ข้าวเมืองน่าน


รู้หรือไม่ว่าข้าวที่กินอยู่ทุกมื้อ....ก็มีชื่อนะ
ข้าวเมืองน่าน ...                หลายคนเคยรู้ไหมว่าข้าวที่ท่านปั้นเป็นก้อนและจิ้มกินกับน้ำพริก ผักลวกเป็นข้าวพันธุ์อะไร                เมื่อวานได้มีโอกาสฟังคุณสำรวย ผัดผลประธานมูลนิธิฮักเมืองน่านและประธานศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้เล่าเกี่ยวกับข้าวในจังหวัดน่านว่า นอกเหนือจากพันธุ์ กข 6 กข 10 สันป่าตอง 1 ที่นิยมปลูกกันแล้ว ยังมี อีก 3 พันธุ์ที่เกษตรกรในเครือข่ายฮักเมืองน่านทำการปรับปรุง พัฒนาพันธุ์ที่อาจกล่าวได้ว่า เป็น 3 พันธุ์ที่ได้รับความนิยมในหลายพื้นที่ทั้งจังหวัดน่านเองและเครือข่ายต่างจังหวัด ได้แก่ พันธุ์เหนียวหวัน 1 พันธุ์หอมสกล และพันธุ์เหนียวมะลิหอม ทั้ง 3 พันธุ์ต่างมีต้นกำเนิดแตกต่างกัน                 พันธุ์เหนียวหวัน 1 มากจากความพยายามของพี่หวัน เรืองตื้อ เกษตรกรนักปรับปรุงพันธุ์ข้าว บ้านหาดเค็ด ตำบลเมืองจัง กิ่ง อ.ภูเพียง จังหวัดน่าน โดยพี่หวันนำพันธุ์ข้าง 2 พันธุ์มาผสมกัน โดยใช้วิธีการผสมพันธุ์ข้าว คือ พันธุ์หอมทุ่ง และพันธุ์กข 6 และทำการคัดเลือกถึง 8 ฤดูปลูกจึงได้พันธุ์ข้าวเหนียวหวัน 1 ที่ตรงตามความต้องการของพี่หวันและครอบครัว พันธุ์เหนียวหวัน 1 มีจุดเด่นคือ ลำต้นแข็งแรง แตกกอสูง เมล็ดต่อรวงสูง ลักษณะเมล็ดไม่เรียวมาก หอม หุงกินอร่อย หลังจากกระจายพันธุ์นี้มาเป็นระยะเวลากว่า 3 ปี ได้รับความนิยมอย่างมาก                พันธุ์หอมสกล เป็นพันธุ์ข้าวที่กลุ่มเกษตรกรโรงเรียนชาวนาบ้านทุ่งฆ้อง ตำบลยม อำเภอท่าวังผา นำมาคัดเลือกพันธุ์ จนกระทั้งปรับเข้ากับสภาพพื้นที่ ได้รับความนิยมในพื้นที่ที่ปลูกพืชหลังนา เพราะพันธุ์นี้เป็นข้าวอายุสั้น หากนำไปปลูกต้องระวังนก เพราะถ้าปลูกในจำนวนไม่มากนกจะกินเสียหายเพราะข้าวพันธุ์นี้มีความหอมมาก นอกจากนั้นเมล็ดยังเรียวสวยกินนุ่มอร่อย                และพันธุ์เหนียวมะลิหอม เริ่มได้รับความนิยมหลังจากที่แกนนำเกษตรกรฮักเมืองน่านบ้านม่วงตึ้ดนำมาแลกเปลี่ยนในเครือข่าย จากการสืบประวัติพบว่า พันธุ์นี้ได้รับการปรับปรุงและคุดเลือกพันธุ์โดยอาจารย์มงคล พุทธวงค์ ราชมงคลล้านนาน่าน ซึ่งท่านอาจารย์เองเป็นคนม่วงตึ้ดและนำไปให้ครอบครัวและญาติปลูกจนได้รับความนิยม ทางเครือข่ายได้นำมาขยายผลต่อเนื่อง คุณลักษณะเด่นของข้าวพันธุ์นี้เกือบคล้ายคลึงกับหอมมะลิซึ่งเป็นข้าวจ้าว ต่างกันตรงที่เป็นข้าวเหนียว                      เพื่อเห็นถึงลักษณะเด่นเชิงปริมาณของพันธุ์ข้าวทั้ง 3 พันธุ์ ผู้เขียนจึงทำออกมาเป็นรูปแบบของตาราง ต่อไปนี้
พันธุ์ ความสูง(ซม.) จำนวนหน่อ/ก่อ จำนวนเมล็ดต่อรวง ผลผลิตต่อไร่ อายุการเก็บเกี่ยว (วัน)
เหนียวหวัน 1 163 9-10 250 670-700 145-150
หอมสกล 146 7 160-200 550-660 126
เหนียวมะลิหอม 160  7-8 180-200 664 135-140
                  ถ้าผู้อ่านสนใจข้อมูลเพิ่มเติมหรืออยากร่วมเรียนรู้สามารถติดต่อได้โดยตรงที่ศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้ 253 หมู่ 8 ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน 55000 โทร.054-783262
หมายเลขบันทึก: 157448เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2008 16:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สวัสดีครับใหม่ครับ ความรู้เมื่อได้เขียนและขยายไปเป็นผลดี ที่เผื่อแผ่พวกเขา ขอขอบใจ

สวัสดีครับผมสนใจอยากได้พันธุ์ข้าวเหนียวหวันไปปลูกไม่รู้ว่าที่ไหนมีขายบ้างและติดต่อได้ที่ไหหนครับ

เด็กน้อยไร้เดียงสา

หวัดดีค่ะพี่ น้อง อยากรู้ พันธุ์ข้าวเหนียวหวัน 1 ช่วยบอกได้ไหมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท