หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับปรับปรุงใหม่ (3)


หลักสูตรต้องบอกให้ชัดว่า เด็กที่ผ่านหลักสูตรนี้อีก 6 ปี หรือ 12 ปี ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่กำลังปรับปรุงใหม่นี้ ในส่วนตัวแล้ว ยังมีอะไรที่ต้องคิดอีกมากมาย

1.  ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าเราต้องการเด็กไทยแบบไหนกันแน่ เพราะเขาคือคนที่จะดูแลโลกแทนเราต่อไปในอนาคต

2.  การเรียนการสอนในโรงเรียน เราจะไหลตามกระแสโลก กระแสสังคม เป็นการศึกษาแบบตั้งรับ หรือ คิดไปข้างหน้าว่าเราอยากได้สังคมแบบไหน แล้วก็วางแผนหลักสูตรให้เด็กไป

3.  เนื้อหาสาระที่ใช้สอน ดูแออัดยัดเยียด ต้องมาคิดกันว่าอะไรสำคัญจำเป็น ความรู้ใหม่เกิดขึ้นไม่หยุดหย่อน บางคนว่า "ต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการ" บางคนก็ว่า "เนื้อหาสาระก็จำเป็นนะ" 

4.  เรื่องที่ท่านพุทธทาสกล่าวไว้ว่า "การศึกษาหมาหางด้วน" นี่ก็กระทบใจมาก มิติของธรรมศาสตร์ พุทธศาสตร์ "ระบบการศึกษาแบบเติมหางให้หมา" จะทำอย่างไร ถึงจะเหมาะสม

5.  ในศาสตร์แต่ละสาระก็มีวิวัฒนาการไปมาก ต้องมาพิจารณาว่าจะเอาอย่างไร เช่น การสอนประวัติศาสตร์ยุคหลัง เขาก็มองว่าการสอนโดยยึดพระนครหลวงเป็นหลักนั้น เป็นพวก "ล้าหลังคลั่งชาติ" เพราะไม่ความสำคัญกับมิติของผู้คนกลุ่มอื่น เพราะในยุคอยุธยาเป็นราชธานี ก็ยังมีอาณาจักรล้านนา อาณาจักรศรีโตรบูรณ์ รวมทั้งบรรดาชาติพันธุ์อื่น ๆ แต่เราไม่เรียนกัน ตรงนี้ก็ต้องคุยกันว่าจะเอาอย่างไร

6.  การให้โรงเรียนทำหลักสูตรสถานศึกษา จำเป็นเพียงใด เพราะใน พรบ. ก็กำหนดแต่เพียงว่า "สถานศึกษามีหน้าที่จัดทำสาระในหลักสูตร.." ที่มามาก็ลอกพอให้มีตัวหลักสูตรก็มากอยู่

7.  เรื่องการใช้หลักสูตร การพัฒนาบุคลากรต่าง ๆ ยังต้องมีการคิดและวางกลไก เติมลมหายใจให้กับหลักสูตร ไม่เช่นนั้นก็นอนนิ่งอยู่ในตู้เท่านั้น

หมายเลขบันทึก: 157900เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2008 13:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีเจ้าค่ะ คุณครู

            เอิกๆๆๆ ปรับปรุงไปเรื่อยๆ หาสิ่งที่ดีที่สุด  จนครูกับนักเรียนปวดสมองหมดแล้ว คิคิ....ขนาดน้องจิ ไม่ใช่คนสอบ เป็นแค่เด็กนักเรียนยังมึนเลย คิคิ มึนกับการเรียนที่ต้องสับเปลี่ยนตลอดเวลา  ตามเบื้องบนบัญชาการมา ก๊ากๆๆ

             เป็นกำลังใจให้คุณครูเจ้าค่ะ ------> น้องจิ ^_^

  • การทำงานพวกนี้มันซับซ้อนครับ
  • การปรับปรุงหลักสูตรมีความจำเป็นเพื่อให้เหมาะกับยุคสมัย
  • ปัญหาที่เกิดขึ้นกับครูและนักเรียน ก็ต้องคิดอีกชั้นว่าจะดำเนินการอย่างไร ต้องคิดทีละก้าว คนเราก็ต้องเรียนรู้พัฒนาอีกเยอะครับผม

 

 

ในฐานะครูผู้สอน ก็คงต้องทำใจเตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลงของหลักสูตรที่จะใช้ในอีก 1 ปีข้างหน้า หลักสูตรเดิม (2544)ที่โรงเรียนยังมีไม่ครบทุกสาระเลย .........เปลี่ยนอีกแล้วหรือ ....แล้วอีก 6-7-8 ปีข้างหน้าจะเปลี่ยนอีกไหม ถ้าเช่นนั้นก็ยึดแนวของหลักสูตรแกนกลางใช้ไปก่อนแล้วกัน ได้ไหมเนี้ย....

มีข้อคิดที่เป็นจริงอยู่ข้อหนึ่งคือ การที่เราพัฒนาหลักสูตรในระดับบน มีปรัชญา เป้าหมาย จุดมุ่งหมายอย่างชัดเจน แต่เป็นสิ่งที่สังคมต้องการจริงหรือไม่ ตัวนักเรียน ครูผู้สอน อยากดำเนินตามหรือไม่ บ่อยครั้งที่ตัวหลักสูตรมักอยู่บนหิ้ง การเรียนการสอนก็ดำเนินไปตามกระแส ซึ่งมีส่วนที่ไม่น้อยที่ไม่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของตัวนักเรียน ปัญหาใหญ่เวลานี้ไม่ใช่อยู่ที่การพัฒนาหลักสูตรเท่านั้น แต่ใหญ่กว่านั้นอยู่ที่การยอมรับในจุดมุ่งหมาย ตัวอย่าง จุดมุ่งหมายของนักเรียนอยู่ที่การเข้าสู่คณะและมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง โรงเรียนทีมีนักเรียนที่มีศักยภาพสูง จะเลือกตามเป้าหมายของหลักสูตร หรือเป้าหมายของนักเรียน ที่ไม่สอดคล้องกัน ดังนั้นเราจะเห็นว่า นักเรียนยังให้ความสนใจในการเรียนกวดวิชาสูงมาก ให้ความเชื่อมั่นในโรงเรียนกวดวิชา และโรงเรียนที่สามารถช่วยให้นักเรียนสามารถเข้ามหาวิทยาลัยได้ มากกว่าโรงเรียนที่เดินตามหลักสูตร เชื่อว่านี่เป็นปัญหาใหญ่กว่าการพัฒนาหลักสูตรเพียงด้านเดียว ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรอาจต้องมีทางด้านอุดมศึกษามาร่วมด้วยมิฉะนั้น อีกสามปี เราอาจต้องปรับหลักสูตร เมื่อพบว่าผลที่ได้ยังคงอยู่กับที่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท