KM กับการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง


ทำอย่างไร สุขภาพจึงเปลี๊ยนไป

    กลุ่มเสี่ยงกลุ่มนี้มีฃื่อว่า”กลุ่มบานไม่รู้โรย” นอกจากมีการรวมกลุ่มพูดคุยและเล่าเรื่องราวของตัวเองให้สมาชิกที่มีการเจ็บป่วยด้วยโรคเดียวกันแล้ว  เราได้เอากระบวนการ KM มาใช้ในการทำกลุ่มทุกครั้ง จดบันทึกเรื่องเล่าแต่ละครั้งที่ได้มา และเมื่อสมาชิกเจอกันอีกครั้ง(ทุกเดือนต้องมาพบแพทย์) เราก็จะใช้คำถามว่ามีใครได้ลองนำสิ่งที่เพื่อนสมาชิกแนะนำครั้งที่แล้วไปปฏิบัติบ้าง เป็นอย่างไร ทำอย่างไร  สุขภาพดีขึ้นมั้ย โดยมีตัวชี้วัดหลายอย่างเช่น น้ำหนักตัวลดลง ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการดีขึ้นส่งผลให้แพทย์ปรับลดยาลงได้  ตัวผู้ป่วยเองก็จะบอกว่ารู้สึกสบายตัวขึ้นไม่อึดอัด  สิ่งเหล่านี้ได้รับการถ่ายทอดเล่าต่อเพื่อนสมาชิกในกลุ่มด้วยกัน ทำให้เกิดแรงผลักดันด้วยตัวเองที่อยากจะมีความรู้สึกอย่างคนเล่าบ้าง จึงทำให้หลายๆคนที่เคยมีพฤติกรรมที่ปรับเปลี่ยนยาก กลับมาปฏิบัติอย่างที่เพื่อนในกลุ่มเล่าให้ฟังว่าทำแล้วเขาดีขึ้น จึงพบว่าการใช้ KM บวกเข้ากับงานประจำที่ทำอยู่ เป็นสิ่งที่ไม่ยุ่งยากอะไรเลย แต่กลับทำให้งานเราง่ายขึ้น ดีขึ้น คนในกลุ่มก็สนิทสนมกันมากขึ้น เพราะคุ้นเคย ทำให้เอื้ออาทรกันมากขึ้นด้วย   ภาพที่เห็นนี้คือ กลุ่มตกลงกันคัดเลือกหัวหน้ากลุ่มขึ้นมาเพื่อประสานงานกับสมาชิกในกลุ่มให้ทั่งถึงยิ่งขึ้นและสัญญาว่าจะช่วยกันดูแลคนในกลุ่มที่เจ็บป่วยให้มีสุขภาพ เปลี่ยนไปในทางดีขึ้น

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15885เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2006 09:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ไปเห็นมาแล้วค่ะ งานนี้ผู้ป่วยคุ้นเคยกันดีมาก Fa ก็เอาใจใส่ได้ทั่วถึง จำคุณพี่ คุณป้า คุณน้า คุณอา คุณลุง ได้หมด บอกเล่าได้รายละเอียดทุกขั้นตอน ต้องขอบอกว่า งานนี้ได้รายละเอียดของการบันทึกความรู้ได้ดีจริงๆ เอาไว้ลองมาทดลองบันทึกรายละเอียดนั้น ที่ GotoKnow บ้างสิคะ เพราะว่าเราก็อยากเห็นในคำพูด อารมณ์ ความรู้สึก ของกลุ่มด้วยละค่ะ
แขก_ประชาสัมพันธ์ สคส.

เคยคุยกับพี่อุ้ยเรื่องนี้แล้ว .....

ไม่ทราบว่าตอนนี้ กลุ่มบานไม่รู้โรย มีพัฒนาการไปถึงไหนแล้ว อยากรู้ว่าผลสำเร็จจากการทำเวทีให้ผู้ป่วยเล่าเรื่องการดูแลตัวเองให้ฟังแบบนี้ ช่วยกระตุ้น และนำไปปฏิบัติในกลุ่มผู้ป่วยได้มากน้อยขนาดไหน ใครในกลุ่มที่ทำแล้วได้ผลดีที่สุด และเป็นแบบอย่างให้กับกลุ่มบ้าง

นอกจากเวทีเล่าสู่กันฟังแล้ว พี่อุ้ยและทีมมีกิจกรรมอะไร ที่ช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้ป่วย หรือกลุ่มพี่อุ้ยเองบ้างหรือเปล่าครับ

และเห็นว่าวันที่ จันทร์ที่ 27 ก.พ. 29 นี้จะมีเวทีตลาดนัดเสรีของศูนย์ฯ อยากทราบว่ารูปแบบเป็นอย่างไร ในงานมีกิจกรรมอะไรบ้าง อยากทราบรายละเอียดครับ

ถ้ามีราลยละเอียด รบกวนส่งให้ผมที่เบอร์ Fax02-6196188        โทร.02-6199701 หรืออีเมล์ [email protected] นะครับ ถ้าน่าสนใจ ผมขออนุญาติตามไปดูด้วยคนครับ

 

 

ขอโทษครับ พิมพ์ พ.ศ. ผิด

2549 ครับ

ถึงคุณแขก

คือวันที่จัดตลาดนัดสุขภาพ ในวันที่27 ก.พ 49 รูปแบบของงานคือการเปิดให้ จนท.ของศูนย์ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของตัวเองเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ โดยมีแขก VIP ที่เราเชิญไว้มาเล่าตัวอย่างของการใช้ชีวิต (จากผลการตรวจสุขภาพประจำปี คัดเลือกคนที่มีสุขภาพดีได้ทั้งสิ้น 16 คน) และได้เรียนเชิญอาจารย์ที่เป็นผู้ที่มีความชำนาญทางด้านการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมมาร่วมแลกเปลี่ยนด้วย  เพราะจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของ จนท. ที่เคยทำผ่านมาแล้ว 6ครั้ง เราพบว่ามีบางประเด็นที่ต้องมีคำตอบที่ถูกต้องในองค์ความรู้ เช่น เรื่องสมุนไพร แพทย์ทางเลือก (อาจารย์ท่านนี้คือ อ.ไกรวุฒ  มักพิมล) อยากทำให้มีรูปแบบที่ไม่ซ้ำๆ เลยลองทำแบบนี้ เรื่องของการปรับพฤติกรรมสุขภาพใน จนท. มีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้องเยอะ แตกต่างจากของคนไข้กลุ่มเสียง วางแผนไว้จะจัดเวทีอย่างนี้ทุกเดือนโดยจะตั้งคำถามว่าจากเรื่องเล่าของเพื่อนครั้งที่แล้ว บอกถึงวิธีทำให้สุขภาพแข็งแรง  มีใครได้ลองนำไปปฏิบัติ  แล้วได้ผลเป็นอย่างไร ช่วยเล่าให้เพื่อนๆฟังด้วย

ส่วนในกลุ่มเสียงที่มีอุ้ยทำอยู่ ก็ก้าวหน้าไม่หยุดค่ะ กลุ่มเข้มแข็งขึ้น คัดเลือกผู้นำกลุ่มและผู้ช่วยเพื่อประสานงานสมาชิกให้ทั่วถึงคนที่ได้รับคัดเลือกนี้จะเป็นคนที่สามารถปฏิบัติตัวได้ผลดีและถ่ายทอดเรื่องเล่าดีๆให้เพื่อนฟังได้  ผลสรุปเมื่อสิ้นปี ที่วัดได้ด้วยสุขภาพที่ดีขึ้น ปรับพฤติกรรมสุขภาพ มีการยอมรับและพยายามปรับพฤติกรรม จนนำมาแบ่งระดับของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็น5ระดับ คือ 1.ไม่สนใจจะกินยาลูกเดียว 2.สนใจแต่ทำไม่ได้ 3.สนใจและลองปฏิบัติอยู่ 4.สนใจและปฏิบัติได้ 5.สนใจสามารถปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องและถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ด้วย ล่าสุดเมื่อวันจันทร์16ก.พ49 กลุ่มเสนอการจัดงานปีใหม่ไทย(สงกรานต์) นำอาหารมาแลกเปลี่ยนรับประทาน  ลองทำ AAR ในกลุ่มดู ก็พบว่าสมาชิกส่วนใหญ่มีความตั้งใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้นและบอกว่าการจัดกลุ่มให้เขาคุยกันอย่างนี้ดีมาก ทำให้รู้วิธีดีๆจากเพื่อน ไปเล่าให้ใครฟังว่ามารักษาที่เป็นอย่างนี้ จนเขาอยากย้ายที่มารักษาที่นี่บ้าง คุณอุ้ยรับมั้ยค่ะ  เราเลยแอบปลื้มที่คุณป้า คุณลุง พูดชมไม่ขาดปาก   แล้วพี่อุ้ยจะโทรคุยกับคุณแขกอีกครั้งนะคะ

การเป็นคุณ อำนวย ในส่วนของการทำKM กลุ่มเสี่ยง จะเริ่มคำถามที่ว่ามีใครจำเรื่องเล่าของเพื่อนได้บ้าง  ว่าทีเรื่องดีๆอะไรบ้าง แล้วก็มีใครได้เอาไปทดลองทำ  ได้ผลอย่างไรก็บอกต่อวันนี้ได้เลย  มีบางครั้งไม่กล้าพูด เราต้องจัดกิจกรรมพูดคุยให้สบายๆก่อน อย่าเพิ่งให้เริ่มเล่า เพราะบางคนยังตั้งตัวไม่ได้ และบางครั้งก็ติดตลกว่า หนูเองก็ลืมเรื่องเล่าคราวที่แล้วเหมือนกัน ใครจำได้บ้างว่ามีเรื่องอะไรบ้าง เหมือนท้าทายความจำของสมาชิก และก็ใช้ได้ผลดีในการกระตุ้นให้พูด โดยให้เป็นวิธีธรรมชาติของการพูดคุยกันเอง แต่ก็ดึงเข้าประเด็นในการส่งเสริมสุขภาพ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท