วิกฤตในเด็กไทย


การอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูจะเน้นด้านร่างกายเป็นหลัก แต่การส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญามีน้อย

วิกฤตในเด็กไทย

            จากผลการศึกษาโครงการวิจัยพัฒนาการแบบองค์รวมของเด็กไทย : ปัจจัยคัดสรรด้านครอบครัวและการอบรมเลี้ยงดู ของ พ..ลัดดา เหมาะสุวรรณ และคณะ ในปี พ.ศ. 2544 จากกลุ่มตัวอย่าง 9,488 คน เป็นเด็กอายุ 1 – 18  ปี พบว่า

-         การอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูจะเน้นด้านร่างกายเป็นหลัก แต่การส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญามีน้อย

-          พ่อแม่น้อยรายที่เล่านิทานหรือร้องเพลงให้ลูกฟัง ส่วนใหญ่เปิดโทรทัศน์ให้เด็กดู

-          การส่งเสริมการอ่านมีน้อย

-          พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูยกเรื่องการเรียนรู้ให้ขึ้นอยู่กับครูและโรงเรียน-          ระดับเชาวน์ปัญญาเฉลี่ยใน เด็กอายุ 6 – 12 ปี    เท่ากับ    91.2

                                     เด็กอายุ 13 – 18 ปี  เท่ากับ   89.9            ซึ่งเป็นระดับเชาวน์ปัญญาที่ค่อนมาทางต่ำ (ระดับเชาวน์ปัญญาในเกณฑ์ปกติอยู่ในช่วง 90 - 110) และพบว่าระดับเชาวน์ปัญญาลดลงในช่วงวัยเรียนและวัยรุ่น

-          พัฒนาการด้านจิตใจ อารมณ์และสังคมของเด็กอายุ 10-18 ปี พบว่า มีความคิดสร้างสรรค์ การควบคุมอารมณ์ การคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ การตระหนักรู้ในตน และการแก้ปัญหาน้อย ซึ่งอาจมีผลต่อการปรับตัวและความสำเร็จของบุคคลในอนาคต
 
แล้วเราจะทำอะไรได้บ้าง
หมายเลขบันทึก: 159344เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2008 12:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท