PAR พืชปลอดภัย


จะรับสมัครทีมงาน ที่สนใจจะเรียนรู้การวิจัย PAR เพิ่มเติม

          ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ทีมงานของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ได้เชิญทีมแกนนำนักวิจัยในพื้นที่ ที่จะดำเนินการวิจัย PAR ในโครงการพืชปลอดภัย  จากเป้าหมาย 3 ตำบล แต่วันนี้เชิญแกนนำมา 4 ท่าน เป็นผู้ก่อการดีก่อน จากขวาไปซ้าย คือ

  1. คุณสังวาลย์  กันธิมา      จากสำนักงานเกษตรอำเภอคลองขลุง
  2. คุณเสนาะ  ยิ้มสบาย       จากสำนักงานเกษตรอำเภอพรานกระต่าย
  3. คุณเชิงชาย  เรือนคำปา   จากสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร
  4. คุณรังสรรค์  เลิศสูงเนิน   จากสำนักงานเกษตรอำเภอไทรงาม

(คนซ้ายสุดคือคุณสายัณห์  ปิกวงค์ ทีมของสำนักงานเกษตรจังหวัด)

                                          โฉมหน้าผู้ก่อการ PAR

          ทีมงานได้ร่วมกันศึกษาและปรับปรุงขั้นตอนการวิจัย PAR โดยปรับปรุงจาก

  • ขั้นตอนการวิจัย PAR แบบกว้างๆ โดยทั่วๆ ไป
  • กิจกรรมจากงานวิจัย"การขับเคลื่อนลด ละ เลิกการใช้สารเคมีฯ" ของอรทัย  รวยอาจิณ จากคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล
  • ขั้นตอนการดำเนินการพืชปลอดภัยของกรมส่งเสริมการเกษตร

          ได้ยกร่างแผนการดำเนินการวิจัยคร่าวๆ ดังนี้

 ขั้นตอนหลัก

 รายละเอียดกิจกรรม

 ขั้นตอนที่กรมฯกำหนด

 1. ขั้นเตรียมการ

1) การหาภาคีทำงาน

2) ทำความเข้าใจ/กระตุ้นชุมชน

3) วิเคราะห์ชุมชน/คัดเลือกชุมชน

1) จำแนกพื้นที่
 2. ขั้นดำเนินการวิจัย

4) การตรวจวิเคราะห์สารเคมีตกค้าง

5) การเข้าสู่ชุมชนวิเคราะห์ปัญหา

และหาแนวทาง

6) ค้นหาของดี/ศึกษาดูงาน

7) ทดลองปฏิบัติเพื่อปรับวิธีการผลิต

8) เยี่ยมเยียนติดตามให้กำลังใจ

9) การบันทึกข้อมูลเปรียบเทียบต้นทุน

10) เปรียบเทียบผลการปฏิบัติ

2) บูรณาการแผน

3) ถ่ายทอด

4) สร้างเครือข่าย

5) การตลาด

 

 3. ขั้นสรุปผล/รายงานผล

11) เกษตรกร ลปรร.และสรุปผล

12) เผยแพร่ผลการวิจัยร่วมกับชุมชน

 การสรุปและรายงาน

ผลการปฏิบัติงาน

          ในการประชุมในวันนี้ ทีมแกนนำได้ตกลงกันในเบื้องต้นว่า

  • เราจะนำการวิจัย PAR มาสวมในงานพืชปลอดภัยประมาณ 20 จุด คือนวส.มือใหม่ที่เราฝึก 8 จุด และผู้สนใจอีก 12 จุด
  • จะรับสมัครทีมงาน ที่สนใจจะเรียนรู้การวิจัย PAR เพิ่มเติม
  • ในวันสอนงาน นวส.มือใหม่ จะใช้เป็นวันประชุมทีมวิจัยไปพร้อมๆ กันทุกเดือน
  • การคัดเลือกพื้นที่วิจัย จะเน้นการคัดเลือกโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน (เพราะกระบวนการคัดเลือกพื้นที่/จำแนกพื้นที่ ที่กรมฯ กำหนดน่าจะใช้ไม่ได้ผล)
  • ยกร่างนี้จะทำการปรับปรุงร่วมกัมทีมงานอีกครั้งหนึ่ง

วีรยุทธ  สมป่าสัก  17/02/49

คำสำคัญ (Tags): #par#วิจัยชุมชน#rd
หมายเลขบันทึก: 15815เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2006 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ต้องขอชื่นชมทีมงานกำแพงเพชร ทั้งทีม KM  และทีมวิจัย PAR (ทีมเดียวกัน) ที่มีความมุ่งมั่นและทำงานด้วยความเข้มแข็งมุมานะ เหมือนหลายๆ คนพูดไว้ว่าทำอะไรเอาใจมาก่อน โอกาสที่จะสำเร็จก็มีสูง ถึงจะประสบปัญหาก็จะทำให้เราเกิดปัญญา หลังจากสัมมนา PAR ที่กรมส่งเสริมการเกษตร แล้วท่านก็ได้กลับไปวางแผนดำเนินการต่อเลยทันที นับว่าเป็นตัวอย่างที่ดีที่จะได้ไปเล่าให้อีก 3 จังหวัดนำร่องทราบ (จ.นครพนม,อ่างทอง,นครศรีธรรมราช) อ่านแล้วเห็นด้วยกับคุณวีรยุทธที่ว่าการวิจัย PAR  เป็นการถอดองค์ความรู้ออกมาพร้อมกับการพัฒนางานไปด้วย ซึ่งจะได้รับประโยชน์ทั้งส่วนกลาง ทีมวิจัย และคนในชุมชน/องค์กร การที่กรมฯได้ให้ความสำคัญกับงานวิจัยชิ้นนี้ เพราะว่ากรมฯ (คณะทำงาน Food safety,คณะทำงาน KM และทีมวิจัย) เข้าใจดีว่าการกำหนดแนวทางการดำเนินงานโครงการไปจากส่วนกลางเป็นการกำหนดแนวทางกว้าง ๆ ไว้เท่านั้น แต่รายละเอียดวิธีการดำเนินงานในแต่ละพื้นที่นั้นคงมีความแตกต่างกันไป (มีหลายทางที่จะไปสู่เป้าหมาย ถ้าเราเห็นเป้าหมายเดียวกัน) ตามกรอบแนวคิดการวิจัยที่ได้ระดมสมองและสรุปร่วมกันจากการสัมมนาวันที่ 9-10 ก.พ.49 โดยจะเห็นว่ามีวง PAR 2 วงซ้อนกัน คือ ระดับเกษตรกรและเจ้าหน้าที่
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท