โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)
โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) เทศบาลนครนคราชสีมา

สิ่งแวดล้อมมีผลต่อสมองและการเรียนรู้ ..สุภาภรณ์ พลเจริญชัย


สิ่งแวดล้อมมีผลต่อสมองและการเรียนรู้

สิ่งแวดล้อมมีผลต่อสมองและการเรียนรู้           

            ความเข้าใจของนักวิทยาศาสตร์ที่สืบทอดกันมา  ถึงกลางศตวรรษที่ 20 นั้น  เคยเชื่อว่า  การพัฒนาสมองของเด็กเล็กนั้น  ย่อมเป็นไปตามลำดับขั้นทางชีววิทยา และมีพันธุกรรมเป็นตัวกำกับอยู่แล้ว แต่นักวิจัยที่ได้เขย่าความเชื่อนี้คือ  มาร์ค โรเซนส์วิก  (Mark  Rosenzwieg)   ซึ่งได้พิสูจน์ว่า การมีประสบการณ์ในชีวิตจริง   น่าจะมีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการของสมอง           

           โรเซนส์วิค  ได้ทำการทดลองอันมีชื่อเสียง  โดยเขาได้นำหนูใส่ไว้ในกรงที่จัดสภาพแวดล้อมไว้แตกต่างกัน  ในกรงที่จัดสิ่งแวดล้อม อย่างดีนั้น  เขาจัดให้มีล้อหมุน  มีที่ปีนป่าย  มีของเล่นต่าง ๆ  ส่วนกรงที่เปรียบเทียบนั้น   หนูอยู่ในกรงธรรมดาที่มีสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด                      

            ผลการศึกษานั้นน่าทึ่ง  เพราะเหตุว่า   สมองของหนูและสัตว์ทดลองที่ทำการวิจัยที่อยู่ในกรงที่มีสิ่งท้าทายนั้น   มีพัฒนาการดีกว่าหนูในกรงที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมแห้งแล้ง  กล่าวคือ  มีน้ำหนักมากกว่า  มีชั้นสมองหนากว่า  และมีการเชื่อมโยงวงจรของเซลล์สมองมากกว่า  อีกทั้งยังมีระดับของกิจกรรมของสารเคมีในสมองมากกว่าอีกด้วย           

            นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า  ยิ่งเริ่มต้นเร็วเท่าไร  สมองของเด็กก็จะยิ่งสร้างความเชื่อมโยงของวงจรเซลล์สมอง  มากกว่าการพัฒนาตามปกติ     และสมองก็จะตัดวงจรที่ไม่ได้มีการกระตุ้น  ไม่ได้ใช้  หรือใช้ไม่บ่อย  ทิ้งไปอีกด้วย   การตัดทอนวงจรในสมองที่ไม่ได้ใช้ทิ้งไปนี้  เป็นขั้นตอนการพัฒนาที่สำคัญในช่วงวัยรุ่น  ก่อนที่สมองจะเจริญสมบูรณ์เต็มที่ในวัยถัดไป        

(จาก  สมองวัยเริ่มเรียนรู้  ของ อ.พรวิไล  เลิศวิชา  และนายแพทย์อัครภูมิ  จารุภากร )            

           จากบทความดังกล่าว  จะเห็นว่า  เด็กจะเรียนรู้ได้ดีจะเก่งหรือไม่เก่ง  ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์เพียงอย่างเดียว  หากจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้  เด็กก็จะมีโอกาสพัฒนาสติปัญญาได้มากขึ้น   ดังนั้น  ผู้ปกครองและครู  ควรได้ใส่ใจในเรื่องนี้  ต้องออกแบบการเรียนการสอนที่ช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ให้แก่เด็กอย่างหลากหลาย  กระตุ้นให้เด็กได้ใช้ความสามารถ  มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน  เพื่อที่จะสนใจสิ่งกระตุ้นรอบ ๆ ตัว  จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ความคิดจินตนาการ  ให้เด็กได้มีโอกาสสัมผัสกับเสียงดนตรี  บทเพลง  บทกลอน  บทร้องเล่นของเด็ก  อย่าปล่อยเวลาให้ผ่านไปอย่างเสียโอกาส  ...เพื่อลูก ๆ ของเรานะคะ       

หมายเลขบันทึก: 158368เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2008 23:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 08:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

  ขอชมเชยนะครับที่เป็นคนใฝ่รู้  ติดตามความรู้ใหม่ ๆ เสมอ  อยากให้คุณครูลองนำไปปรับใช้ในห้องเรียนนะครับ  ได้ผลอย่างไร  อย่าลืมเล่าสู่กันฟังนะครับ

                                   ..............ศักดิ์เดช

เยี่ยมเลยคะ มีความเป็นจริงคะ  ตรงที่เพิ่มประสบการณ์ให้แก่เด็ก จะเป็นการเพิ่มการเรียนรู้ แล้วสมองยังได้ออกกำลังกาย(ฝึกคิด ฝึกใช้คะ) บทความนี้ดีมากเลยคะ  ถ้าบรรดาเกี่ยวกับคุณครูถ้าได้เข้าใจเรื่องนี้  รับรองว่า สอนนักเรียนเป็นขึ้น

ไม่ใช่ให้แต่ท่องจำ ท่องจำ ต้องให้มีภาคปฏิบัติ เพื่อเสริมประสบการณ์ในทุกเรื่อง เหมาะสมตามวัย ว่าวัยนี้ ควรจะเสริมอะไรดี

จะมีครูกี่ท่านหนอ ที่รู้และเข้าใจ หรือใฝ่หาเหมือนอาจารย์สุภาภรณ์

ขอบคุณ คุณP สุ-มหาวิทยาลัยชีวิต ที่ไม่มีวันปิดทำการ  มากค่ะ  ที่แวะมาเยี่ยมชม

                                            

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท