แหลงใต้วันละคำ (37) : ภาษาใต้วันละคำกับ“ป้าอุไร” แห่งยุคเด็กใต้แหลงใต้ไม่ชับ


 กราบสวัสดีทุกท่านครับ

        นำบทความสัมภาษณ์ของคุณป้าอุไร เมื่อห้าปีก่อนมาให้อ่านกันนะครับ เกี่ยวกับ  ภาษาใต้วันละคำกับ“ป้าอุไร” แห่งยุคเด็กใต้แหลงใต้ไม่ชับ


 

อุไร วรรณกูล เป็นที่รู้จักของผู้ติดตามฟังรายการร้านนำชาหัวค่ำ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย(สวท.)สงขลา FM 90.5 MHz ในฐานะอาสาสมัครนำเสนอช่วง ภาษาใต้วันละคำ อย่างสม่ำเสมอ
ปัจจุบัน ป้าอุไร อายุ 63 ปี พำนักอยู่ในตัวอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ตรงข้ามกับโรงเรียนบ้านกำแพงเพชร โรงเรียนแห่งนี้ที่ป้าเคยเป็นครูมาตลอดชีวิตราชการ ก่อนจะลาออกเมื่อปี 2539
ป้าอุไร เล่าโฟกัสภาคใต้ วันที่เราไปเยือนถึงที่บ้านว่า เป็นคนพื้นเพ ตำบลตะเคีรยะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เรียนจบโรงเรียนสตรีฝึกหัดครู ราวปี พ.ศ. 2503 มาทำงานและแต่งงานอยู่ที่รัตภูมิจนถึงปัจจุบัน มีบุตร 2 คน คนหนึ่งไปทำงานอยู่ไกลถิ่น อีกคนยังใกล้ชิด
ตั้งแต่ออกจากราชการ พบว่าชีวิตส่วนตัวหันมาใช้ภาษาใต้ในชีวิตประจำวันล้วนๆ ตอนนั้นฟังรายการวิทยุ ทาง สวท. ผู้จัดคือยินดี ตรีรัญเพชร ที่จัดแบบภาษาใต้พูดว่าน่าจะมีภาษาใต้วันละคำในวิทยุบ้าง ก็เลยคิดจะเป็นคนทำดู ป้าอุไรเห็นว่า เด็กใต้ยุคใหม่ไม่รู้ภาษาใต้ เพราะผู้ปกครองสนอเด็กพูดภาษากลาง ที่โรงเรียนครูก็พูดภาษากลาง หรือแม้แต่ที่พูดภาษาใต้อยู่ก็เป็นเพียงสำเนียงเท่านั้น แต่ใช้คำภาษากลางนั่นเอง แต่ก็มีบางคนที่พูดสำเนียงกลางใช้คำภาษาใต้มาพูด สรุปแล้วภาษาใต้กำลังถูกกลืนไป และหายไปในที่สุด
ป้าอุไรตั้งข้อสังเกตุสมัยที่ยังรับราชการครูว่า ยุคก่อนเด็กพูดภาษาใต้มาจากบ้าน การจะสอนเด็กพูดกลางค่อนข้างยาก แต่ช่วงหลังง่ายขึ้น เป็นนัยยะบางอย่างที่บ่งบอก นอกจากผู้ปกครองแล้วสิ่งแวดล้อมอย่างสื่อต่างๆ ก็ส่งผลด้วย
ตั้งแต่ ปี 2543 เป็นต้นมาป้าอุไร โทรศัพท์เข้าไปนำเสนอภาษาใต้วันละคำ ในรายการร้านน้ำชาหัวค่ำ เป็นการนำเสนอคำและความหมาย แต่ไม่ได้แปลตรงตัวเพราะทำได้ยาก การที่ไม่ต้องเป็นครูใช้ภาษากลางกับเด็ก การสนทนากับเพื่อนบ้าน หรือกับใครที่ใช้ภาษาดั้งเดิม ทำให้ฉุกคิดว่า ที่จริงภาษาใต้ ที่รู้มาก่อนแต่ลืมไปเสียแล้วเป็นจำนวนมาก พอฟังก็มานึกขึ้นได้ คราวหลังเมื่อเห็นว่าเผยแพร่ทางวิทยุได้ เกิดประโยชน์ ไปไหนมาไหนจึงต้องพกกระดาษ ปากกาสำหรับบันทึก หรือถ้าไปไหนกลับมานึกคำไหนได้ ก็รีบจดไว้ทันที สถานที่ ที่ป้าเดินทางไปบ่อยได้แก่ ตลาดนัดและวัด คำจำนวนไม่น้อยที่มาจากแม่ค้า
ป้าอุไรบอกว่า ถ้าเด็กยุคใหม่ ยังเป็นอยู่อย่างทุกวันนี้ ภาษาใต้จะหายไปอย่างแน่นอน อีกอย่างศิลปวัฒนธรรมภาคใต้อย่างหนังตะลุง และมโนราห์ ที่ใช้ภาษาใต้มาแสดง ก็จะหายไปด้วย เพราะเด็กจะฟังภาษาไม่รู้เรื่อง เมื่อเด็กฟังไม่รู้เรื่อง ก็ไม่ชอบ
หนังตะลุง ที่เขาเล่นตลก เด็กไม่ขำเพราะเขาฟังภาษาใต้ แบบจริงๆ ไม่รู้เรื่อง เพราะฉะนั้นถ้าจะอนุรักษ์ หนังตะลุง มโนราห์ ต้องเริ่มที่ภาษาใต้ก่อน อันดับแรก
ทางออกสำหรับเรื่องนี้ ป้าอุไรบอกว่า คนใต้น่าจะสอนให้ลูกพูดภาษาใต้ หรือใช้ภาษาใต้กับลูก ที่โรงเรียนสอนภาษากลางไม่เป็นไร สำหรับสื่อ เดี๋ยวนี้ก็มีที่ใช้ภาษาใต้แล้ว อย่างวิทยุ บางสถานี บางรายการ ก็ถือว่าเป็นการดี
อนาคต ป้าอุไร ยังคิดจะวางแผนที่จะรวบรวมคำใต้ ต่อไปแม้ว่าบางคำ ยังต้องค้นความหมายที่แท้จริง อย่างสำนวนว่า กาฉีกสอบ บางคำเพิ่งได้ยิน เช่น เลอเตอะ ซึ่งหมายถึงการกระตือรือร้น ฯลฯ ทางกลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรม อำเภอรัตภูมิ เสนอแนะให้มีการรวบรวมจัดพิมพ์ คำใต้ดังกล่าวของป้าอุไรขึ้นมาเป็นเล่ม แต่ก็อยู่ระหว่างการคิด ที่ต้องทำต่อไป
----------------------

พจนานุกรมภาษาใต้ ฉบับป้าอุไร
ข้อนท้อน - หมายถึงการกวาด รวบรวม และเล็ม ผสมเล็กผสมน้อยจากทุกแห่ง
ยกตัวอย่างนายก. ลูกเรียนอยู่ที่กรุงเทพฯ
เขียนจดหมายมาของเงิน 3,000 บาท นายก. ไม่มีเงิน
ก็พยายามหาเงินจากทุกทาง ไม่ว่าหยิบยืมคนนั้นคนนี้
วิธีไหนได้เงินก็ทำมาเพื่อให้ได้เงินครบ 3,000 บาทให้ได้เรียกว่า ข้อนท้อน

อ็อดสา - อุตสาหะ ,พยายาม
เหิง - แง้ม ยกตัวอย่าง การปิดฝาหม้อ ไม่สนิท ตรงข้ามกับคำว่า
แหม็ดที่แปลว่าสนิทหรือมิด คำว่าเหิงตั
วอย่างคนโบราณสอนไว้ว่าให้เปิดฝาหม้อ ให้เหิง ทำให้อาหารบูดช้า เพราะ
ความร้อนในหม้อระเหยออกมาข้างนอกได้
หย่า - หมายความว่าห่างไกล เช่น บ้านนายก. กับนายข. อยู่หย่ากันแสดงว่าห่างกันหรือไม่ใกล้กัน
เริก - เผยอ หรือ แง้ม เช่น เริกฝาหม้อคือแง้มฝาหม้อ
ลูกขี้ - หมายถึงก้นภาชนะ อย่างเช่น ลูกขี้หม้อคือก้นหม้อ หรือใช้ลูกขี้ตุ่ม ลูกขี้ขัน
เฮก - หมายถึงเอียง เช่น ฝนตกหนักทำให้ดินซุย เสาจึงเฮก ก็คือเสาเอียง
เฮือด - หมายถึงเงื้อ เช่น เฮือดมือจะตีเด็ก ก็ทำท่าอยู่แต่ยังไม่ได้ตี
ยอน - หมายถึง ยุแหย่ ยุยงส่งเสริม เช่น เพื่อนเป็นคนยอน ให้ ด.ช. ไก่ กินยาบ้า
โก้ - หมายถึง กู่ตะโกน หรือพูดเสียงดัง อย่างคนที่อยู่คนละฝั่งถนนตะโกนพูดกัน บางที จะใช้กับคนที่มีนิสัยเสียงดังโดยจะถูกปรามว่า อย่าโก้ขึ้นแรงถิ
เหื่อย - เฉื่อยชา เชื่องช้า เซื่องซึม
โย๊ะลง - พายุลง คำว่าโย๊ะหมายถึงลมที่พัดแรง
ปัดปัด - หมายถึงซุกซน เช่นเด็กคนนี้ปัดปัดจังหู ก็หมายความว่า เป็นเด็กที่ซุกซนมาก 


เพื่อการนำมาสู่การเผยแพร่อีกครั้ง ในบทความที่ทรงคุณค่าครับ จากที่มา...ของป้าอุไร

 กราบขอบพระคุณมากครับ

เม้ง 

หมายเลขบันทึก: 159423เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2008 21:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดีครับป้าอุไร

  • ผมได้ฟังจากคุณยายว่า เมื่อก่อนหากคุยภาษากลางไม่ชับ(คล่อง) ทางราชการจะไม่รับเข้าทำงาน ไม่แน่ใจว่าเพราะอะไร ภาษาใต้คงน่าขยะแขยงมากๆ เลยนะครับ หากผมเกิดในสมัยนั้น ผมคงไม่มีวันได้ทำงานราชการเป็นแน่ครับ
  • จนมาทุกวันนี้ ลิ้นเป็นแบบนี้ เพราะโคนลิ้นเป็นโคนลิ้นของภาษาใต้ไปแล้วอย่างตลอดชีวิต จะฝืนให้บังคับไปพูดแบบไหนได้พรือ(อย่างไร)
  • พูดกลางไม่ชับ อาจจะเป็นที่หนุกหนานในวงกินข้าวได้ง่ายๆ เด็กใต้บางคนรับไม่ได้ อายไม่กล้าแหลงกลางอีกเลย บางคนพาลโกรธเพื่อนฝูงไปพันนั้น(งั้น)
  • ความงามที่แตกต่างของถิ่นดินแดนไทย นี่ก็มีภาษานี่ล่ะครับ อย่างหนึ่งที่น่านำมาอนุรักษ์ไว้ ไม่ได้เสียหาย เพราะแก่นหลักคืออะไร ทุกคนย่อมรู้ดีั
  • พักหลังมีการ พูดไทยผสมอังกฤษ  ไทยคำอังกฤษคำ
  • และรู้สึกว่าตอนนี้ จะมีการเขียนผสมกัน อีกครับ คือเขียนไทยผสมอังกฤษบนคำไทย เช่น

    oย่ากลับไปxาLขาอีกLลe ถ้าLขาไม่ต้oJกาs


  • อะไรประมาณนี้ครับ คงหรอยกันจังหูกันหันกันต่อไปหล่ะครับป้า
  • กราบขอบพระคุณป้ามากๆ นะครับ
  • สวัสดีครับ น้องเม้ง
  • วันนี้ ผมเพิ่งคุยกับนักศึกษา เรื่องแหลงทองแดง
  • นักศึกษาเล่าว่า ตอนเขาเด็ก ๆ บางโรงเรียน ห้ามเด็กแหลงใต้ชับเปรียะในโรงเรียน
  • ฟังแล้วก็ร้อง เฮ้อ เลย
  • แต่ทีไทยคำ อังกฤษคำ ไม่ว่า...
  • ต่อไป ภาษาอังกฤษก็รุกเข้ามาเรื่อย ๆ จนภาษาใต้พลัดหมด
  • เราอย่ายอม
  • ผมคนนึงละ เสนอให้เอาคืน ด้วยการยอนให้แหลงอังกฤษสำเนียงสงขลา ซะให้เข็ด
  • ว่าง ๆ น้องเม้งลองหาโอกาสปรับใช้กับสำเนียงเมืองคอนดูบ้า้ง...

 

สวัสดีครับ อ.วิบุล

  • สบายดีนะครับผม
  • เมื่อก่อนเคยมีความขัดแย้งในครอบครัวหนึ่งครับ
  • คุณตาในครอบครัวห้ามลูกพูดใต้ เพราะจะไม่มีโอกาสได้ทำงานราชการหากพูดทองแดง
  • ในขณะเดียวกันคือ หากลูกๆ ของคุณตาต้องไปซื้อของที่ตลาด หากพูดกลาง แม่ค้าก็ไม่ขายของให้
  • ผู้เป็นลูกเลยต้องปรับตัว ที่บ้านพูดภาษากลางแล้วต้องหัดฝึกพูดใต้เพื่อจับจ่ายในตลาดครับ
  • สำหรับการคุยอังกฤษผสมสำเนียงใต้นั้น ผมคงไม่ต้องทำหรือฝึกเลยครับ เพราะคิดว่าน่าจะเป็นอยู่แล้วครับ อิๆๆๆ
  • ผมต้องศึกษา แหลงอังกฤษสำเนียงสงขลา ของอาจารย์ก่อนครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ

สวัสดีค่ะ

* ขอบคุณที่ให้ข้อคิด

* คุณป้าอุไรเป็นครูภาคใต้...มองเห็นความสำคัญของภาษาถิ่นที่กำลังจะหายไป

* ครูพรรณา เป็นครูภาคกลาง...มองเห็นความสำคัญของภาษาประจำชาติที่กำลังจะหายไป...เป็นคำฝรั่งหรืออื่น ๆ

* สังเกตจากเรื่องเล่าที่นักเรียนเขียนกัน...ตัวละครไม่มีชื่อไทยเลย...จนถึงต้องบังคับกันเชียว

สวัสดีครัีบพี่ นาง พรรณา ผิวเผือก

    ขอบคุณมากๆ นะครัีบ เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงนะครัีบ เพราะมีละคร การ์ตูน จากภายนอกเข้ามามีบทบาทมากๆ เลยครัีบโดยเฉพาะกับเด็กๆ นะครัีบ คือทุกอย่างมีให้เรียนรู้ได้ครัีบ อยู่กับว่าบริบทที่เค้าเรียนรู้นั้น ชีวิตเค้าเกี่ยวโยงกับอะไรบ้างครัีบ

    เป็นกำลังใจในการสร้างแรงจูงใจให้กับเด็กๆนะครัีบ

สวัสดีค้า

พี่ค้าคำว่าปลาช่อนภาษาใต้แปลว่าอะไรค่ะ

แล้วคำว่ารักแปลว่าอะไรค่ะ

ขอบคุณมากๆค่ะ

จาก น้องสาวสุดสวย

สวัสดีครัีบน้องสวย

ปลาช่อน คนใต้ก็เีรียก  ปลาฉ๋อน

รัก คนใต้แหลงว่า  หรั๋ก

ส่วนคำแปล ก็แปลเหมือนกับภาษากลางครัีบ

ขอบคุณมากครับ

ชอบคำที่พี่แปลให้มากเลยค่ะเพราะเข้าใจง่ายดีหนูก็เลยขอลอกไปส่งอาจารย์ขอบคุณนะคะ

O.K.เรย แหลงได้แย้ว ง่ายดี ขอบคุณค่ะ

ดนตรี หนุกดี น่ คัพ

อย่า แหลง พันนั้น ต๊ะ แปลว่าไรหรือค่ะ

แปลว่า อย่า(อย่า) พูด(เเหลง)เเบบ(พัน) นั้น(นั้น) คะ

จากเด็กใต้พันเเท้

วันนี้พอดีผมเจอ1คำ แต่ไม่รู้แปลว่าอาราย ช่วยบอกหน่อยครับ คำว่า ซับปิด แปลว่าอาราย

หนูุอย่ากให้มีภาษาใต้อยู่กับคนไทยนานๆ หนูรักภาษาใต้ค่ะและจะรักเสอมจ๋า

น้าด้านได้ อายอด หย่าจกอีม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท