2.เชิญร่วมงานสัมมนาพิเศษ ฟรี


เศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงกับการพึ่งพาตนเองของคานธี

โครงการสัมมนาพิเศษ

เรื่อง แนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ของในหลวง

กับแนวคิดการพึ่งพาตนเองของมหาตมา คานธี 

จัดโดย 

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล

ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย 

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2551

ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ ชั้น 2 สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท

มหาวิทยาลัยมหิดล

------------------------------ 

1. หลักการและเหตุผล 

ประเทศไทยนับว่าโชคดีที่มีองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพียง  พระองค์ท่านพระราชทานแนวคิดนี้ครั้งแรกแก่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่

18 กรกฎาคม 2517 โดยมีข้อความที่สำคัญอย่างยิ่งตอนหนึ่งว่า การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำ

ตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือความพอมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน

โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควร

ละปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป

หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้ผนปฏิบัติ

การสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลใน

เรื่องต่างๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด

และในช่วงที่ประเทศไทยประสบภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจครั้งล่าสุดเมื่อปี 2540 พระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขบทความเรื่อง ปรัชญา

ของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญ

ผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่นๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัส

เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งประราชทานไว้ในวโรกาสต่างๆ รวมทั้งพระราชดำรัสอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

และทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่าย

                และประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2542 โดยมีใจความว่า

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ

ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไป

ในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกภิวัตน์ ความพอเพียง

 หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัว

ที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะ

ต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ใน

การวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของ

คนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม

ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร

มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่าง

รวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

 

(อ้างจาก สินธุ์ สโรบล ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น การเรียนรู้สู่สมดุล

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับงานวิจัยท้องถิ่น สกว.  สำนักงานภาค, 2549: 2-4)

                กรอบแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงชี้แนะ

                แนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคม

               ไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤต เพื่อความมั่นคง

               และความยั่งยืนของการพัฒนา (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

               2549 หน้า 12 อ้างในเรื่องเดียวกัน หน้า 5)

 

มหาตมาคานธีเป็นผู้ที่มีความโดดเด่นเป็นที่รู้จักของโลกในความเป็นผู้นำแห่งสันติวิธีหรือที่รู้จักกันใน

ชื่อว่า สัตยาเคราะห์" (Satyagraha)  คานธีเป็นผู้ที่อยู่เหนือขอบเขตของกาลเวลาและสถานที่  

ด้วยความตั้งใจของท่านที่ต้องการให้เศรษฐกิจของประเทศอินเดียโดยรวมเติบโตไปพร้อมกับคุณค่า

ของวัฒนธรรมและการที่ผู้คนไม่เห็นแก่ตัว ไม่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์ในด้านวัตถุเป็นหลัก แต่ท่าน

กลับสนับสนุนการทำให้ชีวิตมนุษย์ดีขึ้น  ท่านมีความคิดปฏิวัติในเรื่องการพึ่งพาตนเองโดยไม่พึ่ง

ผู้อื่น โดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ (ชาวชนบท) ไม่ถูกทอดทิ้ง ประเทศสามารถเจริญ

เติบโตได้ด้วยตนเองโดยปราศจากการควบคุมทั้งทางด้านวัตถุ (ความโลภ ความเห็นแก่ตัว) และ

ทางด้านจิตใจ

ทั้งสองแนวคิดนี้ต่างมีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างยิ่ง แนวคิดของท่านมหาตมา คานธีต้องการยก

ระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศให้ดีขึ้นซึ่งสอดคล้องกับ

โครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการพัฒนาชนบท ซึ่งมีประมาณ

4,000 โครงการทั่วทุกภาคของประเทศ

               

                แม้ว่าในปีพุทธศักราช 2550 ซึ่งเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษาของพระบาทสมเด็จ

               พระเจ้าอยู่หัว ไปแล้ว แต่ในปีพุทธศักราช 2551 จะครบ 100 ปีของเมล็ดพันธุ์การแสวงหาสันติภาพด้วย

               สันติวิธีสัตยาเคราะห์ (Satyagraha) และการถึงแก่อสัญกรรมครบ 60 ปีของท่านมหาตมาคานธี

               สถาบันฯ และสถานเอกอัครราชทูตอินเดีย ประจำประเทศไทยประสงค์ที่จะจัดสัมมนาเรื่องนี้ขึ้นเพื่อ

               เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และยกย่องท่านมหาตมา คานธีบิดาของประเทศอินเดีย

               และผู้นำของโลกท่านหนึ่งที่มีแนวความคิดที่คล้ายคลึงกันดังกล่าวซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นสากล

               แม้จะต่างกรรม ต่างวาระ และต่างสถานที่ก็ตาม หากได้สร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนชาไทย

               ได้เข้าใจปรัชญานี้อย่างถ่องแท้และนำ ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลดีทั้งต่อตนเอง สังคม ประเทศชาติ

               และภูมิภาคต่อไป

กำหนดการ

8.30-9.00 น.                          ลงทะเบียน

9.00-9.10 น.                          พิธีเปิด        โดย อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

9.10-9.20 น.                          คำกล่าว ของ ฯพณฯ เอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย Ms. Latha Reddy

 9.20-9.30 น.                         พิธีเปิดนิทรรศการ      

                                                โดย ฯพณฯ เอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย Ms. Latha Reddy และ

                                                อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

9.30-10.00 น.                       ปาถกถา เรื่อง แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง" 

                                                โดย         รองศาสตราจารย์ ดร.เสรี พงศ์พิศ       ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจ

                                                ชุมชน และประธานมูลนิธิหมู่บ้านผู้อำนวยการโครงการมหาวิทยาลัยชีวิต

10.00-10.30 น.                     แนวคิดการพึ่งพาตนเองของมหาตมา คานธี                            

                             โดย นายนารยัน เดซาย  ลูกชายเลขานุการมหาตมา คานธี จากประเทศอินเดีย

10.30-10.45 น.                     พัก รับประทานของว่าง

10.45-12.00 น.                     เสวนาร่วมกับวิทยากรทั้งสองท่าน                                                

                                               ผู้ร่วมเสวนา  ภิกษุณีฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์  ศาสตราจารย์ ดร.ศรีสุรางค์ พูนทรัพย์

                                               ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรพัฒน์ ประพันธวิทยา  รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑาทิพย์

                                                อุมะวิชนี และรองศาสตราจารย์ ดร.อมรชีพ โลจัน

12.00-13.00 น.                     รับประทานอาหารกลางวัน

13.00-15.00 น.                     ชมภาพยนต์ เกี่ยวกับ  “Gandhi”  จากสถานทูตอินเดีย

                                                (ยังไม่เคยฉายที่ใดมาก่อน)

ในงาน เชิญชมและเลือกซื้อหนังสือ และสินค้าได้

กรุณาสำรองที่นั่งได้ที่คุณวาสนา ส้วยเกร็ด โทรสาร 02-800-2332  โทร. 02-800-2308-14 ต่อ 3209

ภายในวันที่ 31 มกราคม 2551

 
หมายเลขบันทึก: 160083เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2008 04:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

เป็นหัวข้อที่สนใจมากครับ

อีกทั้งผู้เป็นวิทยากรก็เป็นผู้ที่มีความรู้จริงๆ ไม่ว่าจะเป็น ดร.เสรี หลวงพี่ฉัตรสุมาลย์(ผมเป็นลูกศิษย์หลวงย่าครับ)

ขอความกรุณาสรุปผลมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ

ขอบคุณครับ

เรียน คุณพลเดช ที่เคารพ

    กว่าจะเรียนเชิญวิทยากรทั้งจากอินเดียและไทยได้ใช้เวลานานมากค่ะ จนเตรียมงานเกือบไม่ทัน แต่เมื่อท่านทั้งสองกรุณารับเชิญทำให้ทีมงานที่จัดทั้งไทยและอินเดียมีกำลังใจเร่งรีบประชาสัมพันธ์กันเต็มที่เลยค่ะ จะพยายามสรุปมาฝากค่ะ

ด้วยความเคารพ

โสภนา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท