่ เป็นเรื่องของดุลยพินิจ ขอไม่ออกความเห็นครับ แต่ในฐานะผู้ซื้ออ่าน ลองพลิก ๆ ดูไม่กี่หน้าก็รู้แล้วว่า แปลแล้วอ่านรู้เรื่องไหม ถ้าลงตัว ก็ซื้อ ไม่ลงตัว ก็ไม่ซื้อ
  • ปัญหาพื้นฐานของหนังสือแปลบ้านเราครับ ที่คนแปลบางส่วน อ่อนภาษาไทย
  • คุณวิบูลคะ แล้วเล่ม "รักผลิบาน งานผลผล" http://newsite.enneagramthailand.com/book001.html  ถือว่าการแปลเป็นอย่างไรคะในความเห็นส่วนตัว  .... เพราะบรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์โกมล คีมทอง (ที่พิมพ์หนังสือนพลักษณ์ส่วนใหญ่) บอกว่า แปลดีที่สุดเท่าที่มีในตลาดเมืองไทยแล้วค่ะ
  • สวัสดีครับ
  • เล่ม http://newsite.enneagramthailand.com/book001.html  นี้ ผมไม่เคยอ่านครับ
  • แต่ที่ผ่านมา หนังสือของสำนักพิมพ์โกมล คีมทอง ค่อนข้างจะมีมาตรฐานเรื่องภาษาที่ดี ถึงดีมากครับ

ผมมีนิสัยชอบเรียนรู้ด้วยตนเองอยู่แล้ว ก็เลยไม่ลำบากเรื่องการอ่านและทำความเข้าใจด้วยตนเอง

แต่ก็เห็นด้วยกับประเด็น อ่านอยู่ในกรอบ "ความเข้าใจของตัวเอง" 

สมัยก่อนตอนช่วงอายุ 25 ผมเคยอ่านงานของ กฤษณะ มูรติ ,ตอนนั้นแปลความเข้ารกเข้าพงไปเลยครับ

อืม.... น่าสนใจสำหรับคุณ pphetra แสดงว่าศึกษาเอง โดยไม่ได้เข้ารับการอบรมใช่ไหมคะ

รบกวนขยายความประเด็น "อ่านอยู่ในกรอบของความเข้าใจด้วยตนเอง" หน่อยได้ไหมคะ

มันเป็นปัญหา อุปสรรค หรือเป็นข้อดี สำหรับการศึกษาเรียนรู้ "นพลักษณ์" ของคุณ หรือไม่ อย่างไร

ไม่ทราบว่า มีอาการเข้ารกเข้าพง เหมือนอ่าน กฤษณะ มูรติ หรือเปล่าคะ

 เข้ามาคุยบ้างนะคะคุณอาตาปี  ตามประสาคนหกอย่างพี่  ไม่ชอบอ่านอะไรที่ยาวๆ สาระเยอะๆ หรือลึกลับซับซ้อน  ตอนมารู้จักนพลักษณ์ กำลังอยู่ในช่วงวิกฤติของชีวิต  มันมืดมนตีบตัน ที่เรียกว่ามืดแปดด้านนั่นแหละ  ก็อ่านๆๆๆๆแล้วก็ติดใจ ว่าเนี่ยใช่เลยคำตอบทั้งหมดอยู่ในศาตร์นี้ แต่ไม่เข้าใจแฮะ  มันโยงใยยุ่งเหยิง  พอดีอ่านเจอการอบรมนพลักษณ์  รีบสมัครไปเลย ยินดีควักกระเป๋าจ่ายตังไป(ปกติขี้เหนียว) แล้วก็เหมือนได้แผนที่ของขุมทรัพย์ให้เรามุ่งค้นหาต่อไป ด้วยการสำรวจตัวเอง  ตั้งสติหมั่นเตือนตนเอง  ทำอะไรอยู่  ทำไปทำไม  คิดไปทำไม  ทำแบบนี้อีกแล้ว  พูดไปทำไมไม่คิด  กลัวอีกแล้ว กลัวทำไม กลัวอะไร  เขามีอะไร ทำไมกลัวเขา  เอ๊ะ .คำถามแยะเนอะ  ผุดขึ้นมามากมายในหัว แต่กว่าจะชัดเจนว่าตัวเองเป็นคนลักษณ์หก ก็ใช้เวลาสามปีมั้ง    เพราะเราไม่อยากเป็นคนคนนี้  เราเกลียดตัวเอง เราเลยปฏิเสธ  เราอยากเป็นสี่  อยากเป็นสอง  อยากเป็นห้า  อยากเป็นหนึ่ง เราก็เลยหลงทางอยู่นาน มาชัดเจนตอนรู้จักคุณอาตาปีนี่แหละ
ตอนนี้กล้าหาญขึ้นเยอะ  ใจสงบขึ้นมาก แต่ยังชอบหนีมากกว่าสู้ 
บ๊าย...บายค่ะ
  •  อ้าว คุณmamre  ใครๆ เขาก็เลยรู้กันหมดเลยว่า ดิฉัน คือ อาตาปี ....
  • ไม่เป็นไรค่ะ เพราะเผลอชวนคนแถวๆ gotoknow นี้ไปอ่านกระดานสนทนาไว้เหมือนกัน จะได้ไม่งง ว่าดิฉันไปคุยในกระดานสนทนาตอนไหน 5555
  • ขอบคุณนะคะที่แวะมาอ่าน มาทักทาย
  • เป็นกำลังใจให้ สู้ สู้ ต่อไปนะคะ ถ้าเหนื่อยก็พักบ้างค่ะ

ครั้งหนึ่งผมเคยไปเดินป่า ตอนนั้นชอบกล้วยไม้มาก  ก็เลยพยายามมองหาพวกกล้วยไม้ เดินไปพักใหญ่ ก็เหลือบไปเห็นกล้วยไม้ดินแทงหน่อขึ้นมา แปลกแล้วก็สวยมาก ก็นึกในใจว่า ไม่เคยเห็นอย่างนี้ ต้องเป็นพวกหายากแน่เลย 

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ทันทีที่ผมเห็นต้นนี้ ผมก็พบว่า รอบๆตัวผม และทางเดินที่ผ่านมา มันมีต้นไม้ชนิดนี้ขึ้นอยู่เต็มไปหมด (มันไม่ใช่พวกที่ดอกมีสีสะดุดตา แต่เป็นพวกที่กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม)

ตอนอ่านกฤษณะ มูรติ ก็เหมือนกันครับ เขาพูดถึงสิ่งที่ผมไม่เคยเห็น(เห็นทางใจนะครับ ไม่ใช่เห็นทางตา), ผมทำได้แต่เพียงใช้ กลไก logic  ตีความ, แต่เมื่อเวลาผ่านไป เราเกิดได้พบเห็นสิ่งที่เขาพูด กลับไปอ่านอีกที ก็จะร้อง อ๋อ ใช่ๆ

 ส่วนนพลักษณ์นี่ ตีความผิดหรือถูกนี่ บอกไม่ได้เหมือนกันครับ :) 

Note: อาตาปี == อัญชลี, ปิดไม่มิดหรอกครับ น้ำเสียงเป็นเอกลักษณ์ขนาดนั้น 

 

คุณ pphetra คะ  มีหลายเรื่องให้คุยกันเลยนะเนี่ยะ

  • เจอหนุ่ม 5 ชอบกล้วยไม้อีกคนหนึ่งแล้ว .... คุณสมสิทธิ์ (หมู) ในกระดานสนทนา ก็เป็น 5 หลงใหลกล้วยไม้ คุณลองเข้าไปคุยกับคุณหมูในกระดานสนทนาของนพลักษณ์ดูก็ได้นะคะ

 

  • ส่วน อาตาปี == อัญชลี หน่ะ ดูง่ายขนาดนั้นเลยหรือ.... ต๊กใจนะ

 

  • คำถามจากหัวข้อ ..... คิดอย่างไรคะ หากนำนพลักษณ์มาทำเป็นระบบ e-learning .... มีความเห็นจะแนะนำอย่างไรหรือไม่คะ

 

  • และสุดท้าย การตีความนพลักษณ์ ไม่มีถูก/ผิด ค่ะ (ไม่ใช่ลักษณ์ 1 ...555 ขอแซวหน่อย...) อย่างที่เคยเขียนไว้ที่ไหนจำไม่ได้แล้ว ว่า เจ้าตัวของแต่ละคน เป็นคนที่น่าจะรู้ดีที่สุดว่า ตัวเอง (ลักษณ์ใดก็ตาม) เป็นอย่างไร
  • แต่หัวใจของนพลักษณ์คือ การรู้ชนิดที่ว่า รู้ว่ากลไกทางจิตมันทำงานอย่างไร มันขับดันให้เรามีพฤติกรรมอย่างไร ทำไม เพื่ออะไร ประมาณนั้นค่ะ ....... ทั้งหลายทั้งมวลเพื่อเราจะได้มีสติเท่าทันกับปัจจุบันขณะ ไม่หลงไปกับภาวะไร้สติ ให้กลไกทางจิตมันผลักดันเราไปไหนต่อไหนค่ะ

อ้างอิงจาก

ยินดีที่ได้พบคนที่สนใจในศาสตร์นพลักษณ์ในชุมชน gotoknow นี้เพิ่มอีก 1 ท่านค่ะ ดิฉันก็มักเข้ามาเขียนบล๊อกที่นี่เกี่ยวกับนพลักษณ์โดยตรงเลยค่ะ ว่างๆ ก็เชิญไปเยี่ยมเยียนด้วยนะคะ http://gotoknow.org/blog/nujjin/toc อีกบล๊อกนึงเป็นการประยุกต์นพลักษณ์กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ค่ะ http://gotoknow.org/blog/hrd-enneagram/toc

วันนี้ได้มีโอกาสได้เข้าไปเรียนรู้จากhttp://gotoknow.org/blog/nujjin/toc และ http://gotoknow.org/blog/hrd-enneagram/toc

แล้ววันนี้เจอคนจริง รู้จริงด้านนพลักษณ์ขอร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยครับ ไม่เคยอบรม แต่อาศัยเจอเรื่องของนพลักษณ์เลยสนใจ ขอเรียนรู้จากบล็อกของท่านด้วยครับ

ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ คุณบินหลาดง

แล้วแวะเข้ามาคุยกันนะคะ ไม่ต้องเกรงใจค่ะ

อาจารย์คะ

เข้ามารายงานตัวค่ะ

ยังอยู่แต่ไม่ค่อยได้มา/ไป เยี่ยมที่ไหนๆ เลย

ระลึกถึงเสมอค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณพวกบ้า 555

คิดถึงเสมอค่ะ

ไม่ทราบว่าเข้าไปในกระดานสนทนาอันใหม่ของสมาคมได้หรือยังคะ ...เห็นตอนนั้นบ่นๆ อยู่

ถ้าอย่างไรโทรหานุชตอนอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ก็ได้นะคะ จะบอกทีละขั้นตอนเลยค่ะ

ตอนนี้ในกระดานฯ คนห้าคุยกันสนุกเลยค่ะ เรื่อง "ความโกรธ" สืบเนื่องจากกลุ่มศึกษาค่ะ

รบกวนเเปะ link ให้ด้วยคะ ไปไม่ถูกคะ ตามความคิดนะคะ อยากให้มีการเเปลหนังสือนพลักษณ์ออกมาอีกคะ หนังสือมีน้อยเกินไป คนที่ชอบศึกษาด้วยตัวเองมีเยอะคะ เคยเข้าไปดูในเนตเรื่องเกี่ยวกับบทความนพลักษณ์ของต่างประเทศ มีเยอะเเยะมากมาย เเล้วเนื้อหาบางตอนของไทยไม่มีคะเป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง

http://www.enneagramthailand.org/web/index.php?option=com_content&view=article&id=66:2010-02-22-03-15-38&catid=15:bookreview&Itemid=25

มีหนังสือที่แปลเป็นไทยแล้วหลายเล่มให้เลือกศึกษาค่ะ

หรืออ่านประสบการณ์ของคนไทยที่ศึกษานพลักษณ์ได้ในเว็บเก่าของสมาคมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท