โครงการพัฒนาวิทยากรสตรีในสหกรณ์ระดับชาติ (ICA AP-CLT National TOT for Leadership Development of Women in Cooperatives)


องค์การสัมพันธภาพสหกรณ์ระหว่างประเทศ (ICA)

โครงการพัฒนาวิทยากรสตรีในสหกรณ์ระดับชาติ (ICA AP-CLT National TOT for Leadership Development of Women in Cooperatives)  โดย องค์การสัมพันธภาพสหกรณ์ระหว่างประเทศ (ICA) และสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ระหว่างวันที่ 7 - 10 มกราคม 2551

          ได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมในหลักสูตรนี้ วันแรก ได้มีการแนะนำตัว และทำความรู้จักกับเพื่อนๆ ที่ได้เข้าอบรม จำนวนผู้เข้าอบรม 28 คน จากร้านสหกรณ์การเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน จำกัด ชุมนุมร้านสหกรณ์แห่งประเทศไทย จำกัด สหกรณ์การเกษตรเวียงสา จำกัดสหกรณ์การเกษตรเมืองสุพรรณ  จำกัด สหกรณ์อิสลามสันติชน จำกัด สหกรณ์แท็กซี่สยาม  จำกัด สหกรณ์การเกษตรลำปลายมาศ จำกดั สหกรณ์การเมืองลับแล จำกัด สาขาไผ่ล้อม  ร้านสหกรณ์ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. จำกัด กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ สหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลชลบุรี จำกัด  ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด ครูชำราญการ วิทยาลัยนิคชุมพร ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรเชียงใหม่ จำกัด ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด 

          วิทยากรที่บรรยาย  โดย Advisor Gender Programme  องค์การสัมพันธภาพระหว่างประเทศ ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (ICA AP)  ซึ่งท่านบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ แต่มีล่ามแปลเป็นภาษาไทย

          องค์การสัมพันธภาพสหกรณ์ระหว่างประเทศ ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (International Cooperative Alliance, Asia - Pacific - ICA AP) กรุงนิวเดลลี ประเทศอิเดีย ร่วมกับองค์การแรงงานสากล  (International  Labor Organization - ILO) ได้พัฒนาคู่มือฝึกอบรมสำหรับการพัฒนาวิทยากรสตรีในสหกรณ์ระดับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เพือ่ให้องค์การสหกรณ์นำคู่มือไปประกอบการจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาวิทยากรสตรี ให้สามารถถ่ายทอดความรู้แก่สตรีในสหกรณ์โดยองค์การ ICA AP

          วัตถุประสงค์ของโครงการ : -

           1.  เพื่อเพิ่มความรู้ให้แก่ผู้นำ และสมาชิกของสหกรณ์ทั้งหญิงและชายใน เรื่องบทบาททางเพศ การแสดงออกถึงอคติทางเพศ (ไม่ยอมรับผู้หญิง) และผลกระทบของการกีดกันทางเพศต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ส่วนบุคคล และระหว่างกลุ่มผู้นำหรือสมาชิก รวมทั้งผลกระทบที่มีต่อการพัฒนาองค์กรของสหกรณ์ด้วย

         2.  การเสริมสร้างความสามารถแก่ผู้นำสรีในสหกรณ์ให้เป็นที่ยอมรับและมีศักยภาพ โดยให้ความรู้และทักษะในด้านต่างๆ ดังนี้ :-

          -  ลักษณะของสหกรณ์

          -  การเป็นผู้นำที่ให้ความสำคัญเรื่องความเสมอภาคทางเพศและเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผล

          -  การบริหารจัดการกิจการ / ธุรกิจสหกรณ์

          -  การจัดการความท้าทาย และ

          -  การพัฒนาส่วนบุคคล

สถานการณ์ของสตรีในโลก

*  ในประเทศที่พัฒนาแล้ว  ประชาชนจำนวน 1.3 พันล้าน ใช้เงินในการดำรงชีพต่อวันน้อยกว่า 1 ดอลลาร์ โดยในจำนวนนี้เป็นสตรี จำนวน 70 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 910 คน

*  ในประเทศที่กำลังพัฒนา ผู้ใหญ่กว่า 840 ล้านคน อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ โดย 2 ใน 3 เป็นผู้หญิง คิดเป็นจำนวน 538  คน

*  ทุก 1 นาที ผู้หญิงจำนวน 585,000 คน ต้องเสียชีวิตอันเนื่องมาจากสาเหตุที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ โดยในจำนวนดังกล่าวเป็นผู้หญิงในประเทศกำลังพัฒนา และยังมีผู้หญิงอีกมากมายที่ต้องพิการเพราะการให้กำเนิดบุตร

*  ในปลายปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ.1995)  มีผู้ลี้ภ้ยถึง 16 ล้านคน และ 26 ล้านคน ต้องย้ายที่อยู่โดยในจำนวนดังกล่าวกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นผู้หญิงและเด็กล

*  ผู้หญิงในประเทศกำลังพํมนาได้ค่าจ้างเพียง 3 ใน 4 ของ ค่าจ้างที่ผู้ชายได้รับ

        

          ถึงแม้จำนวนสมาชิกสหกรณ์ที่เป็นสตรีในภูมิภาคเอเชียจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่สตรีที่เป็นตัวแทนอยู่ในระดับผู้นำของสหกรณ์ยังมีจำนวนน้อยอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยที่สำคัญมีดังนี้.-

          1.  มีความเชื่อต่อ ๆ  กับมาเรื่องบทบาททางเพศ ซึ่งโดยทั่วไปผู้หญิงมักถูกมองว่าไม่เหมาะสมสำหรับการเป็นผู้นำ

          2.  ผู้หญิงขาดทรัพยากร (เช่น การศึกษา อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ) เนื่องจากต้องพึ่งพาอาศัยสมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้ชาย

          3.  ผู้หญิงขาดความมั่นใจ  ไม่มีทักษะและประสบการณ์การเป็นผู้นำอันเนื่องมาจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้น

วันที่สอง 

          มีการแบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม  เพื่อระดมสมองในหัวข้อวิชา ที่วิทยากรบรรยายเสร็จและให้ระดมสมอง  การอบรมของวันที่สองทำให้ผู้เข้าอบรมสนุกสนาน ทุกคนต้องออกไปพูด เพราะเป็นกติกาของวิทยากร ต้องการให้ผู้นำสตรีกล้าแสดงออก กล้าคิด กล้าทำ  ถึงแม้วิทยากรจะฟังภาษาไทยไม่ได้  ล่ามแปลก็แปลให้วิทยากรฟัง  บางคนก็นำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็ต้องแปลเป็นภาษาไทยด้วย ซึ่งบรรยายของวันที่สองทุกคนเริ่มสนิทกันมากขึ้น ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

          ในการอบรมได้มีเกมจับฉลากรายชื่อ ให้ทุกคนเขียนชื่อของตนเองและออกไปจับถ้าใครได้ชื่อตัวเองให้จับใหม่  ต้องเก็บไว้เป็นความลับ และต้องหาของขวัญมาคนละ 2 ชิ้น ระหว่างการอบรมต้องค่อยดูแล สังเกตพฤติกรรมต่างๆ  เอาใจใส่คู่ของเราที่จับได้ โดยที่ไม่ให้คู่ของเรารู้ตัว  แล้วเขียนลงในกระดาษ ได้ตลอดเวลา  ระหว่างพักรับประทานเครื่องดื่ม ก็จะนำกระดาษที่เขียนมาอ่าน ให้ฟังกัน และวันสุดท้ายของโครงการมาเฉลยกันว่าใครเป็นคู่เรา และมอบของขวัญให้ซึ่งกันและกัน เกมนี้ทำให้ทุกได้มีโอกาสสังเกต  ช่วยเหลือ การมีน้ำใจ สามัคคี และรักกันมาขึ้น

 

 

วันที่สาม

          วิทยากร โดย สาวิตรี  ซิงห์ บรรยาย เรื่อง การเสริมสร้างศักยภาพของสตรีด้านการบริหารจัดการเพื่อการบูรณาการบทบาททางเพศและการพัฒนาสหกรณ์

          Sex & Gender

          -  Sex  เป็นลักษณะทางชีวภาพ  มีลักษณะเหมือนกันทั่วโลก

          -  เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เช่น ผู้หญิงเท่านั้นที่อุ้มท้องได้ ผู้ชายเท่านั้นที่จะทำให้ผู้หญิงตั้งท้องได้

          Gender

          -  เป็นลักษณะทางสังคม

          - เรียนรู้ได้  มีความแต่กต่างหลากหลาย

          -  สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น  ผู้หญิงเป็นนายกรัฐมนตรีได้  ผู้ชายสามารถเป็นพ่อครัวฝีมือดีได้

          คุณค่าและหลักการสหกรณ์

          คุณค่า : คุณค่าของสหกรณ์คือการช่วยเหลือตนเอง ความรับผิดชอบต่อตนเอง ความเป็นประชาธิปไตย  ความเสมอภาค ความเท่าเทียม และภารดรภาพ  ผู้ก่อตั้งสหกรณ์ต้องมทำให้สมาชิกศรัทธาในคุณค่าทางจริยธรรมอันได้แก่  ความซื่อสัตย์  ความรับผิดชอบต่อสังคม และการใจต่อผู้อื่น

          หลักการสหกรณ์

          1.  การเป็นสมาชิกตามความสมัครใจ  (Voluntary and Open Membership)  สหกรณ์เป็นองค์การแห่งความสมัครใจ เปิดรับบุคคลทั่วไปที่สามารถใช้บริการ สหกรณ์ได้และเต็มใจจะรับผิดชอบในฐานะสมาชิก เข้าเป็นสมาชิกโดยปราศจากการกีดกันทางเพศ ฐานะทางสังคม เชื้อชาติ การเมือง หรือศาสนา

          2. การควบคุมโดยสมาชิกตามแนวทางประชาธิปไตย (Democratic Member Control)  สหกรณ์เป็นองค์การประชาธิปไตยที่มีการควบคุมโดยสมาชิกในการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจ บุรุษและสตรีที่ได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่เป็นผู้แทนสมาชิกต้องรับผิดชอบต่อสมาชิก ในสหกรณ์ขั้นปฐมสมาชิกมีสิทธิ์ในการออกเสียงเท่าเทียมกัน (สมาชิกหนึ่งคนหนึ่งเสียง)

          3.  การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิก (Member Economic Participation)  สมาชิกมีส่วนร่วมในการลงทุน ในสหกรณ์ของตนเองอย่างเสมอภาคกัน และมีส่วนในการควบคุมการใช้เงินทุนของสหกรณ์ตามแนวทางประชาธิปไตย สมาชิกสามารถจัดสรรเงินส่วนเกินของสหกรณ์เพื่อวัตถุประสงค์ ดั่งนี้

           - เพื่อการพัฒนาสหกรณ์โดยอาจกันไว้เป็นทุนสำรอง ซึ่งอย่างน้อยจะต้องมีส่วนหนึ่งที่นำมาแบ่งกันไม่ได้

            - ตอบแทนแก่สมาชิกตามสัดส่วนของปริมาณธุรกิจที่สมาชิกได้ทำกับสหกรณ์

            - เพื่อสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ที่มวลสมาชิกเห็นชอบ

          4.  การปกครองตนเองและมีอิสระ  (Autonomy and Independence)  สหกรณ์เป็นองค์การที่พึ่งตนเองและปกครองตนเอง  โดยมีการควบคุมมวลสมาชิกหากสหกรณ์จะต้องมีข้อตกลงผูกพันธ์กับองค์การอื่นใด ซึ่งรวมถึงหน่วยงานของรัฐบาล  ภายใต้เงื่อนไขที่มั่นใจว่ามวลสมาชิกจะยังคงธำรงไว้ซึ่งอำนาจในการควบคุมสหกรณ์ตามแนวทางประชาธิปไตยและสหกรณ์ยังคงดำรงความเป็นอิสระ

           5.  การให้การศึกษา การฝึกอบรม และข่าวสาร  (Education Training and Information)  สหกรณ์พึงให้การศึกษาอบรมแก่สมาชิก ผู้แทนสมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้ง ผู้จัดการสหกรณ์ เพื่อให้สามารถมีส่วนช่วยพัฒนาสหกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิผล

           6.  การร่วมมือระหว่างสหกรณ์  (Cooperation among Cooperatives)  สหกรณ์สามารถให้บริการแก่สมาชิกอย่างมีประสิทธิผลสูงสุด และเสริมสร้างความเข็มแข็งให้แก่ขบวนการสหกรณ์ได้  โดยร่วมมือกันในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ

           7.  การเอื้ออาทรต่อชุมชน  (Concern for Community)  สหกรณ์พึงดำเนินการต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาชุมชนให้มีความเจริญยั่งยืนตามนโยบายที่มวลสมาชิกเห็นชอบ

 

 

วันสุดท้ายของการอบรม     

          วิทยากรบรรยาย :  ประเด็นเรื่องเพศในสหกรณ์    

          1.  การเข้าถึงทรัพยากร และการควบคุมทรัพยากร 

          2.  การมีส่วนร่วมอย่างของสตรี อยู่ในระดับต่ำ สตรีไม่ได้เป็นผู้นำ  ขาดการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

          3.  การแบ่งกลุ่มคนงาน

          4.  ความต้องการพิเศษ

          5.  ขาดโอกาสในการมีส่วนร่วมกับงานสหกรณ์

          6.  ปฏิเสธการให้บริการของสหกรณ์

          7.  การแบ่งแยกทั้งทางตรงและทางอ้อม

 ความเสมอภาคทางเพศ

          ความเสอมภาคทางเพศ  :  หมายถึงหลักการขั้นพื้นฐาน เรื่องความเสมอภาคในโอกาสที่ได้รับ และการได้รับการดูแลอย่างเสมอภาคทั้งหญิงชาย

          Gender (เพศ)  :  เป็นตัวแปรด้านเศรษฐกิจและสังคมที่นำมาใช้สำหรับการวิเคราะห์ บทบาท ความรับผิดชอบ อุปสรรค โอกาส และความต้องการของชายและหญิงในสภาพแวดล้อมหนึ่ง

ธุรกิจสหกรณ์

          สามารถจัดตั้งขึ้นโดยกลุ่มธุรกิจ  หรือผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างกำไรจากการให้บริการแบหุ้นส่วน  สินค้าราคาถูก การเข้าสู่ตลาดง่ายขึ้น และสินค้าได้ราคาดีขึ้น

ประเด็นเรื่องเพศในธุรกิจสหกรณ์

          1.  อุปสรรคด้านกฎหมาย สังคม และเศรษฐกิจ

          2.  การสรรเสริญยกย่องตนเองน้อย  และขาดความมั่นใจ

          3.  ขาดความสามารถในการเป็นผู้นำ

          4.  ขาดความรู้และทักษะที่เหมาะสม

การมุ่งเน้นเรื่องเพศในธุรกิจสหกรณ์

          การวางแผน & การดำเนินการตามแผนงาน :

          ลักษณะพื้นฐานของกรอบการวางแผนงานเรื่องเพศ

          1.  นำเรื่องความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันทางเพศ บรรจุไว้ในวิสัยทัศน์และพันธิกิจของสหกรณ์

          2.  การกระจายข้อมูลเรื่องเพศ  ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ที่กำลังอยู่ในแผนงานที่จะปฏิบัติ

          3.  หาแนวทางให้สอดคล้องกับความต้องการจริงของสตรี

          4.  การปฏิบัติควรสนองตอบต่อเรื่องเพศ

          5.  การรับทราบและตระหนักถึงความเป็นจริงที่โดดเด่น

          6.  การอุทิศตนของทั้งชายและหญิงในการกำหนดและดำเนินการตามแผนงานที่ดีอย่างมีศักยภาพ

          7.  ยกระดับการมีส่วนร่วมของสตรีในทุกขั้นตอนของการวางแผนและการดำเนินงานตามแผนในกระบวนการทางธุรกิจ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #สหกรณ์
หมายเลขบันทึก: 159368เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2008 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท