ประเทศฮังการี


ประเทศฮังการี

ข้อมูลทั่วไปของประเทศฮังการี
 สาธารณรัฐฮังการี     อยู่บริเวณที่ราบคาร์เปเทียนในภูมิภาคยุโรปกลาง ทิศเหนือติดสโลวาเกีย และยูเครน ทิศใต้ติดโครเอเชียและเซอร์เบีย-มอนเตนิโกร ทิศตะวันตกติดออสเตรียและสโลวีเนีย ทิศตะวันออกติดโรมาเนีย
เมืองหลวงกรุงบูดาเปสต์ (Budapest) 2.1 ล้านคน ประชากรทั้งประเทศ 10.4  ล้านคน พื้นที่ 93.030 ตารางกิโลเมตร 50 % ของพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม 70% เป็นพื้นที่เพาะปลูก มีแม่น้ำสำคัญสองสาย Danube และ Tisza มีทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปกลาง คือ Balaton ภาษาทางการคือภาษา Hungarian
 ประชากรส่วนใหญ่เชื้อชาติ Magyer 89.9%  และ Gypsy 4% German 2.6% Serb 2% Slovak 0.8% Romanian 0.7% ตามลำดับ นับถือศาสนา Catholic 65% Protestant 25%
 สาธารณรัฐฮังการี แบ่งเขตเป็น 19 จังหวัดและเมืองหลวง วันชาติ 20 สิงหาคม สกุลเงิน Forint (US$1=203Froint) สถาปนาสพ.ทางการทูตต่อกันเมื่อ 24 ต.ค.1973 ไทยเปิดสอท.ที่ฮังการีเมื่อปี 1989

เอกอัครราชทูตไทย (2004) 
นายธวัชชัย ปิยรัตน์ วปอ. (วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร) รุ่น 42 (ปี 2547)

ทำเนียบเอกอัคราชทูต
 เนื้อที่ 1,258 ตารางเมตร
 ราคาที่ดินและอาคาร 2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (พ.ศ.2533)
 ก่อสร้างเมื่อปลายปี ค.ศ.  1986
 จัดซื้อเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1990 หรือ ปี พ.ศ.2533
ประวัติศาสตร์
 ชาวฮังการีอพยพมาจากเทือกเขา Ural เมื่อ 1,000 ปีมาแล้ว มี 7  เผ่าพันธุ์ที่อพยพเข้ามายึดครอง Carpathian Basin Nyek, Megyer, Ket-Gyarmat, Tarjan, Jemo, Keri & Keszi หัวหน้าเผ่าชื่อ Arpad  ได้ประกาศความเป็นประเทศ Stephen หลานของ  Arpad สถาปนาตนขึ้นกษัตริย์องค์แรก Pop Sylvester II  ส่งมงกุฎ Holy Crown  มาถวายกษัตริย์ Stephen และได้สถาปนาให้เป็น Saint King Matthias (1458-1490) ได้ทำการรบต่อต้านการรุกรานจากตุรกี และได้ขยายอาณาเขตประเทศ อาณาจักร Ottoman ได้เข้าครองฮังการี (1529-1699)
 ฮังการีถูกแบ่งแยกออกเป็น  3  ส่วน
- Kingdom of Hungary ทางเหนือ
- Principality of Transylvania  ทางตะวันออก
- Ottoman Empiere ทางใต้
ปี 1686 Gabor Bethlen, Prince of Transylvania ได้นำกองทัพพันธมิตรเข้าขับไล่กองทัพเติร์กออกจาก  Buda
ปี 1848-1849 เกิดสงครามปฏิวัติและการประกาศอิสรภาพจาก Austro-Hungarian Empire
ปี 1918 เริ่มศักราชการเป็นประเทศเอกราชสู่ยุคปัจจุบัน
Treaty of Trianon (4 มิ.ย. 1920) ได้มีการจัดพรมแดนประเทศใหม่
Buda & Pest รวมตัวเป็นเมืองหลวงในปี 1873
ฮังการีประกาศตัวอยู่ข้างเยอรมนีในปี 1938
 กองทัพนาซีเข้ายึดครองฮังการีเมื่อ 19 มี.ค.  1944
 กองทัพโซเวียตเข้ายึดครองประเทศ ปท. เมื่อเดือน เม.ย 1945
 เริ่มร่างรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี 1987
 ปี 1989  ฮังการีประกาศยอมรับพรรคกฎหมายหลายพรรค
 เริ่มปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อปี  1989
 มีประธาราธิบดีเป็นประมุขและเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐฮังการี


การเมือง-การปกครอง
 มีรัฐธรรมนูญฉบับปี 1949 และฉบับแก้ไขปรับปรุงปี 1989 บุคคลสำคัญ ได้แก่นาย Ference Madl ประธานาธิบดี (5 ปี) นาย Peter Medgyessy นายกรัฐมนตรี       นาง Katalin Szili   ประธานรัฐสภา รัฐสภามีสภาเดียว (unicamaral)  สมาชิก 386  คน      สส. ดำรงตำแหน่งคราวละ 4  ปี ประชุมสามัญปีละ 2  สมัย รัฐสภาฮังการีเป็นองค์กรนิติบัญญัติสูงสุดมีอำนาจหน้าที่ร่างและประกาศใช้กฎหมายพิจารณางบประมาณเลือกตั้ง ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี  สมาชิกคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ประธานธนาคารชาติ  ประธาน ศาลฎีกามีอำนาจตั้งกระทู้ถามประธานาธิบดี ปลัดประธานาธิบดี ลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลและส่งทหารไปรบนอกประเทศ คณะรัฐมนตรีเป็นองค์กรด้านบริหาร  ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการ  และ  Political State Secretary รัฐมนตรีช่วย รัฐบาลชุดปัจจุบันเป็นรัฐบาลผสมระหว่างพรรค Hungarian Socialist และพรรค  Alliance of Free Democratsพรรคฝ่ายค้านได้แก่  Hungarian Civic

บุคคลสำคัญ:ชาวฮังการีได้รับรางวัล Nobel Prize 13  คนในสาขาวิทยาศาสตร์  12 คน และสาขาวรรณคดี 1 คน

เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง
ฮังการีเข้าร่วม EU วันที่ 1 พ.ค. 2004 เป็นสมาชิกกลุ่มประเทศ V isegrad (เขตการค้าเสรี 4 ประเทศ ฮังการี โปแลนด์ เช็ค สโลวาเกีย)กำลังจะเข้าร่วมกลุ่มประเทศ Schengen  (เบลเยียม เยอรมัน  ฝรั่งเศส  กรีซ  อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์        ออสเตรีย โปรตุเกส  สวิสเซอร์แลนด์ และสเปน)
ประเทศ สมาชิกใหม่ของ EU (European Union) ได้ประเทศสมาชิกใหม่ 10 ประเทศ คือ Estonia, Lithuania, Latvia, Hungary, Slovakia, Czech Republic, Poland, Slovenia, Malta และ Cyprus ทำให้มีพลเมืองเพิ่มขึ้นเป็น 400 ล้านคน
GDP รวม 12.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ  จึงเป็นกลุ่มปท. ที่ใหญ่ที่สุด

เศรษฐกิจ (2002)
ผลิตผลมวลรวม (GDP)  US$65.8 bn
รายได้ประชาชาติ (GDP per capita)  US$6,535
อัตราเติบโตของ GDP 3.4%
ภาวะเงินเฟ้อ  4.7%
มูลค่านำเข้า 42.139 พันล้านยูโร
มูลค่าส่งออก 37.654 พันล้านยูโร

สินค้าส่งออก
เครื่องจักรไฟฟ้า/ส่วนประกอบ
ผลิตภัณฑ์เครื่องไฟฟ้า  อุปกรณ์สื่อสาร
เครื่องกำหนดพลังงาน
ยานพาหนะ/ชิ้นส่วน
คอมพิวเตอร์/อุปกรณ์
เสื้อผ้าสำเร็จรูป
ตลาดส่งออกได้แก่ เยอรมนี  ฝรั่งเศส  อังกฤษ  อิตาลี เนเธอร์แลนด์  ออสเรีย  สหรัฐฯ

มูลค่าการค้ากับไทย
มูลค่าการค้ารวม US$179.6m (2003)
นำเข้าจากไทย US$144.2m (2003)
นำเข้าจากฮังการี US$35.4m (2003)
ไทยได้เปรียบดุลการค้า US$  108.8m (2003)
ใน 3 เดือนแรกของปี 2547  ส่งเข้าขยายตัว 51.11%

สินค้าที่ฮังการีนำเข้าจากไทย
รถยนต์  อุปกรณ์และส่วนประกอบ
มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
วงจรพิมพ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
เสื้อผ้าสำเร็จรูป
ผลไม้กระป๋องและแปรรูป  อาหารทะเลกระป๋อง
ลำโพงขยายเสียงและส่วนประกอบ

สินค้าที่ไทยนำเข้าจากฮังการี
เครื่องคอมพิวเตอร์  อุปกรณ์และส่วนประกอบ
เครื่องใช้ไฟฟ้า  เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ
ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม
เคมีภัณฑ์  เครื่องจักรสำหรับอุตสาหกรรม
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบ  รวมทั้งโครงรถและตัวถัง
ยากำจัดศัตรูพืช  เครื่องมือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์
ผลิตภัณฑ์พลาสติก

สินค้าที่ฮังการีนำเข้า
รถยนต์/ส่วนประกอบ
ผลิตภัณฑ์จากโลหะ
อุปกรณ์โทรคมนาคมและผลิตภัณฑ์เครื่องไฟฟ้า
เครื่องจักรอุตสาหกรรม  เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ
เครื่องจักรอุตสาหกรรมเฉพาะ  ผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ดอื่น ๆ
ตลาดนำเข้าที่สำคัญได้แก่  เยอรมนี   อิตาลี  ออสเตรีย จีน  ฝรั่งเศส  อังกฤษ  เนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์  ญี่ปุ่น  สหรัฐฯ  มาเลเซีย  และเสปน

ความสัมพันธ์ระดับทวิภาคี
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ 26-30 มิ.ย. 2440
สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อ 24 ต.ค. 2516
ฮังการีตั้งสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย เมื่อ  2541
ไทยเปิดสถานกงศุลกิตติมศักดิ์ประจำเมืองพัทยาเมื่อ 16 ม.ค. 2541
ไทยเปิดสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบูดาเปสต์  เมื่อ 2532
เอกอักคราชทูตฮังการีประจำไทยฯ ฯพณฯ นาย Jolsvai Sandor


การเยือนไทยของฝ่ายฮังการี
ฯพณฯ นาย  Arpad Goncz  อดีตประธานาธิบดีและภริยา แวะผ่านประเทศไทย 2 ครั้ง (12-14 ก.พ. และ  25 –27 ก.พ. 2542)
อดีตประธานาธิบดีและภริยาเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อ 13 ก.พ. 2542
นายกรัฐมนตรีฮังการีคนปัจจุบันแวะเยือนประเทศไทยอย่างไม่เป็นทางการเมื่อปลายปี 2546

การเยือนโดยฝ่ายไทย
พล.อ.อ. สิทธิ  เศวศิลา ในขณะดำรงตำแหน่งรมว.  เมื่อ 2528
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์  ในขณะดำรงตำแหน่ง นรม.  เมื่อ 2542
สมเด็จพระบรมฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เมื่อ 2537
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ  เสด็จฯ เมื่อ พ.ค. 2543
ฯพณฯ นายสุรเกียรติ เสถียรไทย  รมว. กต. เมื่อ 2546
นายสรจักร เกษมสุวรรณ  ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ เมื่อ มิ.ย. 2547

กลุ่มสมาชิกมิตรภาพไทย-ฮังการี
ฝ่ายฮังการีได้จัดตั้งกลุ่ม Hungarian – Thai IPU Friendship Group (Inter-Parliamentary Union)  เมื่อ 2537
ไทยได้จัดตั้งกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยเมื่อ 2538
ปัจจุบันมีพล.ร.อ.เกาะหลัก เจริญรุกข์ เป็นประธานกลุ่ม
มีชมรมมิตรภาพฮังการี-ไทยและมหาวิทยาลัย ELETE เคยสอนวิชาภาษาไทย

การเสด็จฯ ประพาสฮังการี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปิยมหาราชฯ เสด็จฯ เยือนเมื่อ 26-30 มิ.ย. ค.ศ.1897
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัววชิรวุธฯ สยามมงกุฎราชกุมาร ทรงตามเสด็จด้วย
เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีพระบรมศานุวงศ์จากไทยเสด็จฯ เยือนยุโรป

การเสด็จฯ  ประพาสยุโรป
เริ่มเสด็จฯ 7 เม.ย 1987 ถึง 16  ธ.ค. 1897 ประเทศที่เสด็จฯ เยือน อิตาลี สวิส ราชอาณาจักรออสเตรีย-ฮังการี รัสเซีย สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก สหราชอาณาจักร      ฮอลแลนด์ เบลเยียม ฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน โปรตุเกส เมืองที่เสด็จฯ เยือน Godollo, Babolna และ  Kisber   ที่กรุงบูดาเปสต์ทรงประทับที่ Grand Hotel Hungaria ริมแม่น้ำดานูป

สถาบันการศึกษา
มหาวิทยาลัยหลายแห่งเปิดสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษแต่ภาษาหลักยังเป็นภาษาฮังกาเรียน เยอรมันเป็นภาษารองค่าเทอม US$ 2,300-2,700 /เทอมค่าทีพัก US$ 350-500/เดือน ค่าอาหารต่างหากระยะเวลาศึกษา 4 ปี แต่หากเรียน 5 ปี เทียบให้เป็นโท ก.พ.ยังไม่รับรองคุณวุฒิ

การทำกิจกรรมของสถานเอกอัครราชทูต
งานวัดเด็กประจำปีจัดโดยสำนักผู้ว่าการกรุงบูดาเปสต์
งานเทศกาลว่าวที่เมืองปาโกซ
งานแสดงผ้าไทย อาหารและนวดแผนโบราณ

ข้อสังเกต ความรู้ และความประทับใจที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน
 การเยี่ยมชมงานในครั้งนี้ทำให้คณะดูงานเข้าใจมากขึ้นถึงบทบาทของสถานทูตซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลและ จุดศูนย์กลางของคนไทยในสาธารณรัฐฮังการี  มีหน้าที่ให้บริการข้อมูลข่าวสารและเหตุการณ์ที่น่าสนใจ การให้บริการเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การดูแลและพิทักษ์สิทธิ์ของคนไทยในระหว่างอาศัยอยู่ในประเทศฮังการี
 การฟังบรรยายสรุปทำให้คณะดูงานได้รับทราบข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับประเทศฮังการี รู้จัก และเข้าใจประเทศฮังการีในภาพรวมมากขึ้น รวมทั้งรับทราบถึงเกร็ดความรู้ต่างๆ ที่น่าสนใจตัวอย่างเช่น ประเทศฮังการีถือเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทางทะเล แต่กลับเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าจากทางเรือได้ด้วยการวางยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม
 คณะดูงานมีความประทับใจเป็นอย่างมากในการที่ท่านเอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐฮังการี และ ภริยา ได้กรุณาเสียสละเวลาอันมีค่ามารับรองคณะเดินทางโดยจัดการต้อนรับด้วยตนเอง ณ ทำเนียบเอกอัครราชทูต  และยังได้จัดเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับประเทศฮังการีมานำเสนอให้คณะดูงานได้รับฟัง ซึ่งข้อมูลที่นำเสนอมีความทันสมัย ทำให้ได้ทราบข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ท่านเอกอัครราชทูตยังให้ความรู้ เกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เศรษฐศาสตร์  ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แนวทางการศึกษาต่อในฮังการี การประกอบอาชีพ โดยตอบข้อซักถามทั้งหมดด้วยตัวท่านเอง แสดงให้เห็นว่าท่านเป็นผู้มีความรู้รอบตัวซึ่งเป็นคุณสมบัติที่น่าชื่นชมอย่างมาก

ปัญหาในการศึกษาดูงาน
 การประสานงานและการเดินทางมีอุปสรรคอยู่บ้างในเรื่องของการนัดหมายเวลา และสถาน ที่ ทำให้การเดินทางมีความล่าช้ากว่ากำหนดการที่วางไว้

ข้อเสนอแนะ
 เนื่องจากแผนการเดินทางที่วางไว้มีสถานที่ที่ต้องศึกษาดูงานเป็นจำนวนมาก ทำให้เวลาที่ใช้ในการศึกษาดูงานมีค่อนข้างน้อยและจำกัดมาก ดังนั้นควรมีการจัดโปรแกรม และเวลาให้มีความเหมาะสมมากขึ้นในการศึกษาดูงานครั้งถัดไป
 การจัดการรับรองโดยเน้นการให้ข้อมูลและความรู้ทางวิชาการเป็นหลักแก่ผู้ที่ไปศึกษาดูงานในต่างประเทศอย่างเช่นกรณีที่ทางคณะดูงานได้รับในครั้งนี้ ควรถือเป็นแนวทางที่ดี (best practice) สำหรับการพัฒนามาตรฐานในการให้บริการด้านข้อมูลของสถานทูตไทยประจำประเทศอื่นๆ ให้มีมาตรฐานเดียวกัน
 เนื่องจากองค์ความรู้ของประเทศไทยเกี่ยวกับเรื่องราวของประเทศฮังการีและกลุ่มประเทศในยุโรปตะวันออกนั้นอาจยังมีอยู่ไม่มาก (เท่าที่ทราบ) ดังนั้น จึงควรมีการส่งเสริมให้เกิดการศึกษาวิจัยให้มากยิ่งขึ้นทั้งเชิงเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และช่องทางที่ได้รับประโยชน์จากความสัมพันธ์ระดับการทูตของทั้งสองประเทศ เพื่อเป็นกรณีศึกษาในจุดเด่นต่างๆ ของกลุ่มประเทศเหล่านี้และเพื่อใช้ประกอบการจัดทำนโยบายทางการทูตและนโยบายทางด้านเศรษฐกิจที่เหมาะสมในอนาคตโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานทางวิชาการ
 ควรมีการวิจัยเกี่ยวกับการส่งออกสินค้าเกษตรของประเทศไทยในเรื่องความเป็นไปได้เกี่ยวกับการจัดจำหน่ายสินค้าเหล่านี้ไปยังตลาดใหม่ๆ เช่น กลุ่มประเทศแถบยุโรปตะวันออก เป็นต้น เนื่องจากยังมีความต้องการสินค้าเกษตรจากประเทศไทยอีกหลายชนิดในกลุ่มประเทศเหล่านี้ที่ยังขาดช่องทางการจัดจำหน่ายหรือการส่งเสริมอย่างจริงจัง
 
ข้อมูลอ้างอิง
 เอกสารสรุปข้อมูลทั่วไปเพื่อประกอบการบรรยายเกี่ยวกับประเทศฮังการี     จัดทำโดย นายธวัชชัย ปิยรัตน์ เอกอัครราชทูตไทย ประจำประเทศฮังการี

 

หมายเลขบันทึก: 159907เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2008 01:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท