21 : ที่ตั้งของจักรวาลในแกแล็กซี่ มนุษย์ชมพู



ที่ตั้งของจักรวาลในแกแล็กซี่
มนุษย์ชมพู

มองแกแล็กซี่ทางช้างเผือกเป็นเหมือนจานสองใบที่คว่ำกันไว้ คือมองด้านข้างแกแล็กซี่  แต่หากมองด้านบนแกแล็กซี่จะเห็นเป็นวงกลม คล้ายแผ่นดิสก์ แผ่นซีดีนะครับ

ให้พวกเรามองลงมาในมุมเบื้องบนแกแล็กซี่ ประดุจดังเราอยู่ในภพมหาพรหมา เล็งลงมาดูในทิศตั้งฉากกับจานอันนั้น  แล้วดูขอบเขตของอุณหภูมิก่อน  เราก็จะเห็นว่า

ในที่ใจกลางแกแล็กซี่ออกมาเรื่อยๆจะเป็นเขตร้อน   ตอนใจกลางเป็นเขตอบอุ่น
และในขอบนอกเป็นเขตหนาวเย็นของแกแล็กซี่นะครับ   ก็คือ แบ่งแกแล็กซี่
เป็นแทร็กๆได้สามแทร็ก


               1. แทร็กร้อน  หมายถึง เกินขีดที่มนุษย์จะดำรงชีวิตอยู่ได้  เพราะร้อนจัด
               2. แทร็กอบอุ่น หมายถึง เขตที่จะมีมนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้
               3. แทร็กหนาวเย็น หมายถึง เขตที่มนุษย์ไม่สามารถดำรงอยุ่ได้เพราะหนาวจัด


     ความร้อนจากดาวไฟ หรือที่เราเรียกว่าดวงอาทิตย์นั้น ที่ใจกลางแกแล็กซี่จะมีดาวไฟมากมายหนาแน่น  อุณหภูมิพวกนี้แพร่กระจายไปในอากาศ   ดาวเคราะห์ในแถบนั้นแทบหาไม่ได้ หากว่ามีอยู่ ก็จะไม่สามารถมีบรรยากาศเหมือนโลกชมพูทวีป  เพราะว่า จะถูกความร้อนจากกระแสไฟซึ่งก่อให้เกิดลมแรงยักษ์ พัดเอาบรรยากาศนั้นให้ไม่อาจคงสภาพไว้ได้   อีกอย่างหนึ่ง ที่ใดมีดาวไฟ ที่นั้นจะมีรังสีต่างๆมากมาย
  
      ณ แทร็กร้อนของแกแล็กซี่นั้น เพราะเหตุที่ไม่มีจิตหมู่สัตว์เข้ารักษาสภาพ  ในแถบร้อนนี้จะมีหลุมดำมากมาย  และที่ใจกลางแกแล็กซี่แต่ละแกแล็กซี่จะเป็นหลุมดำขนาดมหึมา  ส่วนรอบๆใกล้ๆหลุมใหญ่ก็จะมีหลุมขนาดกลาง  ห่างออกมาก็จะเป็นหลุมดำขนาดเล็กกระจายตัวอยู่   หลุมดำพวกนี้จะมีลักษณะในการดึงสสารเข้าสู่ตนเอง

     ณ แทร็กอบอุ่น  จะเป็นเขตแดนที่ดาวเคราะห์สามารถจะสร้างบรรยากาศขึ้นห่อหุ้มตนเองเพื่อ
รักษาความสม่ำเสมอแห่งอุณหภูมิไม่ให้เกิดความต่างทางอุณหภูมิมากเกินไปได้ เรียกว่าเป็นแถบมีชีวิต
 และในแถบนี้เองที่จะมีพลังงานพิเศษชนิดหนึ่ง
ปรากฏอยู่อย่างหนาแน่น
 พลังงานพิเศษพวกนี้เรียกว่า กลุ่มจิตวิญญาณ และกลุ่มจิตวิญญาณนี้เองที่บ่งบอกถึงสภาพของความมีชีวิตของจักรวาล
และแกแล็กซี่


     ณ แทร็กอบอุ่น  จะเกิดแรงดูดจากใจกลาง และแรงขับจากแรงเฉื่อยของการระเบิดจากใจกลาง ทำให้เกิดสภาวะขัดกันของสสาร  เรียกสภาพนี้ว่าสภาพทุกข์ของสสาร(หากบัญญัติคำว่าทุกข์ว่าคือสภาพขัดแย้ง บีบคั้น)   สสารในแถบอบอุ่นจะมีสภาพนี้ปรากฏประจำตน  คือ มันหยุ่นๆ  ทำให้เกิดมีอาโปธาตุคือความหยุ่นครอบคลุมอยู่ทั่วไป  และอาโปธาตุนี้เองที่เป็นสัญญาณของชีวิต  แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันเขาก็ยังสันนิษฐานว่า ดาวใดพบน้ำ ดาวนั้นมีหวังที่จะพบสิ่งมีชีวิต

     ณ แทร็กหนาวเย็น  แทร็กนี้อยู่ห่างจากอุณหภูมิสูง ห่างแรงดูด แรงดูดสู่ใจกลางมีผลน้อย ดาวส่วนใหญ่ตกสู่สภาพถูกผลักออกจากส่วนกลาง ทำให้ไม่มีอาโปธาตุ  และดาวไฟในแถบนี้จะมีอยู่อย่างเบาบาง และอยู่กันห่างๆ  หากว่าดาวเคราะห์ในแถบหนาวเย็นจะสร้างชั้นบรรยากาศรักษาชีวิตมันไว้  บรรยากาศนั้นก็จะไม่สามารถทรงสภาพ เพราะไม่มีอาโปธาตุเลี้ยงไว้   ที่แทร็กหนาวเย็นี้ จะมีปฐวีธาตุเด่น เตโชธาตุน้อย วาโยธาตุน้อย ซึ่งไม่เพียงพอต่อการปรากฏของอาโปธาตุที่เพียงพอ  ดังที่พระศาสดากล่าวไว้ว่า มหาภูต๔ เป็นปัจจัยแก่กันโดยอัญญมัญญปัจจัย   เป็นปัจจัยแก่กันโดยสหชาตปัจจัย ดังนี้

        ทีนี้เราก็พอจะรู้แล้วว่า แถบอบอุ่นของแกแล็กซี่เท่านั้นที่มีสภาพเหมาะสมแก่การดำรงชีวิตของพวก
มนุษย์ชมพู
 และที่แถบอบอุ่นนี้จะมีกลุ่มจิตวิญญาณซึ่งก็คือพลังงานพิเศษ
อันหนึ่งในธรรมชาติปรากฏอยู่อย่างหนาแน่น
  พลังงานพิเศษเหล่านี้ โดยเนื้อแท้เป็นธาตุบริสุทธิ์ แต่ในสภาพที่ปรากฏโดยมากปรากฏในสภาพ
วิญญาณ  คือ เป็นเหมือนสินแร่ของจิต   วิญญาณนี้จะมีสัญญา สังขาร และเวทนาเป็นอาหารหล่อเลี้ยงกัน
 สินแร่จิตพวกนี้จะดำรงอยู่ได้ด้วยอาศัย เป็นสหชาตปัจจัยด้วย อัญญมัญญปัจจัยด้วย คือ เกิดร่วมกัน เกิดพร้อมกัน อาศัยกันและกันเกิด


        มามองที่แถบอบอุ่นของแกแล็กซี่ทางช้างเผือกเราว่า  หากสำรวจไปทั่วแถบอบอุ่นของแกแล็กซี่ทางช้างเผือก  โอกาสที่จะพบโลกมนุษย์ชมพูเหมือนเรานี้ จะมีมากน้อยเท่าใด?  อันนี้ก็ต้องได้ใช้หลักความน่าจะเป็นเข้าช่วย  แต่ก็ต้องได้รู้เส้นผ่านศูนย์กลางของแกแล็กซี่ทางช้างเผือกด้วย  จากนั้นก็มาคำนวณหาปริมาณดาวทั้งดาวไฟ ดาวดิน ดาวน้ำ และเมฆดาวว่า จะมีมากน้อยเท่าใด   แล้วก็สำรวจให้พบดาวชมพูในที่อื่นให้ได้สักดวงหนึ่ง  แล้วก็เทียบเคียงว่า ห่างจากโลกมังคละชมพูทวีปนี้ไปไกลเท่าใด จึงพบโลกชมพูอีก  แล้วก็เทียบเป็นสัดส่วน บางที พวกเราจะเห็นว่า

         ในแกแล็กซี่ทางช้างเผือกนี้ ยังมีดวงดาวที่มีลักษณะเหมือนโลกกลมๆที่เราอาศัยอยู่ อย่างน้อยที่สุดแสนโกฏิแห่ง  ก็คือว่า แกแล็กซี่ของเราเป็นแกแล็กซี่ขนาดใหญ่ตามความหมายของพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าที่กล่าวไว้นั่นเองว่า เป็นโลกธาตุขนาดแสนโกฏิจักรวาล


          มาเพ่งมองในแทร็กอบอุ่น แล้วขีดเส้นแบ่งแทร็กนั้นออกเป็นเซ็กเตอร์ๆ  โดยให้ชมพูทวีปแต่ละอันเป็นจุดศูนย์กลางของเซกเตอร์    เราก็จะได้ว่า นั่นล่ะคือขอบเขตจักรวาล

           ดังที่ได้ยกพระสูตรเรื่องขนาดโลกธาตุมาวางไว้นั้นแล้ว พระพุทธเจ้ากล่าวไว้ว่า โลกธาตุมีสามขนาด  ขนาดเล็กมีอย่างต่ำพันจักรวาล  ขนาดกลางมีจักรวาลอย่างต่ำล้านจักรวาล  และขนาดใหญ่มีขนาดแสนโกฏจักรวาลขึ้นไป

           ที่เรียกว่าพุทธเขตๆ ดังนี้คือขอบเขตที่จะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นได้  ท่านว่าอยู่ในอาณาเขตหมื่นโลกธาตุแสนโกฏิจักรวาล  ก็คือ เอาแกแล็กซี่ขนาดแสนโกฏิจักรวาลมาวางเรียงๆกันในแนวกว้าง100 ยาว100โลกธาตุ

            นั่นก็หมายความว่า ในหนึ่งพุทธเขต จะมีมังคละจักรวาลเพียงแห่งเดียว  และที่มังคละจักรวาลนั้นเอง  จะเป็นจักรวาลแห่งความรู้   เมื่อเทวดาจากจักรวาลต่างๆได้ยินข่าวพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  สัตว์ผุ้แสวงหาความรู้บางตน ก็ย้ายจักรวาลเข้ามาขอเรียน  มาเวียนตายเวียนเกิด  มาปรารถนาพุทธภูมิ   รวมกันอยู่ที่นี่   พระโพธิสัตว์จะมีก็อยู่ในแต่มังคละจักรวาลนี้เท่านั้น  ในพุทธเขตๆหนึ่งๆ


วันนี้ค่ำแล้ว ต้องได้กลับเรือนก่อน  แล้ววันหลังจะมาเล่านิยายให้ฟังใหม่นะครับ

หมายเลขบันทึก: 159865เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2008 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท