การประกันคุณภาพ


ก้าวทันเรื่อง.......การประกันคุณภาพ
ก้าวทัน เรื่องประกันคุณภาพการศึกษา
สถานศึกษา จะต้องทำอย่างไร ? เมื่อจะรับการประเมินภายนอก
เพื่อสร้างความพร้อมและความเข้าใจที่ตรงกันให้กับ สภาบันการอาชีวะศึกษา และสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่อยู่ในระหว่างการดำเนิน งานการเข้ารับการประเมินภายนอกจาก สมศ. ฉบับนี้ขอ นำลง ก้าวทันเรื่องประกันคุณภาพการศึกษา สถานศึกษา จะต้องทำอย่างไร ? เมื่อจะรับการประเมินภายนอกโดย สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ( สมศ. ) ได้นำเสนอสาระสำคัญของรูปแบบการจัดทำราย งานการประเมินตนเอง ขั้นตอนการขอรับประเมินภายนอก
จก สมศ. และขั้นตอนการดำเนินการประเมินภายนอกเพื่อ ตรียมความพร้อมให้สถานศึกษาก่อนเข้ารับการประเมิน ภายนอกได้พิจารณา
รายงานการประเมินตนเองจะต้องมีสาระครอบคลุม ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษาแผนงานประจำปี
ผลสัมฤทธิ์ เพียงแค่สถานศึกษาได้จัดทำรายงานการประเมิน การดำเนินงานด้านต่าง ๆ ตามแผนงานโครงการ และ ตนเอง ซึ่งต้องจัดทำอยู่แล้วในการประกันคุณภาพภายใน กิจกรรม ที่ได้ดำเนินงานตลอดปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง ของสถานศึกษา สามารถใช้รายงานประเมินตนเองที่มี
มาตรฐานการศึกษาด้านต่าง ๆ ทั้งนี้สถานศึกษาไม่จำเป็น อยู่นั้นส่งให้กับ สมศ. เพื่อขอรับการประเมินภายนอกใน ต้องจัดทำหรือเขียนใหม่ สามารถใช้รายงานการประเมิน รอบแรกได้ทันที โดยให้จัดส่งหนังสือนำขอรับการประเมิน ตนเองที่มีอยู่ในรูปแบบใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นแบบที่ใช้แผน คุณภาพภายนอกพร้อมรายงานการประเมินตนเอง งานและผลงานที่ดำเนินการเป็นตัวตั้ง หรือเอามาตรฐาน ผ่านสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สมศ.) และ มาเป็นตัวตั้งอย่างที่หลายสถานศึกษาปฏิบัติก็ได้ ซึ่งจะไม่ ในขณะเดียวกันให้สำเนาหนังสือดังกล่าว พร้อมรายงาน เป็นภาระแก่สถานศึกษาแต่อย่างใด แต่ในการประเมินรอบ การประเมินตนเองส่ง สมศ. ด้วยอีกทางหนึ่ง ต่อไปจะมีรูปแบบรายงานการประเมินตนเองที่เป็นรูปแบบ เดียวกันที่จะนำไปใช้ได้กับการตรวจเยี่ยมสถานศึกษาจาก ทุกหน่วยงาน

เมื่อสถานศึกษาส่งรายงานการประเมินตนเอง มายัง สมศ. แล้ว เจ้าหน้าที่จะบันทึกข้อมูลพื้นฐานของ สถานศึกษาเข้าระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อจะใช้ในการจัดสรร สถานศึกษาและเมื่อได้ข้อมูลแล้วจะวิเคราะห์จำนวนสถาน ศึกษาทั้งหมด แยกตามพื้นที่และขนาดของสถานศึกษา แล้วจึงแจ้งข้อมูลแก่หน่วยงานประเมินภายนอกให้จัดทำ แผนการประเมินว่าสามารถจะไปประเมินสถานศึกษา ขนาดใด จำนวนเท่าใด ในพื้นที่ใดบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ จำนวนของผู้ประเมินภายนอกของแต่ละหน่วยประเมินด้วย เมื่อหน่วยประเมินได้เสนอแผนมาแล้ว สมศ. ก็จะนำแผนนั้น ๆ มาบันทึกข้อมูลเข้าระบบคอมพิวเตอร์ จากนั้นจึงจะจัดสรรสถานศึกษาแก่หน่วยประเมิน ภายนอก โดยการสุ่มเลือกสถานศึกษา ซึ่งหน่วยประเมิน ภายนอกจะไม่มีสิทธิเลือก หรือระบุสถานศึกษาที่จะไป ประเมิน ทั้งนี้ ในการจัดสรรสถานศึกษานั้นจะทำ 2 ครั้งใหญ่ ๆ ก่อนการเปิดภาคเรียน คือในเดือนเมษายน และเดือนตุลาคม รอบต่อไป สมศ. จะจัดสรรสถานศึกษา ในเดือนเมษายน 2547

เมื่อจัดสรรสถานศึกษาแก่หน่วยประเมินภายนอกแล้ว เพื่อความสะดวกกันทั้ง 2 ฝ่าย หน่วยประเมินจะนัดวันไป ประเมินทางโทรศัพท์ก่อน จากนั้นหน่วยประเมินจะส่ง จดหมายแจ้งกำหนดวันและชื่อผู้ประเมินให้ทราบล่วงหน้า ประมาณ 14 วัน หลังจากนั้น สมศ. จะแจ้งกำหนดวัน และชื่อผู้ประเมินให้ ทราบพร้อมแนบคำชี้แจงสำหรับสถาน ศึกษาในการประเมินภายนอก เพื่อให้ทราบแนวปฏิบัติในการรับการประเมินและแบบรายงานการปฏิบัติงานของผู้ประเมินภายนอก โดยสถานศึกษา เพื่อประเมินการปฏิบัติงานของผู้ประเมิน

สถานศึกษาไม่ต้องเตรียมการอะไรเป็นพิเศษทั้งเรื่องสถานที่ เอกสารและการเลี้ยงดูผู้ประเมินสิ่งที่สถานศึกษาควรจะเตรียมการไว้ก็คือ การนัดหมายคณะครู ผู้บริหาร ผู้แทนกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน ภาคเอกชนหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษามาเข้าร่วมฟังการชี้แจงวัตถุประสงค์ และรายละเอียดของการไปประเมินในวันแรกร่วมให้ข้อมูลในวันสุดท้ายของการประเมิน มีการ

รับฟังการรายงานผลการประเมินด้วยวาจา ให้ครูและผู้บริหารได้ทำความเข้าใจตรงกัน
เท่านี้ก็เพียงพอแล้วสามารถทำหน้าที่อื่น ๆ ได้ตามปกติ เพื่อจะได้เห็นสภาพจริงดังที่เป็นอยู่
ซึ่งจะทำให้โรงเรียนได้รับทราบข้อมูลจริง และได้รับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์

ก่อนอื่นเลย เมื่อผู้ประเมินไปถึงสถานศึกษาขอให้สถานศึกษาตรวจสอบผู้ประเมินว่า เป็นบุคคลเดียวกันกับที่ สมศ. ได้แจ้งรายชื่อไว้หรือไม่ รวมทั้งจำนวนผู้ประเมินด้วย ซึ่งกระทำได้โดยการขอดูบัตรประจำตัวผู้ประเมินภายนอกที่ออกให้โดย สมศ. ในวันแรกของการประเมิน เมื่อผู้ประเมินไปถึงสถานศึกษาจะสังเกตการณ์ บรรยากาศต่าง ๆ ภายในและรอบ ๆ สถานศึกษา เมื่อเสร็จสินจากกระบวนการหน้าเสาธงในตอนเข้าแล้ว ก็จะมีการประชุมร่วมกับผู้บริหาร คณะครู และบุคคลอื่น ๆ ตามที่สถานศึกษาได้เชิญมา การประชุมในวันแรกนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำ ชี้แจง และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินภายนอกของ สมศ. จะใช้เวลาไม่นาน จากนั้นผู้ประเมินจะแยกย้ายกันไปเก็บข้อมูล โดยการสังเกตการณ์ และ
การไปตรวจเยี่ยมในชั้นเรียน ห้องสมุด และสถานที่อื่น ๆ การสัมภาษณ์กลุ่มบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การตรวจสอบเอกสารที่ใช้ในการทำงานจริงไม่ใช่เอกสารที่ จัดทำขึ้นใหม่เช่น แผนการสอน บันทึกผลการสอน ผลงานนักเรียนโครงการ/โครงงานต่าง ๆ เป็นต้น การเก็บข้อมูลนี้ นอกจากจะตรวจเยี่ยมในสถานศึกษาแล้ว ยังรวมถึงการไปสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์บุคคลอื่น ๆ ในชุมชนบริเวณรอบสถานศึกษาด้วย ผู้ประเมินจะใช่เวลาในการตรวจเยี่ยมสถานศึกษาเป็นเวลา 3 วัน ทุก ๆ วัน เมื่อเสร็จจากการตรวจเยี่ยมสถานศึกษาแล้ว ผู้ประเมินจะประชุมสรุปข้อมูลที่ได้ในวันนั้น แล้วจัดทำบันทึกการตรวจเยี่ยม จากนั้นในช่วงบ่ายของวันสุดท้ายของการประเมินเมื่อ ผู้ประเมินได้สรุปผลการประเมินเสร็จสิ้นเรียบร้อยร้อยแล้วจะต้องเสนอรายงานผลการประเมิน ภายนอกด้วยวาจาให้แก่คณะครู ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ทักท้วง และให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ ผู้ประเมินจะต้องให้ ข้อมูลเสนอแนะต่อสถานศึกษาที่จะนำ ไปปรับปรุง พัฒนา โรงเรียนต่อไปได้

สิ่งที่สถานศึกษาจะต้องทำหลังจากที่ได้รับการประเมินแล้ว คือ
1.ประเมินผู้ประเมินภายนอก
โดยสถานศึกษาตอบแบบรายงานการปฏิบัติงาน ของผู้ประเมินภายนอกแล้วส่งกลับ สมศ. โดยตรง ซึ่งข้อมูลที่สถานศึกษาส่งไปนั้นจะเป็นความลับ ดังนั้นสถานศึกษาสามารถประเมินผู้ประเมินภายนอกได้อย่างตรงไปตรงมา

2.ติดตาม รายงานผลการประเมินที่จัดทำเป็นรูปเล่ม
ซึ่งผู้ประเมินภายนอกจะต้องเขียนรายงานแล้วส่งสถานศึกษาภายใน 2สัปดาห์ ลังการประเมิน ทั้งนี้สถานศึกษาต้องตรวจสอบโดยละเอียดว่าข้อมูลทั้งหมด ในรายงานตรงกับรายงานผลการประเมินด้วยวาจาหรือไม่ มีข้อมูลที่คลาดเคลื่อนไม่ถูกต้องหรือไม่ หากมีข้อทักท้วงใดๆสามารถแจ้งคณะผู้ประเมินภายนอกได้

3.เมื่อสถานศึกษาเห็นพ้องและยอมรับรายงานผลการประเมินที่จัดทำเป็นรูปเล่มแล้วนั้นต้อง ทำหนังสือยืนยันการรับรองรายงานฉบับดังกล่าว แจ้งแก่หน่วยประเมินภายนอก จากนั้นคณะผู้ประเมินจะส่ง รายงานดังกล่าวมายัง สมศ.เพื่อให้ สมศ. รับรองรายงาน เมื่อ สมศ.รับรองรายงาน แล้วจะส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ที่ได้รับการรับรอง แล้วให้กับสถานศึกษา และหน่อยงานต้นสังกัดต่อไป

4.กรณีทีสถานทีศึกษาไม่รับรองรายงานของผู้ประเมินจะสามารถทักท้วงได้ โดยทำหนังสือแจ้งหน่วยประเมินภายนอก พร้อมระบุเหตุผล หลักฐานประกอบการพิจารณา หากหน่วยประเมินภายนอกพิจารณาแล้ว มีความเห็นสอดคล้องตามหลักฐานที่ได้จากการประเมินจะปรับแก้รายงานและแจ้งแก่สถานศึกษา เพื่อยืนยันรับรองรายงานอีกครั้ง แต่หากมีข้อทักท้วงกันจนไม่สามารถสรุปได้ จะส่งรายงานและหลักฐานประกอบทั้ง 2 ฝ่าย มายัง สมศ. ซึ่ง สมศ. จะมีคณะกรรมการพิจารณาข้อทักท้วงดังกล่าว เพื่อหาข้อสรุปจากหลักฐาน และ/หรือการติดตามไปยังสถานศึกษานั้น ๆ เพื่อให้รายงานฉบับนั้นสมบูรณ์ และให้การรับรองรายงานดังกล่าวต่อไป

5.ระหว่างที่ สมศ. ยังไม่ได้ส่งรายงานแก่สถานศึกษา สถานศึกษาสามารถจะนำ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากในรายงานของผู้ประเมินไปใช่ได้ทันที โดยใช่เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผน กำหนดกลยุทธ์ที่จะปรับปรุงพัฒนาสถานศึกษาต่อไป

6.เมื่อสถานศึกษาได้รับรายงานฉบับที่ได้รับการรับรองจาก สมศ. แล้ว ควรจะประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลการประเมินดังกล่าวแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง และสาธารณชนให้รับทราบโดยควรเผยแพร่ผลการประเมินทุกด้าน ทั้งนี้ ขอความร่วมมือสถานศึกษา ห้ามขึ้นป้ายโฆษณาว่า ผ่านการประเมินหรือได้รับการประเมินจาก สมศ. แล้ว

สถานศึกษาไม่ต้องเสียค่าใช่จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้นไม่ว่าจะให้ สมศ. หน่วยประเมินภายนอก (นิติบุคคล)ผู้ประเมินภายนอก หรือบุคคล หรือองค์กรอื่น เพราะงบประมาณเพื่อการประเมินภายนอก
เป็นงบประมาณที่รัฐเป็นผู้จัดให้ตามที่กฎหมายกำหนด

หากมีใครหรือองค์กรใดแบอ้างเรียกเก็บค่าใช่จ่ายหรือเรียกร้องเงิน หรือค่าตอบแทนอื่นสถานศึกษาต้องไม่จ่ายให้กับบุคคลเหล่านั้น เพราะกรณีเช่นนี้ในกลุ่มของผู้ประเมินภายนอก และหน่วยประเมินภายนอก ถือว่าทำผิดจรรยาบรรณ
ต้องถูกยึดใบอนุญาตและหมดสิทธิเป็นผู้ประเมินภายนอก

เรื่องอาหารว่าง อาหารกลางวันนั้น สถานศึกษาไม่ต้องจัดเลี้ยงแก่ผู้ประเมินภายนอก เพราะถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งผู้ประเมินก็ได้รับค่าตอบแทนจากหน่วยประเมินแล้ว อีกทั้งยังเป็นธรรมเนียมปฏิบัติว่าผู้ประเมินภายนอก จะไม่รบกวนสถานศึกษาในเรื่องนี้ยกเว้นเหตุสุดวัย หรือมีความจำเป็นจริง ๆ เช่น สถานศึกษาในพื้นที่ห่างไกล ที่ไม่มีร้านค้า/ร้านอาหาร เป็นต้น แต่ถ้าสถานศึกษาจัดอาหารให้แก่ผู้ประเมิน ผู้ประเมินภายนอกก็จะต้องจ่ายค่าอาหารให้กับทางสถานศึกษาด้วยเช่นกัน ทั้งนี้สถานศึกษาไม่ควรอย่างยิ่งที่จะจัดเลี้ยงใหญ่โต หรูหรา ฟุ่มเฟือยหรือจัดหาของที่ระลึกราคาแพง หากจะเตรียมให้ ควรเป้นของในสถานศึกษา หรือของที่จัดทำขึ้นเอง เช่น ผลงานนักเรียน ผลงานจากโครงการ หรือกิจกรรมสถานศึกษาเป็นต้น แต่ทางที่ดีที่สุด ไม่ต้องมีเลยจะเหมาะสมกว่า
 
 
หมายเลขบันทึก: 157380เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2008 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท