แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบ 5EsBSCS


แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และให้ผู้เรียนได้ทำการสืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ใหม่

แผนการจัดการเรียนรู้แบบ 5EsBSCS 
เรื่อง  สารอาหารประเภทโปรตีน 
วิชา  ว40281  วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต 1

สาระสำคัญ

         โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีมีมากในร่างกายของคนและสัตว์  เป็นส่วนประกอบของเซลลฺ และเนื้อเยื่อต่างๆ  ในร่างกาย


ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
         สำรวจตรวจสอบ  สืบค้นข้อมูล  ทดลอง  อภิปราย  อธิบายและนำเสนอเกี่ยวกับสารอาหารประเภทโปรตีน
         จุดประสงค์การเรียนรู้
                 ด้านความรู้    ผู้เรียนสามารถ
                       1.บอกธาตุที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของโปรตีนได้
                       2.ออกแบบและดำเนินการทดลองตามใบงานที่ 1  เรื่อง  การทดสอบโปรตีนในอาหารได้
                       3. สรุปเกี่ยวกับธาตุองค์ประกอบพื้นฐาน  สมบัติ  บทบาท  หน้าที่  และแหล่งอาหารที่ให้โปรตีน ตามใบงานที่  2  ผังมโนมติรูปตัววีได้ถูกต้อง
                ด้านทักษะกระบวนการ  ผู้เรียนสามารถ
                      1. ทดสอบโปรตีนในอาหารประเภทต่างๆ ตามใบงาน
ที่  1 เรื่อง  การทดสอบโปรตีนในอาหาร
                       2. นำเสนอผลการทำกิจกรรมตามใบงานที่  1 เรื่อง 
การทดสอบโปรตีนในอาหาร
                  ด้านคุณธรรม  จริยธรรม  และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 
ผู้เรียนมีพฤติกรรม
                        1. ความรับผิดชอบ
                        2. ความซื่อสัตย์
                        3. การตรงเวลา
                        4. ใฝ่เรียนรู้

สาระการเรียนรู้
        1. แหล่งอาหารที่ให้สารอาหารประเภทโปรตีน
        2. โครงสร้างของโปรตีน

กระบวนการจัดการเรียนรู้
        ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
        1. แจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
        2. ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน  จำนวน  10 ข้อ
        3. สนทนา  ซักถามผู้เรียนเกี่ยวกับ  สารอาหารประเภทโปรตีน  โดยใช้คำถาม  ดังนี้
             3.1 อาหารชนิดใดบ้างที่ให้สารอาหารประเภทโปรตีน
             3.2 นักเรียนคิดว่าโปรตีนที่ได้จากพืชและสัตว์มีคุณค่าทางอาหารเท่ากันหรือไม่อย่างไร
             3.3 โปรตีนเกษตรเป็นอย่างไร
       ขั้นการจัดการเรียนรู้
       ขั้นที่  1  ขั้นสร้างความสนใจ
             1.1  ผู้เรียนแบ่งกลุ่มๆ  ละ  5  คนคละความสามารถ
             1.2  ผู้เรียนแต่ละกลุ่มศึกษาและดูตัวอย่างอาหารที่ให้โปรตีน  ที่ครูแจกให้
             1.3 ครูกระตุ้นผู้เรียนโดยการใช้คำถามเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้
                    1.3.1 จากตัวอย่างอาหารที่ครูให้อาหารชนิดใดบ้างที่ให้โปรตีน
                    1.3.2 ผู้เรียนมีวิธีการตรวจสอบโปรตีนในอาหารอย่างไร
                    1.3.3 ธาตุพื้นฐานของโปรตีนมีอะไรบ้าง
                    1.3.4 โปรตีนมีบทบาท  หน้าที่อย่างไรบ้าง
             1.4 ผู้เรียนแต่ละคนในกลุ่มตั้งปัญหาหรือข้อสงสัยจากการดูตัวอย่างอาหารที่ครูแจกให้
             1.5 ผู้เรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันคัดเลือกปัญหาหรือข้อสงสัยจากทุกคนในกลุ่มเป็นปัญหาของกลุ่ม
      ขั้นที่  2 ขั้นสำรวจและค้นหา
             2.1 ผู้เรียนแต่ละกลุ่มนำคำอธิบายหรือข้อมูลจากข้อ 1.5 มาตั้งเป็นสมมติฐาน  สามารถตั้งได้มากกว่า  1 สมมติฐาน
             2.2 ครูจัดเตรียม วัสดุ- อปกรณ์  และสารเคมีตามใบงานที่  1 การทดสอบโปรตีนในอาหาร
             2.3 ผู้เรียนแต่ละกลุ่มดำเนินการตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้  ตามใบงานที่  1 การทดสอบโปรตีนในอาหาร ดังนี้
                     2.3.1 ออกแบบการทดลอง
                     2.3.2 ดำเนินการทดลองตามที่ออกแบบไว้
                     2.3.3 สังเกตและบันทึกการเปลี่ยนแปลง
                     2.3.4 อธิบายผลการทดลอง
                     2.3.5 เขียนรายงานผลการทดลอง  ประกอบด้วย
                                2.3.5.1 วัตถุประสงค์ของการทดลอง
                                2.3.5.2  สมมติฐานการทดลอง
                                2.3.5.3  วัสดุ-อุปกรณ์
                                2.3.5.4  วิธีการทดลอง
                                2.3.5.5 ผลการทดลอง
                                2.3.5.6 สรุปผลการทดลอง  และอภิปราย
                     2.3.6 ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเตรียมตัวแทนออกนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
      ขั้นที่  3  อธิบายและลงข้อสรุป
             3.1 ผู้เรียนนำเสนอผลการทดลอง  และอภิปรายในประเด็นต่อไปนี้
                    3.1.1 ผลการทดลองสาอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่อย่างไร
                    3.1.2 ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าถ้าต้องการทดสอบโปรตีนในอาหารควรทดสอบด้วยสารละลายไบยูเร็ต
                    3.1.3 ขั้นตอนการทดลองในข้อใดที่จะทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อนเพราะเหตุใด  และควรปรับปรุงอย่างไร
                    3.1.4 วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลเหมาะสมหรือไม่อย่างไร
                    3.1.5 การทดสอบสมมติฐานใดถูกต้องและได้รับการยอมรับจากกลุ่มอื่นๆ
              3.2 จากการทดลองผู้เรียนควรสรุปว่า
                    3.2.1 แหล่งอาหารที่ให้โปรตีนจะพบทั้งในพืชและสัตว์
                    3.3.2 โปรตีนจากเนื้อสัตว์จะให้คุณค่าทางอาหารหรือคุณค่าทางชีววิทยาสูงกว่าโปรตีนจากพืช
                    3.3.3 ถ้าต้องการทดสอบโปรตีนในอาหาร  ควรทดสอบด้วยสารละลายไบยูเร็ต
      ขั้นที่  4  ขั้นขยายความรู้
            4.1 ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากป้ายนิเทศหลังห้องเรียน  เรื่อง  โครงสร้างของโปรตีน  บทบาทของโปรตีนในร่างกาย
            4.2 ครูเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเรียงตัวของกรดอะมิโน
            4.3 ผู้เรียนศึกษาใบความรู้ที่ 1 แหล่งอาหารที่ให้สารอาหารประเภทโปรตีน
            4.4 ผู้เรียนศึกษาใบความรู้ที่ 2 โครงสร้างของโปรตีน
            4.5 ผู้เรียนทำชุดฝึกที่ 1  แหล่งอาหารที่ให้สารอาหารประเภทโปรตีน
           4.6 ผู้เรียนทำชุดฝึกที่  2 โครงสร้างของโปรตีน
           4.7 ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
   ขั้นที่  5 ขั้นประเมิน
           5.1 ผู้เรียนร่วมกันอภิปรายการนำหลักการที่ได้จากการทดลองนี้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน  เช่น  การเลือกรับประทานอาหาร
           5.2 ผู้เรียนตั้งคำถามที่ต้องการอยากรู้เพิ่มเติม  เพื่อนำไปสู่การศึกษาต่อไป
           5.3 ประเมินจากการทำชุดฝึกที่ 1
           5.4 ประเมินจากการทำชุดฝึกที่ 2
           5.5 ประเมินจากการทำกิจกรรมตามใบงานที่ 1
           5.6 ประเมินผลจากการทำกิจกรรมตามใบงานที่  2
           5.7 ประเมินจากการทำแบบทดสอบหลังเรียน

สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้
       สื่อการเรียนรู้
           1. ตัวอย่างอาหารที่ให้โปรตีน
           2. ใบงานที่  1
           3. ใบงานที่  2
           4. อุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้ในการทดลองตามใบงานที่  1
           5. แบบบันทึกผลการทดลองตามใบงานที่ 1
           6. แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
           7. แบบประเมินการนำเสนอผลงาน
           8. ใบความรู้ที่ 1
           9. ใบความรู้ที่ 2
          10. ชุดฝึกที่  1
          11. ชุดฝึกที่ 2
          12. แบบทดสอบก่อนเรียน
           13. แบบทดสอบหลังเรียน
        แหล่งเรียนรู้
            1. ห้องสมุดกลุ่มสาะรการเรียนรู้
            2. ห้องสมุดโรงเรียน
            3. มุมวิชาการ  และป้ายนิเทศ
            4. วารสารเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
            5. บทเรียนโปรแกรม  เรื่อง  สารอาหารประเภทโปรตีน  ที่จัดทำโดย  นางพิศมัย   พานโฮม
            6 . อินเทอร์เน็ต

การวัดผลประเมินผล
       วิธีการวัดผลประเมินผล
            1. ประเมินผลการปฏิบัติงานตามใบงานที่  1
            2. ประเมินผลการปฏิบัติงานตามใบงานีท่  2
            3. ประเมินการทำชุดฝึกที่ 1
            4. ประเมินการทำชุดฝึกที่ 2
            5. ประเมินการทำแบบทดสอบหลังเรียน
            6. ประเมินการนำเสนอผลงาน
            7. ประเมินจากแบบบันทึกผลการทดลอง
      เครื่องมือวัดผลประเมินผล
            1. ใบงานที่  1
            2. ใบงานที่  2
            3. ชุดฝึกที่ 1
            4.ชุดฝึกที่  2
            5. แบบทดสอบหลังเรียน
            6. แบบบันทึกการนำเสนอผลงาน
            7. แบบรายงานผลการทดลอง
    เกณฑ์การประเมิน
            1. ผู้เรียนทำใบงานที่ 1 ได้ถูกต้องร้อยละ  80 ถือว่าผ่านเกณฑ์
            2. ผู้เรียนทำใบงานที่ 2 ได้ถูกต้องร้อยละ  80 ถือว่าผ่านเกณฑ์
            3. ผู้เรียนทำชุดฝึกที่ 1 ได้ถูกต้องร้อยละ  80 ถือว่าผ่านเกณฑ์
            4. ผู้เรียนทำชุดฝึกที่ 2 ได้ถูกต้องร้อยละ  80 ถือว่าผ่านเกณฑ์
            5. ผู้เรียนนำเสนอผลงานได้ถูกต้องร้อยละ  80 ถือว่าผ่านเกณฑ์
            6. ผู้เรียนรายงานผลการทดลองได้ถูกต้องร้อยละ  80  ถือว่าผ่านเกณฑ์
           7. ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนได้ถูกต้องร้อยละ  80  ถือว่าผ่านเกณฑ์



ความเห็น (2)
นายเขื่อนเพชร สุรำไพ

เนื้อหาดีมากเลยคับ

น่าสนใจมากครับ

นายเขื่อนเพชร สุรำไพ เลขที่ 3 ห้อง 6/11

น่าสนใจมากเลยคะ

นางสาวธารินี อนุเวช เลขที่ 20 ห้อง 6/11

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท