ความหมายของ ERP


451091191

ความหมายของ ERP
                ERP เป็น Software ที่ใช้ในการจัดการได้ทั้งองค์กร โดยมีฐานข้อมูลและเก็บข้อมูลทุกอย่างไว้ที่ร่วมกัน เพื่อป้องกันการความซ้ำซ้อนของข้อมูลและ Share ข้อมูลได้ ทำให้มีประสิทธิภาพ โดยแต่ละส่วนสามารถดึงข้อมูลส่วนกลางมาวิเคราะห์และสามารถที่จะรวมได้ทั้งหมดทุกฝ่าย
1.        ฝ่ายการตลาดและการขาย – จะรวมไปด้วย การตลาด, การขาย, การสั่งซื้อ, ลูกค้าสัมพันธ์, บริการลูกค้า, การทำนายทิศทางตลาด และโฆษณา
2.        ฝ่ายผลิตและจัดการวัตถุดิบ – จะรวมไปด้วย การจัดซื้อ, การรับเข้าวัตถุดิบ, จัดส่ง, กำหนดตารางการผลิต, ฝ่ายโรงงานและฝ่ายซ่อมบำรุง
3.        บัญชีและการเงิน – จะรวมไปด้วย การทำบัญชี, ควบคุมราคาค่าใช้จ่าย, วางแผนการเงิน, จัดการงบประมาณและจัดการกระแสเงิน
4.        ฝ่ายบุคคล – จะรวมไปด้วย การจัดหาบุคคลากรและว่าจ้าง, ฝึกงาน, ค่าจ้าง, และสิทธิพิเศษ
ประวัติของ ERP
                ก่อนจะมีระบบ ERP นั้น ในวงการอุตสาหกรรมช่วงทศวรรษ 1960 ได้มีการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในส่วนของการผลิตทางด้านการคำนวณความต้องการวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต หรือที่เรียกว่าระบบ MRP ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1970 ระบบการผลิตในอุตสาหกรรมมีความซับซ้อนมากขึ้นจึงมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในส่วนของการผลิตในด้านของเครื่องจักรและส่วนของเรื่องการเงิน ซึ่งเราเรียกระบบงานนี้ว่า MRP II
ความสำคัญของ ERP
                ความสำคัญและประโยชน์ของ ERP คือ เป็นเป้าหมายสำหรับ บริษัทใหญ่เพื่อให้สามารถจัดการสาขาต่างๆได้ โดยการ Share ข้อมูล และฝ่ายการจัดการ สามารถดึงรายงานออกมาได้อย่างรวดเร็ว
ความหมายของ SAP
                SAP คือ โปรแกรมที่ช่วยจัดการสายงานของธุรกิจให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว สามารถนำไปใช้ประกอบการธุรกิจได้ และผู้บริหารสามารถเรียกดูข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลสถานะของบริษัทได้
ประวัติความเป็นมาของ SAP
                SAP ก่อตั้งที่ประเทศเยอรมัน เมื่อปี 1972 โดยการรวมตัวกันของอดีตพนักงานบริษัท IBM โดยเป้าหมายในเริ่มแรกได้เนนลูกคาธุรกิจขนาดใหญ แตปจจุบันไดขยายธุรกิจไปที่ลูกคาขนาดเล็กและขนาดกลาง
ระบบของ SAP R/3
                ในระบบของ SAP R/3 โดยโมดูลที่อยู่ติดกันจะมีหน้าที่และความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกัน โดยที่โมดูลจากทางด้านซ้ายของแผนภาพจะใช้สำหรับการตลาดและการขาย ผลิตภัณฑ์และการบริหารวัตถุดิบ และการจัดหาทรัพยากร

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15802เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2006 17:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท