10 : ปฏิกริยาลูกโซ่ระหว่างภพ ทางจิต



ปฏิกริยาลูกโซ่ระหว่างภพ
ทางจิต

สุตตะ

                                        ธรรมิกสูตร

          [๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด พระราชาเป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
สมัยนั้น แม้พวกข้าราชการ ก็เป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อพวกข้าราชการไม่ตั้ง
อยู่ในธรรม สมัยนั้น แม้พราหมณ์และคฤหบดีก็เป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อ
พราหมณ์และคฤหบดีไม่ตั้งอยู่ในธรรม สมัยนั้น แม้ชาวนิคมและชาวชนบท ก็
เป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อชาวนิคมและชาวชนบทไม่ตั้งอยู่ในธรรม พระจันทร์
และพระอาทิตย์ย่อมหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ เมื่อพระจันทร์และพระอาทิตย์หมุน
เวียนไม่สม่ำเสมอ หมู่ดาวนักษัตรก็ย่อมหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ เมื่อคืนและวัน
หมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็หมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ เมื่อ
เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ ฤดูและปีก็ย่อมหมุนเวียนไม่สม่ำ
เสมอเมื่อฤดูและปีหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ ลมย่อมพัดไม่สม่ำเสมอ เมื่อลมพัดไม่
สม่ำเสมอ ลมก็เดินผิดทางไม่สม่ำเสมอ ย่อมพัดเวียนไป เมื่อลมเดินผิดทางไม่สม่ำ
เสมอพัดเวียนไป เทวดาย่อมกำเริบ เมื่อเทวดากำเริบฝนย่อมไม่ตกต้องตามฤดูกาล
เมื่อฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าทั้งหลายก็สุกไม่เสมอกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
มนุษย์ผู้บริโภคข้าวที่สุกไม่เสมอกัน ย่อมเป็นผู้มีอายุน้อย มีผิวพรรณเศร้าหมอง
มีกำลังน้อย มีอาพาธมาก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด พระราชาเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม
สมัยนั้น แม้ข้าราชการก็ย่อมเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อข้าราชการตั้งอยู่ในธรรม
สมัยนั้น แม้พราหมณ์และคฤหบดีก็เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อพราหมณ์และ
คฤหบดีตั้งอยู่ในธรรม สมัยนั้น แม้ชาวนิคมและชาวชนบท ก็ย่อมเป็นผู้ตั้งอยู่
ในธรรม เมื่อชาวนิคมและชาวชนบทเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม พระจันทร์และพระ
อาทิตย์ก็ย่อมหมุนเวียนสม่ำเสมอ เมื่อพระจันทร์และพระอาทิตย์หมุนเวียนสม่ำ
เสมอกัน หมู่ดาวนักษัตรก็ย่อมหมุนเวียนสม่ำเสมอ เมื่อหมู่ดาวนักษัตรหมุนเวียน
สม่ำเสมอ คืนและวันก็ย่อมหมุนเวียนสม่ำเสมอ เมื่อคืนและวันย่อมหมุนเวียน
สม่ำเสมอ เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็ย่อมหมุนเวียนสม่ำเสมอกัน เมื่อ
เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนหมุนเวียนสม่ำเสมอ ฤดูและปีก็ย่อมหมุนเวียนไปสม่ำ
เสมอ เมื่อฤดูและปีหมุนเวียนไปสม่ำเสมอกัน ลมย่อมพัดสม่ำเสมอ เมื่อลม
พัดสม่ำเสมอ ลมย่อมพัดไปถูกทาง เมื่อลมพัดไปถูกทาง เทวดาย่อม
ไม่กำเริบ เมื่อเทวดาไม่กำเริบ ฝนย่อมตกต้องตามฤดูกาล เมื่อฝน
ตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าก็สุกเสมอกัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ผู้บริโภคข้าว
กล้าที่สุกเสมอกัน ย่อมมีอายุยืน มีผิวพรรณดี มีกำลัง และมีอาพาธน้อย ฯ
                    เมื่อฝูงโคข้ามไปอยู่ ถ้าโคผู้นำฝูงไปคด โคเหล่านั้นย่อม
                    ไปคดทั้งหมด ในเมื่อโคผู้นำไปคด ในมนุษย์ก็เหมือนกัน
                    ผู้ใดได้รับสมมติให้เป็นผู้นำ ถ้าผู้นั้นประพฤติอธรรม
                    ประชาชนนอกนี้ก็จะประพฤติอธรรมเหมือนกัน แว่นแคว้น
                    ทั้งหมดจะได้ประสบความทุกข์ ถ้าพระราชาเป็นผู้ไม่ตั้งอยู่
                    ในธรรม เมื่อฝูงโคข้ามไปอยู่ ถ้าโคผู้นำฝูงไปตรง โคเหล่า
                    นั้นย่อมไปตรงทั้งหมด ในเมื่อโคผู้นำไปตรง ในหมู่มนุษย์
                    ก็เหมือนกัน ผู้ใดได้รับสมมติให้เป็นผู้นำ ถ้าผู้นั้นประพฤติ
                    ธรรม ประชาชนนอกนี้ย่อมประพฤติธรรมเหมือนกัน แว่น
                    แคว้นทั้งหมดย่อมได้ประสบความสุข ถ้าพระราชาเป็นผู้
                    ตั้งอยู่ในธรรม ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบปัตตกรรมวรรคที่ ๒


เคยได้ยินในเรื่องการทะเลาะกันของภิกษุชาวโกสัมพี  ที่ว่า พระธรรมธรและพระวินัยธร ทะเลาะกันเรื่องน้ำในห้องน้ำ  แล้วก่อให้เกิดการแตกแยกของสองฝ่ายในฝ่ายมนุษย์  (แม้พวกเทวดาในแต่ละชั้นก็แตกแยกกันขึ้นไป พระอรรถกถาว่า แตกแยกไปถึงพรหม)  โดยฝ่ายหนึ่งเห็นว่าพระวินัยธรเห็นถูกธรรม อีกฝ่ายว่าพระธรรมธรเห็นถูกธรรม    อันนี้เป็นนิมิตอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า ความเป็นไปของพวกมนุษย์ เป็นที่สนใจของพวกเทวดาในบางครั้งบางคราว  และมีบางสมัย ที่เรื่องราวในโลกมนุษย์ถูกโจทย์ขานขึ้นไปโดยลำดับจากเหล่าจาตุมหาราชิกา ขึ้นไปดาวดึงส์ ไปยามา ดุสิต นิมานรตี ปรนิมิตตวสวัสตี ไปยังหมู่พรหมโดยลำดับอย่างนี้   และเรื่องเหล่านั้น บางครั้งบางคราว เป็นเรื่องของความแตกแยก

การแพร่หลายของความไม่เป็นธรรมในโลกมนุษย์ เริ่มต้นจากมนุษย์กลุ่มเล็กๆกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มที่เกาะกุมแนวความคิดของหมู่ชน แล้วแพร่ขยายออกไปในโลกมนุษย์  เมื่อมนุษย์มีธรรมเสื่อมลง  เทวดาก็ไม่อยากจะสนใจธรรมของตนไปด้วย พลอยทำให้เทวดาไม่ตั้งอยู่ในธรรมไปด้วย  เป็นไปโดยลำดับๆอย่างนี้  ซึ่งอาการการส่งต่อของความไม่ตั้งอยู่ในธรรมนี้ ค่อยๆเป็นไปในใจสัตว์แต่ละภพ  แล้วแพร่ไป

จุดเริ่มต้นของความเจริญและความเสื่อมในจักรวาล  ปรากฏมาจากมนุษย์ชมพูทวีปก่อน
เมื่อมนุษย์ชมพูทวีปไม่ตั้งอยู่ในธรรมไประยะหนึ่ง ความไม่ตั้งอยู่ในธรรมจะค่อยๆแพร่ขึ้นไปยังหมู่เทวดาที่อยู่ใกล้มนุษย์  เทวดาเหล่านั้นรับทิฏฐิของมนุษย์ไปด้วยปัจจัยแห่งความเสพคุ้น  แล้วก็ส่งต่อให้เทวดาเบื้องบนตนไปโดยลำดับ   การแพร่เชื้ออธรรมเหล่านี้ มิได้ใช้เวลาเพียงแรมวันแรมคืน แรมเดือนหรือปี  หรือภายในสิบปี ร้อยปี  หากแต่สะสมกันไปในระยะการยืดยาวนาน


ในคราวที่มนุษย์ไม่ตั้งอยู่ในธรรมอยู่ ก็คือความที่มนุษย์ตั้งอยู่ในอำนาจแห่งราคะ โทสะ โมหะ  พระพุทธเจ้าทั้งหลายบัญญัติกิเลส3อย่างนี้ว่าเป็นไฟ  ในสังคีติสูตรกล่าวว่า

ในทุกๆครั้งที่มนุษย์โดยมาก ตกอยู่ในอำนาจกิเลสสามอย่างนี้  ดำรงอยู่ในกิเลส ในคราวนั้นจะปรากฏกลุ่มพลังงานจิตขึ้นไปสะสมกันอยู่ในภพมนุษย์   คล้ายอย่างเรื่องการสะสมความร้อนและสารเคมีในบรรยากาศในสภาวะเรือนกระจกหรือสภาวะโลกร้อน    การตกอยู่ในอำนาจกิเลสของมนุษย์จะมีผลในพฤติกรรมในภายนอกด้วยเกี่ยวแก่การใช้สอยทรัพยากรโลก    การสะสมไฟทั้งภายนอกและภายใน คือไฟที่เป็นนามด้วย เป็นรูปด้วยก็ปรากฏในภพมนุษย์  เพราะอาศัยความไม่ตั้งอยู่ในธรรม


แม้ดูไปที่ภพของเทวดาเหล่าต่างๆ ก็จะเห็นอาการเดียวกัน เทวดาเหล่านั้นเมื่อไม่ตั้งอยู่ในธรรมก็จะเกิดกระแสของอัคคิ3 อย่างนั้นในภพของเขา   เมื่อไฟเหล่านั้นสะสมกันถึงขีดหนึ่ง ก็จะเกิดการเชื่อมโยงกันกับธาตุ4ในภายนอก มีผลให้เกิดไฟผลาญเหล่าสัตว์ในภพนั้น

ไฟที่เผาทำลายภพเทวดา  กับไฟที่ปรากฏเผาผลาญภพมนุษย์นั้น เป็นคนละไฟกัน  ไฟมนุษย์ทำร้ายเทวดาไม่ได้ แต่ไฟของเทวดา ทำร้ายเทวดาได้

ในเมื่อสิ้นกัปป์ พวกมนุษย์จะสิ้นภพก่อน  เมื่อมนุษย์สิ้นแล้ว พวกเทวดาจาตุมหาราชิกาจึงจะได้เห็นไฟในภพของตนอันเกิดจากกิเลสในภพ    แล้วพวกจาตุมหาราชิกาก็จะสูญไปจากภพ  ในระหว่างนั้น ไฟในดาวดึงส์ก็จะเริ่มปรากฏ มันค่อยๆลุกไหม้ไปอย่างนี้  และไฟที่ปรากฏในแต่ละภพก็เป็นไฟภายในภพ  ไม่มีผลต่อต่างภพ


ในบางคราวที่มนุษย์ใช้ชีวิตในโลก หนักไปทางโทสะ ไฟกิเลสนั้นจะเข้าเกาะกับเตโชธาตุในภพ   ... เมื่อมนุษย์หนักในโทสะ โทสะนั้นเป็นเชื้อโรคทางจิตก็จะระบาดขึ้นไปยังพวกเทวดา ลามขึ้นไปตามลำดับไปถึงชั้นต่ำกว่าอาภัสสรา  จิตของอาภัสสราพรหมไม่ตกอยู่ใต้อิทธิพลของกิเลสเหล่านี้ จึงไม่ก่อไฟขึ้น

ในคราวใดพวกมนุษย์ใช้ชีวิตในโลก โดยมากหนักไปทางราคะ  คราวนั้น ราคะก็จะติดเชื้อไปยังภพอื่นๆในจักรวาลด้วย และก็ลามขึ้นไปแม้กระทั่งอาภัสสราก็ติดเชื้อ  แต่ไปติดพรหมชั้นฌาน3แทน  เพราะพรหมฌาน3ชั้นนั้น ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจราคะอย่างหยาบ .. การปรากฏแห่งน้ำกรดจึงไม่มีแก่พรหมเหล่านั้น

ในคราวที่มนุษย์ใช้ชีวิตหนักไปทางโมหะมาก  คราวนั้น โรคโมหะจะกระจายไปยังภพอื่นๆด้วย ลามไปถึงพรหมฌาน3ด้วย แต่พรหมฌาน4ดำรงอยู่ในอุเบกขา ไม่ติดเชื้อโมหะ  ...ภพของพรหมและสัตว์ที่อยู่ต่ำกว่านั้นลงมาก็จะถูกทำลายลงด้วยลมกรด

ระยะกาลที่ไฟกรด น้ำกรด หรือลมกรด ที่ทำลายโลกมนุษย์นั้น กินระยะไม่นานนัก  แต่ที่พระศาสดากล่าวว่า ระยะที่โลกวินาศนั้น กินเวลายืดยาวนานก็ด้วยว่า เมื่อไฟลามกินพวกมนุษย์ แล้ว ไฟในจาตุมมหาราชิกายังไม่ทันปรากฏ พวกมนุษย์ที่ตาย บางส่วนลงนรก บางส่วนขึ้นจาตุมหาราชิกา   ต่อจากนั้นไฟจึงลามกินจาตุมหาราชิกา แต่ไฟนั้นเป็นคนละไฟกับโลกมนุษย์ ระยะเวลาที่ไฟกินจาตุมหาราชิกานั้น ยืดยาวกว่าที่กินโลกมนุษย์  ต่อแต่นั้นสัตว์บางส่วน ขึ้นไปสู่ดาวดึงส์และภพที่สูงๆขึ้นไป  บางส่วนลงนรก  แต่โดยมากแล้วขึ้น


หมายเลขบันทึก: 159688เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2008 23:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท