สิ่งที่นิสิตต้องการเมื่อ มอ ออกนอกระบบ


             สองสามวันมานี้ ตามอ่านบันทึกเกี่ยวกับ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มากมาย แต่เห็นว่ายังมีนิสิต อีกจำนวนไม่น้อยที่ขาดความสนใจในข้อมูลตรงนี้ หรือได้ข้อมูลเพียงบางส่วนแบบขาดๆ หายๆ ซึ่งตรงนี้ตัวเองก็รวมอยู่ด้วย

              ในประเด็นนี้ ไม่ได้อยู่ที่ว่าอยากให้ มอ ออกนอกระบบหรือไม่

มันอยู่ที่ว่า ออกแล้วนิสิตจะได้ประโยชน์ทางความรู้และประสบการณ์วิชาชีพมากกว่าเดิมแค่ไหน และอย่างไร

โดยส่วนตัวแล้วสิ่งที่อยากเห็น เมื่อ มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐคือ

          นิสิตระดับปริญญาตรี

                - นิสิตได้เรียนในหลักสูตรที่มีคุณภาพ และตรงกับที่ตลาดแรงงานทางวิชาชีพต้องการ หมายถึง

                          มีการติดตามหลักสูตรแบบต่อเนื่องทุกภาคเรียน ว่า

*รายวิชาที่นิสิตได้ลงทะเบียนเรียนนั้น เป็นอย่างไรบ้าง

*มีการบรรจุเนื้อหายากง่ายหรือเข้มข้นเพียงใด หรือต้องการเนื้อหาอะไรเพิ่มบ้าง หรือต้องการเรียนวิชาอะไรเพิ่มไหม

*วิชาที่จัดในแต่ละภาคเรียนแน่นเกิดไปหรือไม่ สอดคล้องกันหรือเปล่า หรืออะไรทำนองนี้ 

ซึ่งควรจะมีการจัดเป็นโครงการฟังความคิดเห็นแบบ Face 2 Face กับรองคณบดีฝ่ายวิชาการ และภาควิชาที่ดูแล และอาจารย์ที่ปรึกษา แบบจัดเป็นช่วงเวลาในแผนประจำปีของแต่ละคณะไปเลย ทุกคณะจะต้องทำในช่วงเดือนนี้นะ แล้วนำความคิดเห็นของนิสิตไปทบทวนหรืออะไรที่เข้าใจไม่ตรงกันก็ชี้แจงกันไปเลย

               - นิสิตได้รับการฝึกทางด้านวิชาชีพอย่างเป็นกระบวนการและมีระบบดำเนินการตั้งแต่เข้าเรียนปีที่ 1 จนถึงปีที่ 4  หมายถึง

                       * แต่ละคณะมีการวางกลยุทธ์ยกระดับวิชาชีพให้กับนิสิตโดยกำหนดเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพของนิสิตในคณะหรือสาขาวิชาที่เปิดสอน และนำมาออกแบบกิจกรรมนิสิต ที่เป็นในเชิงวิชาการอย่างหลากหลาย เพื่อให้มีประสบการณ์เตรียมพร้อมสู่วิชาชีพ

                    * ให้ความสำคัญต่อการปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้กับนิสิตในคณะหรือภาควิชา ซึ่งรวมถึงบุคลิกภาพของนิสิตในขณะที่อยู่ในรั้วมหาลัย และอยู่ข้างนอกมหาวิทยาลัยด้วย พูดง่ายคือ ปฏิบัติตัวให้เป็นปัญญาชนที่แท้จริง

                     *สร้างเสริม กิจกรรมนิสิตในมหาวิทยาลัยให้เปินกิจกรรมที่สร้างสรรค์ มากกว่าตีกลองร้องเพลงเต้นสนุกอย่างเดียว โดยมุ่งเน้นทำประโยชน์ให้กับสังคมตั้งแต่เข้ารั้วมหาวิทยาลัยเลย เพื่อเน้นย้ำสำนึกว่า พวกเขาที่มีโอกาสศึกษาในมหาวิทยาลัยมีโอกาสที่จะสร้างคุณงามความดีมากกว่าผู้อื่นด้วยวิชาความรู้ที่มี ซึ่งเป็นบทบาทและหน้าที่ของเขาเลย และกิจกรรมแบบนี้ต้องมีทุกปีการศึกษา

                    - การให้นิสิตได้มีส่วนร่วมกับคณะ กับมหาวิทยาลัยทุกครั้งที่มหาวิทยาลัยดำเนินงานต่างๆ ทางวิชาการ เรียนได้ว่า งานกิจการนิสิตกับงานวิชาการต้องประสานงาน รักกันอย่างเหนียวแน่น และวางแผนร่วมกันตลอด เช่น

                            * การจัดประชุมทางวิชาการทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ ของมหาวิทยาลัยและของคณะต่างๆ แบ่งความรับผิดชอบทางวิชาการให้กับนิสิตบ้างเพื่อให้นิสิตได้มีประสบการณ์ได้เรียนรู้ได้สัมผัสบรรยากาศ ใครเก่งก็เอามาโชว์ความสามารถกันเลย เช่น ใครพูดภาษาอังกฤษได้ดี ก็นำมาฝึกเป็นพิธีกร หรือเป็นผู้อำนวยความสะดวกติดตามวิทยากรต่างชาติเลย ได้ฝึกบุคลิกภาพไปด้วย ตรงนี้เห็นว่ามีหลายคณะดำเนินการอยู่เช่น ที่คณะศึกษาศาสตร์ หรืองานนเรศวรวิจัย เป็นต้น

                  - นิสิตอยากพบผู้บริหารคณะเพื่อรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของนิสิตในด้านวิชาการ ด้านกิจกรรม และทุนการศึกษา ปีการศึกษาละครั้ง ไม่ใช่การผ่านอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างเดียว คืออาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้เก็บประเด็นของนิสิตเพื่อเสนอคณะผู้บริหาร เพื่อให้มั่นใจว่าทุกความคิดเห็นของนิสิตได้รับการฟังและชี้แจงจริงๆ

                    - นิสิตอยากเห็นความคุ้มค่าของค่าลงทะเบียนแบบเหมาจ่าย ว่าเป็นค่าอะไรบ้างเอาแบบเหมาๆ ก็ได้ ไม่ใช่ใบเสร็จแบบว่า ค่าเล่าเรียน 10,000 บาท แล้วก็ยังต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์การเรียนที่คณะจัดให้แบบขาดๆ เกินๆ ดูงานหรืออบรมพิเศษของคณะก็ต้องจ่ายเพิ่มแบบถูกบังคับ ตรงนี้น้องๆ นิสิตเค้าถามกันมา ไม่ได้กล่าวขึ้นลอยๆ เพราะรุ่นพี่ปีก่อนเสียค่าเทอมแบบไม่เหมา 6 พัน 7 พันแถมรู้อีกว่าเป็นค่าอะไรเท่าไหร่ อุปกรณ์ไม่พอ ดูงานเสียตังส์เองก็ยอม แต่ 1 หมื่นแบบเหมานี่ไม่รู้อะไรเลยแถมเสียตังส์ค่าอย่างอื่นเยอะกว่าอีก

                    ประเด็นต่างๆ ที่กล่าวมา อาจมีผู้ใหญ่หลายท่านไม่เห็นด้วยและเห็นด้วย แต่อยากให้กลับไปมองและสังเกตพฤติกรรมองค์กรถึงสิ่งที่ปฏิบัติและติดตามกันจริงๆ จะพบว่า เราไม่ได้มีระบบหรือนโยบายที่ชัดเจนในส่วนของนโยบายกลางของมหาวิทยาลัยอย่างจริงจังนัก ที่ปฏิบัติกันอยู่คือ ใครได้อาจารย์ดี คณะดี ผู้บริหารดีแบ่งเวลาติดตาม ห่วงใยนิสิตจริงๆ ก็โชคดีไป ใครไม่โชคดีก็อดน้อยใจไม่ได้  

                   ยังไงก็อยากให้การปฏิบัติการทุกอย่างของมหาวิทยาลัยคำนึงถึง หน้าที่หลักและคนสำคัญที่สุด คือ นิสิต โดยเฉพาะนิสิตปริญญาตรี เพราะชื่อเสียงแล้วความเป็นเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยแท้จริงแล้วอยู่ที่นิสิต ป.ตรี ที่มีความรู้สึกเป็นเจ้าของมากกว่า ซึ่งคิดว่าถ้าไม่มีนิสิตแล้ว มหาวิทยาลัยจะเรียกว่า มหาวิทยาลัยได้อย่างไร

                     นี่เป็นเพียงความคิดเห็นหนึ่งเท่านั้น หากจะเป็นไปได้หรือไม่อย่างไร ขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่จะเมตตาพิจารณา เนื้อความที่เขียนไม่ได้มีเจตนากล่าวว่าผู้ใด และแม้ว่าทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยจะเป็นอย่างไร นิสิตก็ยังคงภาคภูมิใจและรักเกียรติศักดิ์ศรีของมหาวิทยาลัยยิ่งชีวิต โดยถือคุณธรรมและความกล้าหาญ ของกษัตริย์อันมีพระนามอันเป็นชื่อมหาวิทยาลัย

 

             

หมายเลขบันทึก: 156688เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2007 23:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • ถ้ามหาวิทยาลัยคำนึงถึงนิสิตเป็นหลัก
  • คงไม่น่าห่วง
  • ถ้าไม่ทำเป็นแบบเชิงพาณิชย์
  • ที่ ม เทคโนโลยีสุนารี เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐตั้งแต่ต้น
  • ไม่มีปัญหา
  • ปัญหามีอยู่ว่า ผู้บริหารวางระบบดีหรือไม่
  • เน้นการบริการนิสิตหรือไม่ครับ
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะน้อง

  • พี่แวะมาหยิบยื่นกำลังใจให้ค่ะ
  • และก้อ...แวะมาสวัสดีปีใหม่น้องด้วยคะ  ขอให้มีความสุขกับการทำงาน  มีสุขภาพกายและใจที่เข้มแข็งเพื่อจะได้ทำหน้าที่...ที่ได้รับมอบหมายสำเร็จสมประสงค์ทุกประการนะคะน้อง
  • ขอบคุณค่ะ อ.ขจิต P 

               เห็นด้วยกับอาจารย์ค่ะ ระบบ เป็นเรื่องสำคัญ ถ้ามีการวางระบบทุกอย่างไว้ดีแล้ว รอบคอบแล้ว และทุกฝ่ายยอมรับและพร้อมปฏิบัติแบบเต็มใจก็คงดี แต่ตอนนี้มันคงขาดระบบดีๆ มังคะ เลยเป็นแบบนี้

  • ขอบคุณ P   Lioness_ann       ค่ะ
  • ที่ให้กำลังใจและติดตามเสมอ
  • ขอสวัสดีปีใหม่ด้วยนะคะ ขอให้สุขภาพกาย สุขภาพใจสดใสแข็งแรงตลอดไปค่ะ

สวัสดีครับ น้อง เด็กอยากรู้

  • ยินดีครับที่มีเสียง "ผู้เรียน" ตะโกนเรื่องนี้ออกมา ครับ
  • มน.มีคนเขียนบันทึกมากมาย .. โดยเฉพาะเรื่องของการออกนอกระบบ เช่น P พ.ร.บ. มน.ในกำกับรัฐ » ท่านทราบหรือไม่! หาก มน. ไม่ออกนอกระบบ อนาคตจะเป็นเช่นไร??
  • มน.มีคนหลายขั้ว หลายความคิดเห็นในเรื่องนี้ ... พูดกลายคล้าย ๆ การเมืองสองขั้วในปัจจุบันครับ
  • คนที่มีสิทธิ์ส่วนหนึ่งมากที่สุด คือ นิสิต หรือ ผู้เรียน ครับ .. นิสิตต้องตะโกนให้ผู้บริหารรับทราบถึงเหตุผล สิ่งที่ดี และสิ่งที่ไม่ดีที่จะเกิดขึ้นด้วยครับ
  • สิ่งใดดีสำหรับเยาวชนของประเทศ สิ่งนั้นควรทำ ครับ

ขอบคุณนะครับ ... สวัสดีปีใหม่ครับ :)

สวัสดีปีใหม่ครับ

สุข สดชื่น สดใส สบายกาย สบายใจ ตลอดปีใหม่นี้นะครับ

สวัสดีปีใหม่ ..ครับ

สวัสดีปีใหม่... นะครับ

ขอบคุณคืนและวันอันก่อนเก่า
ขอบคุณความทุกข์เศร้าอันร้าวฉาน
ขอบคุณความสุขอันชื่นบาน
ซึ่งเวียนผ่านมาทักประจักษ์ใจ

   

ขอบคุณที่สอนให้ชีวิต,  ได้คิดฝัน
วันนี้มาจากวันนั้นที่ฝันใฝ่
อดีต  ปัจจุบัน และพรุ่งนี้ที่แสนไกล
ต่างเกี่ยวโยงเป็นสายใยไม่ร้างลา

   

ก่อนพรุ่งนี้มาเยือนเป็นเพื่อนใหม่
อย่าลืมชวนดวงใจไปใฝ่หา
หวนรำลึกคืนและวันผ่านผันมา
กี่หยดหยาดธารน้ำตา,  ให้กล้ายืน
แหละกี่ยิ้ม, แย้มงามตามวิถี
ซึ่งมากมีให้ใจได้ไหวชื่น
กี่ผู้คน, เคียงฝันทุกวันคืน
กี่มิ่งมิตรที่รู้ตื่นยืนข้างเรา

 

ก่อนพรุ่งนี้มาเยือนเป็นเพื่อนรัก
อย่าลืมทัก วันนี้  ที่หม่นเศร้า
อย่าลืมวันนี้ที่สีเทา
พร้อมอย่าลืมความสุกสกาวแห่งปัจจุบัน

 

ขอพรุ่งนี้เป็นวันใหม่ดังใจคิด
เปี่ยมพลังแห่งชีวิตดังคิดฝัน
เปี่ยมความรักนานาสารพัน
เปี่ยมความฝัน,  การแบ่งปัน, นิรันดร์ไป

  • ขอบคุณสำหรับคำอวยพรปีใหม่นะคะ
  • สวัสดีปีใหม่เช่นกันค่ะ
  • ขอให้ blogger ทุกท่านมีสุขภาพกายสุขภาพใจที่สดใสแข็งแรงตลอดปีค่ะ

มันต้องแบบนี้สิครับว่าที่บัณฑิต ปัญญาชนคนรุ่นใหม่
ใส่ใจในกระแสความเปลี่ยนแปลง
หากเราไม่ติดตามและเรียนรู้ คงยากจะรับมือได้

ความคิดที่คุณ เด็กอยากรู้ เสนอมาเป็นเรื่องที่ดีครับ
ผมเองเห็นด้วยหลายๆส่วน

เป็นเรื่องดียิ่งที่จะเห็นความคิดห็นจากนิสิตบ้าง
อยากให้เสนอ แลกเปลี่ยน ร่วมกันนะครับ เพื่อสร้างสรรค์สิ่งดีๆให้กันและกัน

ประเด็นต่างๆ ที่กล่าวมา ผมคิดว่าผู้ใหญ่หลายๆท่านน่าจะเห็นด้วยนะครับ ไม่น่าเป็นห่วงว่าจะไม่เห็นด้วย

แต่การนำไปปฏิบัติจริงในแต่ละคณะสิครับ
จะทำกันได้มากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับคณะด้วยนะครับ

เป็นกำลังใจให้กับความคิดเห็นที่ดี มีเหตุผลครับ

อ้อ เกือบลืมไปครับ

สวัสดีปีใหม่ครับทุกท่าน

 

เด็กอยากรู้...เจ้าเป็นเสมือนเสียงสะท้อนความคิดความต้องการ...ที่เป็นจุดเริ่มต้นของพลังแห่งการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วม...ณ เป้าหมายที่ชัดเจนของทางเดิน...เครือข่ายการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น...แต่เจ้าก็ไม่ปิดมุมแห่งการเรียนรู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้...สิ่งนี้จะช่วยให้เจ้าเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพรักที่จะเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง...สิ่งที่อาจารย์คนหนึ่งในมหาวิทยาลัยต้องตระหนักและฝากต่อไปทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะให้โอกาสและพัฒนาศักยภาพของนิสิตอย่างเต็มศักยภาพได้อย่างไร...มุ่งเน้นความรับผิดชอบต่อผลกระทบจากการคิดและตัดสินใจกระทำ...มุ่งประโยชน์ต่อส่วนรวม

  • ขอบคุณ บัณฑิตสกุลหลี่ ค่ะ
  • สิ่งที่ เด็กอยากรู้นำเสนอข้างต้นนี้ เป็นเพียงความคิด และความฝันว่าอยากจะเห็นเท่านั้นค่ะ ถ้ามหาวิทยาลัยและคณะดำเนินการแบบมีธง (เป้าหมาย) ร่วมกันก็น่าจะดีมากๆ
  • ซึ่งผลจากตรงนี้คงจะทำให้นิสิตของมหาวิทยาลัยนี้ กล้าคิด กล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น และรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่นอย่างมีเหตุผล และเป็นเชิงวิชาการด้วย ซึ่งคิดว่าสุดท้ายมันจะกลายเป็นคุณลักษณะที่โดดเด่นของนิสิตมหาวิทยาลัยนี้ไปเลย
  • ขอบคุณ ครูอ้อย ค่ะ
  • คำว่า "เด็กอยากรู้" เป็นคำที่ต้องการสะท้อนให้ประสบการณ์ และการเรียนรู้ของนิสิตตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ซึ่งบางครั้งก็ไม่กล้าพูด หรือเถียงอะไร หรือแม้แต่ตอบคำถามบางคำถาม แต่อยากจะเขียนสะท้อนความคิดและมุมมองของเด็กหญิงตัวเล็กออกมาเป็นตัวหนังสือมากกว่า และสิ่งที่ผู้ใหญ่ได้อ่านและให้ข้อคิดเห็นทุกความคิดเห็นมีค่าที่สุดเพราะถือว่าเป็นคำสอนและความรู้ที่มาพร้อมกำลังใจให้เด็กหญิงตัวน้อยคนนี้ค่ะ
  • และสุดท้ายประสบการณ์และความรู้ทั้งหมดที่มีอยู่ได้รับจากรั้วเทาแสด แหล่งเรียนรู้ของพระนเรศแห่งเมืองสองแควนี่เอง

สวัสดีค่ะน้อง

  • พี่คิดถึงค่ะ...เลยแวะมาเยี่ยม
  • มาเยือนด้วยกำลังใจกองโตด้วยค่ะ
  • มีความสุข, สดชื่น มากๆ กับชีวิตนะคะน้อง  สู้ๆๆ ค่ะ
  • Valentine

ขอบคุณนะคะที่แวะมาเยี่ยม ได้อ่านบทความของหนูแล้วดีมากค่ะ ได้รู้ว่าวัยรุ่นเขาชอบอะไร จะนำไปสอนเด็กๆค่ะ วันหลังแวะมาเยี่ยมกันอีกนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท