การบริหารความเสี่ยง


การบริหารความเสี่ยง

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของหอผู้ป่วย  รวมทั้งศึกษาปัจจัยส่งเสริมและอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงในโรงพยาบาลหาดใหญ่  จังหวัดสงลา  กลุ่มตัวอย่าง  คือ  แบบบันทึกการเฝ้าระวังความเสี่ยงของหอผู้ป่วย  17  หอ  จำนวน  136  ฉบับ  และผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย               1)  พยาบาลวิชาชีพและพยาบาลเทคนิค เพื่อเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจำนวน 160  คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น    เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย  1)  คู่มือการบริหารความเสี่ยง  2)  แผนการดูแลผู้ป่วย  3)  แบบบันทึกการเฝ้าระวังความเสี่ยง  4)  แบบสอบถามความคิดเห็นของบุคลากรทางการพยาบาลเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง  กระบวนการศึกษาเริ่มจากการศึกษาสถานการณ์  วางแผน  ปฏิบัติและสังเกต  พร้อมเก็บรวบรวมข้อมูลสะท้อนการปฏิบัติและปรับปรุงแก้ไขโดยใช้กระบวนการวิจัยใน  3  วงจร  ประกอบด้วย วงจรการกำหนดมาตรฐาน/แนวทางปฏิบัติ  วงจรการปรับวิธีการที่เหมาะสมและพัฒนาคุณภาพงาน และวงจรระบบการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม         การสัมภาษณ์เจาะลึก  การสนทนากลุ่ม  การสังเกตแบบมีส่วนร่วม  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา  ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้ค่าความถี่  ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการทดสอบค่าที   ผลการศึกษาพบว่า  1)  การใช้คู่มือการบริหารความเสี่ยง  และแผนการดูแลผู้ป่วยมีการปรับปรุงให้เหมาะสมทุกวงจร 2) อัตราการเกิดอุบัติการณ์ส่วนใหญ่ลดลง  ได้แก่  การได้รับยา/สารน้ำ/เลือดผอด  การให้การพยาบาลผอดคน  การเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่  การเกิดแผลกดทับระดับ  2-4  การกลับเข้ามารับการรักษาซ้ำในโรงพยาบาลโดยไม่ได้วางแผน  การเกิดข้อร้องเรียน  และการติดเชื้อในโรงพยาบาล  ส่วนอุบัติการณ์ที่ไม่ลดลง  ได้แก่  การหนีกลับ  และการตกเตียง/ลื่นล้ม 3)  บุคลากรพยาบาลมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงก่อนและหลังการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่          ระดับ .001  4)  ปัจจัยส่งเสริม  ได้แก่  ภาวะผู้นำทางการพยาบาล  ความร่วมมือของบุคลากรในองค์กร  การบริหารแบบกระจายอำนาจ  บทบาทของผู้บริหารทางการพยาบาลในการวางระบบ  ให้การสนับสนุนการบริหารความเสี่ยงของหอผู้ป่วย  ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรค  ได้แก่  จำนวนผู้ป่วยมากและระดับของความเจ็บป่วย  ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม  และทัศนคติของบุคลากรต่อการรายงานอุบัติการณ์  กลยุทธ์หลักที่ใช้  คือ  1)  การทำงานเป็นทีม  2)  การประชุมปรึกษาและให้ความรู้  3)  การจัดระบบสนับสนุน  4)  การสร้างความเชื่อถือ  5)  การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

 
หมายเลขบันทึก: 159078เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2008 21:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท