การเคลื่อนที่ของสิ่งมีจิตใจ


กฎการเคลื่อนที่
ของนิวตัน และไอสไตน์
น่าจะใช้กับวัตถุที่มีไม่ชีวิต
รถวิ่ง ดาวเทียมโคจรรอบโลก ไอสไตน์ขี่แสงข้ามขอบจักรวาล

กรณีคนวิ่ง ลิงโหนต้นไม้ ไก่บิน ไม่น่าจะใช้ได้

ด้วยเหตุนี้ ในฐานะที่เป็นนักวิจัยฝึกหัด
จึงขอเสนอสมการ [แต่น แตน แต้น ...]
movement of creature = velocity method (+) level of spirit

สมการด้านบน
แสดงให้เห็นถึง การรวมกันระหว่างวัตถุกับจิตใจในแง่มุมหนึ่ง

ส่วนแง่มุมอื่น
ลองนึกเล่น ๆ ไปสักพักก่อน
.........................

นักปราชญ์ และนักวิจัย เหมือนกัน หรือต่างกัน?
(คนเขียนอยากเป็นนักปราชญ์ในยุคศิลปวิทยา แต่คงไม่มีงานให้ทำเท่าใด .. เลยลองมาเป็นนักวิจัยดีกว่า)

ลักษณะเนื้องานของนักปราชญ์และนักวิจัยเท่าที่พอนึกได้ คงเป็นเช่นนี้

นักปราญช์ มุ่งเน้นไปยังองค์รวมของสรรพสิ่ง ค้นหาความหมายของการมีอยู่ แสวงหาวิถีทางการดำเนินชีวิต และทำความเข้าใจถึงจุดเริ่มต้นถึงจุดสิ้นสุด หรือไม่สิ้นสุดของชีวิตจิตวิญญาณ

นักวิจัย มุ่งเน้นไปยังองค์ประกอบของสรรพสิ่ง ทำความเข้าใจสิ่งที่มีอยู่ เพื่อค้นคว้าสิ่งที่ยังไม่มี (ซึ่งหมายถึงสิ่งที่ผู้อื่นยังไม่ทำ) มองหาจุดบกพร่อง เพิ่มพูนชิ้นงานที่ขาดหายให้สมบูรณ์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งถูกแยกไว้แล้วเป็นสาขาวิชา หรืออาจผนวกหลายสาขาวิชาเข้าด้วยกัน รวมถึงการหาต้นกำเนิดของสรรพสิ่ง สิ่งที่ใหญ่ที่สุดจนถึงสิ่งที่เล็กที่สุด

..............
หลังจากนึกเล่น ๆ มาสักพัก
ก็ขอกล่าวถึงเรื่องที่ตั้งใจไว้ดังนี้
(จะเขียนเป็นข้อ ๆ เพื่อความสะดวกในการเรียบเรียง)
1. วิทยาการ มีทั้งปรัชญา วิทยาศาสตร์ และอื่น ๆ รวมกัน
2. วิทยาศาสตร์ เน้นหนักไปทางการค้นพบเพื่อสร้างสิ่งที่ยังไม่มี หรือบ่อยครั้งก็ได้รับการดูแคลนว่าเป็นการเอาชนะธรรมชาติ เอาใจมนุษย์ จนลืมดูผลกระทบที่ตามมา ซึ่งโดยทั่วไปมาจากการคาดไม่ถึง
3. วิทยาศาสตร์ เอาใจมนุษย์ จนกลายเป็นความนิยมชมชอบ
4. ความนิยมชมชอบ ก็คือค่านิยม
5. ค่านิยมของคนส่วนมาก เป็นสิ่งที่ต่อต้านไม่ได้ มาทางไหนก็อาจต้องตามไปทางนั้น
6. ค่านิยมที่เน้นหนักไปทางวัตถุ หรือเรียกว่าวัตถุนิยมทำให้การพัฒนาตัวตนเพื่อแสวงความจริงและค้นหาความหมาย เลือนหายไปในชีวิตประจำวัน เหลือเพียงการพัฒนาความสามารถเพื่อแสวงหาทรัพย์สิน เพื่อเอาชีวิตรอดท่ามกลางผู้คนที่ชื่นชมเงินตรา ซึ่งอาจพูดได้ว่าเรามักแสวงหาทรัพย์สินเป็นหลัก และค้นหาความจริงของชีวิตเป็นส่วนประกอบ
7. แม้จะขบคิดไปเยี่ยงไร คำตอบในบรรทัดสุดท้ายก็คงเป็นการที่มนุษย์ต้องการความสะดวกความสบาย (มากกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นมาก ๆ)เสมอ

แต่อย่างน้อยความนิยมวัตถุก็ช่วยให้มีสิ่งจรรโลงใจอันหลากหลาย

เพียงยังสงสัยว่า วิทยาศาสตร์ กับ ปรัชญา จะแยกกันอยู่อีกนานมั้ย?

เอาสมการมาเขียนเป็นตัวอย่างอีกที

movement of creature = velocity method (+) level of spirit

การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต ได้แก่การเอาลักษณะความเร็วตามกฎ รวมกับ ระดับจิตใจของผู้ที่เคลื่อนที่
ซึ่งสมการอาจมั่วอย่างไร้หลักยึดเหนี่ยว แต่ก็คงจะพอแสดงให้เห็นบางแง่มุมได้บ้าง

และแม้เรื่องที่กล่าวไปอาจจะดูมีสาระ แต่ในความเป็นจริงนั้นช่างไร้ประโยชน์ ปัจจุบันยังมีเรื่องของธรรมชาติอีกมากที่วิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถค้นพบหรือหาคำตอบได้ จึงไม่ใช่ประเด็นที่นำหลักการนี้ไปใช้ได้ใจปัจจุบัน (หรือแม้แต่อนาคตเบื้องใกล้)

และอาจมีอย่างอื่นที่ดีกว่าการจับ ปรัชญา มารวมกับวิทยาศาสตร์ อย่างโต้ง ๆ เช่นนี้

หมายเลขบันทึก: 156593เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2007 04:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท