3 ปี สึนามิ เราพร้อมแล้วหรือยัง


ชุมชนจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติ
เครือข่ายผู้ประสบภัยสึนามิ 6 จังหวัดชายฝั่งอันดามัน และ องค์กรภาคีพันธมิตรข้อเสนอต่อรัฐบาลและภาคประชาสังคมเรื่อง ชุมชนเตรียมพร้อมจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติในงาน 3 ปี สึนามิ สานพลัง พลิกฟื้นอันดามัน ณ บ้านนำเค็ม ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา25-26 ธันวาคม 2550-----ตลอดระยะเวลา 3 ปี กว่า 400 หมู่บ้านที่ประสบธรณีพิบัิติภัยสึในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งอันดามัน มีภาพของการช่วยเหลือและการฟื้นฟูชุมชนมาสู่ระดับปกติโดยชุมชนร่วมมือกับภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และ ภาคประชาสังคมทั้งในและต่างประเทศ แต่ยังคงมีปัญหา      ต่อเนื่่องอยู่ทั้งเชิงโครงสร้างนโยบาย เช่น ปัญหาที่ดินและความไม่เป็นธรรมความขัดแย้งสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สิทธิมนุษยชน รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจชุมชนถดถอย ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายใจของประชาชนทั่วทุกแห่งในพื้นที่ ถามว่าชุมชนชายฝั่งอันดามันดังกล่าว มีความพร้อมรับมือกับ ภัยพิบัติสึนามิและภัยพิบัติธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นตามมาหรือไม่? ภายใต้สถานการณ์ที่มีแนวโน้มมีภัยพิบัติที่มีความถี่และความรุนแรงเกิดขึ้นมากขึ้นในปัจจุบัน ปรากฏว่ามีเพียงร้อยละ 10 ของชุมชนที่ประสบภัยสึนามิ ที่ได้นำร่องดำเนินการให้เกิดชุมชนมีความพร้อมรับมือภัยพิบัติดังกล่าว ซึ่งยังคงมีปัญหาทั้งเชิงโครงสร้างนโยบายที่ยังไม่ครอบคลุมและไม่มีประสิทธิภาพที่จะสร้างความมั่นใจให้กับชุมชน เช่น ระบบเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ นโยบายและแผนชาติรวมทั้งกลไกรัฐทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นที่จะเอื้อและการสนับสนุนชุมชน ในส่วนของชุมชนและภาคประชาสังคม ยังจำเป็นที่จะต้องสร้างความเข้าใจ ความตระหนัก สร้างความร่วมมือ และ เสริมสร้างศักยภาพในบทบาทของชุมชนร่วมมือกับรัฐและ ท้องถิ่น รวมทั้งภาคประชาสังคม ให้พร้อมรับมือและจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้นจึงมีข้อเสนอที่ควรพิจารณาและร่วมมือกัน สร้างชุมชนมีความพร้อม รับมือภัยพิบัติ 1.     กระทรวงมหาดไทย สร้างความเข้าใจและความร่วมมือใน นโยบายการจัดการและบรรเทาสาธารณภัยโดยใช้ชนเป็นฐาน ผ่านการผลักดันการบังคับใช้มติรัฐมนตรีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งการสร้างความเข้าใจและการเข้าถึงข้อมูลและสิทธิชุมชนในการช่วยเหลือจากรัฐบาล ผ่านกรมการปกครอง กรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย และ กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งในระดับส่วนกลางและส่วนภูมิภาคด้วย รวมทั้งกำนันและผู้ใหญ่บ้านในฐาน ผู้บัญชาการ การบรรเทาสาธารณภัยหมู่บ้าน เป็นต้น2.     ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ มีการขยายโครงสร้างพื้นฐานและระบบเตือนภัยให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุมพื้นที่ อีกทั้งให้มีการเชื่อมโยงระบบสื่อสารและเตือนภัยที่มีอยู่ในชุมชนและท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมขยายผลภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้ในการเตืือนภัยพิบัติให้กว้างขวางควบคู่ไปกับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ร่วมกับชุมชน โรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษาและวิชาการ รวมทั้ง องค์กรภาคีภาคสังคมอื่นๆ3.     องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ มีความตระหนักและให้ความสำคัญถึงบทบาทในฐานะที่เป็น ผู้บัญชาการ การบรรเทาสาธารณะภัยในท้องถิ่น ที่จะมีนโยบายและทรัพยากรในการสนับสนุนให้เกิดคนทำงาน หนึ่งตำบลหนึ่งกู้ภัย ให้เกิดการจัีดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานและระบบสื่อสารการเตือนภัยรองรับการช่วยเหลือและอพยพหลบภัย และ ส่งเสริมให้เกิดการสร้างความตระหนักความร่วมมือของชุมชน เช่น การสนับสนุันการซ้อมการบรรเทาสาธารณะภัย ที่นำไปสู่วถีชีวิตของชุมชนชายฝั่งที่เสี่ยงภัยพิบัติ4.     ชุมชน และ สมาชิกใุนชุมชนร่วมมือกับองค์กรภาคีภายนอกที่เกี่ยวข้อง มีความตระหนัก ให้ความสำคัญและร่วมมือกันในการสร้างให้มีคนทำงานอาสาสมัคร มีโครงสร้างพื้นฐานการช่วยเหลืออพยพหลบภัย และ ระบบสื่อสารการเตือนภัย และ มีระบบและแผนงานการจัดการและบรรเทาภัยพิบัติ มีการฝีกซ้อมและจัดการประสบการณ์องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไปสู่ลูกหลานและวิถีการดำรงชีวิตประจำวัน และ สร้างเครือข่ายชุมชนเพื่อเรียนรู้และช่วยเหลือกันและกันในระยะยาว5.     องค์กรภาคีภายนอกภาคสังคมทั้งที่เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษาและวิชาการ และ องค์กรอาสาสมัครสาธารณประโยชน์ต่างๆ องค์กรมหาชน และ บริษัทธุรกิจเพื่อสังคมทั้งหลาย มีนโยบายและจัดสรรทรัพยากร เข้ามาสนับสนุนการสร้างความตระหนัก ความร่วมมือ สร้างองค์ความรู้ และ ขยายผล ให้เกิดขุมชนมีความพร้อมรับมือภัยพิบัติในระยะยาวได้ต่อไป
หมายเลขบันทึก: 158346เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2008 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท