ข้อคิดจากงาน2.AAR ประชุมกลุ่มงานเภสัช


การนำความรู้ของหน่วยงานมารวมเป็นรูปเล่ม

วันนี้ได้ประชุมกลุ่มงานเภสัชกรรมตอนบ่ายสามโมง
เนื้อหาที่ประชุมหลักๆ ก็เรื่อง Safty Goal (ที่ผมยังงงๆ อยู่ ทำไมถึงงงเดี๋ยวจะเล่าต่อขอรับ)

เนื้อหาการประชุม ผมฟังแล้วจะหลับเอาง่ายๆ เพราะมีศัพท์ใหม่ๆ มามากมาย ซึ่งด้วยความอ่อนประสพการณ์ของผมทำให้ไม่เข้าใจความหมายดีนักแต่ด้วยความเกรงใจว่า เดี๋ยวการประชุมจะไม่จบทันเลิกงาน ผมเลยนั่งฟังไปเรื่อยๆ เดี๋ยวไปถามเอาตอนจบแล้ว แต่ที่ประหลาดใจคือ พอพูดงานใหม่เรื่องหนึ่งขึ้นมา ขณะกำลังอธิบายความหมาย พี่อีกท่านก็เอ่ยขึ้นมาว่าเรื่องดักล่าวคล้ายกับเรื่องที่เราเคยทำมาแล้ว พอทุกคนสรุปได้ว่าต้องปรับปรุงและนำเสนองานใหม่(อีกรอบ) ก็ขึ้นเรื่องใหมศัพท์ใหม่่ ก็เหมือนเดิมอีกคือ กลายเป็นคล้ายงานเก่าอีกแล้ว...

(เดี๋ยวจะไม่เห็นภาพครับ คือ งาน ADR, Drug reconsile) 

กล่าวคือ งานใหมjคราวนี้่แต่จริงๆ ก็เป็นงานเก่าที่เราทำไปแล้ว ผมฟังพี่ๆ พูดแล้วก็ยิ่งรู้สึกแปลกใจและคิดเรื่องไอเดียที่พี่เป้ง( ICU )เสนอมากขึ้น นั่นคือ

"การรวมเอกสารไว้เป็นหนังสือเล่มเดียว"

หมายเหตุ ตอนนั้นผมเข้านั่งทางใน คิดนอกเรื่องประชุมไปแล้ว

เป้าหมาย
หน่วยงานอื่นทราบว่ากลุ่มงานเคยทำอะไรไปแล้วบ้าง อย่างไร กล่าวอีกอย่างคือ การกระจายความรู้ให้ทราบและประชาสัมพันธ์
ข้อดี
เก็บความรู้จากแนวทางปฎิบัติไว้เป็นหลักแหล่ง
สามารถค้นหาง่ายขึ้น
เก็บได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องแบ่งหมวดให้ลำบากในแต่ะเรื่อง (เราทำสารบัญให้แล้ว)
ข้อเสีย
ต้องรวบรวมนาน และยากในการทำสารบัญ (Index)
การอัพเดตต้องรอนานๆ ทำทีอาจเป็นรายปีเพราะต้องใช้งบและรอข้อมูลเยอะๆ เพื่ออัพเดตทีเดียว (ถึงคุ้ม)
หาคนทำยากส์มาก.....

 พิมพ์ถึงตอนนี้ ถึงรู้ว่านี่คือ กระบวนการทำคลังความรู้ (Knowledge asset) โดยเก็บเป็นหนังสือนั่นเอง พอคิดเช่นนั้นผมก็คิดต่อ ถ้าเราเก็บเป็นสารสนเทศเล่า

สารสนเทศ
ข้อดี
อัพเดตข้อมูลได้ง่าย,รวดเร็ว ถ้ารวมข้อมูลครบก็ส่งนำเสนอได้เลย
สามารถนำเสนอได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเสียง,ภาพ,ภาพเคลื่อนไหว,คลิ้ปวีดีโอ(ที่ฉาวอยู่ขณะนี้)
รวมถึงการทำแบบทดสอบความรู้
และการสื่อสารแสดงความเห็นกลับอย่างรวดเร็ว
ข้อเสีย
ตอนนี้คำถามก็กลับมาทันควันว่า
"ใครจะเปิดอ่านบ้าง"
"เปิดอ่านได้อย่างไร ทุกหน่วยสามารถเข้าถึงได้หรือ"
"ใครเป็นคนทำ สามารถทำจริงได้กี่คน"
"สารสนเทศสามารถให้บริการได้ตลอดจริงหรือไม่"
คำตอบนี้ยังดำมืดสำหรับผมอยู่...
(และเป็นคำถามบาดใจข้าน้อย..ดังฉึกๆ...จากโครงการพัฒนา HOMEC-IPD อยู่ทุกวันนี้)

เปรียบเทียบกันแล้วผมรู้สึกว่า
การทำหนังสือยังเป็นที่ยอมรับได้มากกว่า
แต่ด้วยข้อดีมากมายของการนำสารสนเทศมาใช้
ทำให้ผมยังไม่อยากตัดใจซะทีเดียว

เอ้า ผมลองมาทำเป็นรูปธรรมมากขึ้นว่า
จากการถามตอบคำถามทั้งสามข้อดังนี้ขอรับ

  1.  หนังสือของกลุ่มงานควรมีอะไรบ้าง
    ตอบ อันนี้ต้องถามต่อว่าใครเป็นคนใช้ ตามความคิดข้าน้อยคือให้หน่วยงานอื่นทราบและใช้ ซึ่งมักเป็น"พยาบาลและแพทย์" ข้อมูลที่สื่อจึงเจาะลึกขั้นตอนระบบงาน (Flow Chart) ,วิธีการติดต่อหรือประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกลุ่มงาน
    เช่น ถ้าพบผู้ป่วยแพ้ยาจะติดต่อใคร อย่างไร/วิธีที่หน่วยงานนั้นจะประสานงานมีขั้นตอนอย่างไร


  2. ข้อมูลส่วนไหนใครควรเป็นคนทำ
    ถ้าข้อแรกชัดแล้วก็ไม่ยากครับ
    ข้อมูลเรื่องการแพ้ยา/ADR ก็หน่วยงาน ADR
    ข้อมูลเรื่องรายการ/ราคา/ประเภทบัญชี สิทธิ์ใดใช้ได้บ้างก็คลังยา
    ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับยา เช่น ยานี้ผสมได้ในสารละลายใดบ้าง/คงตัวได้นานเท่าไหร่/Drug Interaction ก็หน่วยงาน DIS (ที่คาดว่าจะมีในไม่ช้า)
    เขียนถึงหน่วยงานตัวเองบ้าง คือ ห้องยาในและสูตินรีเวช หู คอ จมูกและตา รวบรวมข้อมูลเฉพาะของหน่วยงาน เช่น DRP (Drug Related Problem),ปัญหาจากระบบการทำงาน  ที่พบบ่อย สรุปวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเองและปรึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น รวมถึงหาความฝันหรือไอเดียใหม่ๆ มาทดลองพัฒนางานต่อไป (เอ..ข้อหลังอ่านแล้วทะแม่งๆ แหะ)
    เพียงแต่คนรวมข้อมูลนี่คงลำบากไม่น้อย (แต่คาดว่าหาคนเสียสละได้ไม่ยากมั้ง เหอๆ)

  3. หากเราพัฒนาต่อไปจะเป็นเช่นไร
    โอ้ ถ้ามันสำเร็จได้นะขอรับ (เน้นก่อนพราะว่าถ้าทำแค่ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลของ
    แต่ละหน่วยงานก็คงใช้เวลานานไม่น้อย)
    ผมอยากให้เป็นหนังสือมาตรฐาน ซึ่งต้องปรึกษากับหน่วยงานพัฒนาคุณภาพก่อนว่า ต้องมีรูปแบบอย่างไรเพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยอมรับได้
    และได้รับแจกไปเก็บและใช้อย่างทั่วถึง
    จากนั้นก็ประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่า
    ใครสงสัยอะไรเกี่ยวกับห้องยาดูรายละเอียดได้ในเล่มเลย
    อาจต้องเดินโร้ดโชว์สักหลายอาทิตย์หน่อย
    และอยากให้ทางสถาบันมีต้นแบบให้หน่วยงานอื่นทำตาม
    หากเป็นไปได้ก็ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถรวมเป็นเล่มเดียวกันเลยยิ่งด
    ีแต่ก็ต้องดูความหนาของเล่มด้วยนะขอรับ เช่น หน่วยงานผมถ้าเอาแค่ข้อมูลยาและเวชภัณฑ์ทั้งหมดกว่าพันรายการก็หนาแย่แล้ว คงรวมกับเจ้าอื่นยากเหมือนกัน แต่หน่วยงานที่ทำงานใกล้ชิดกันอย่างห้องคลอดและหลังคลอดน่าจะรวมกันได้หรืออาจเป็นแต่ละ PCT ทำรวมมาก็ดีครับ

ก่อนจบ ผมสรุปปัญหาไว้อย่างนี้ขอรับ

หากเราไม่ทำ หน่วยงานอื่นไม่ทราบ โดยเฉพาะประธานงานคนใหม่ ก็นำงานมาขุดให้ทำใหม่อีก โดยไม่รู้ว่าเราทำมาแล้ว และกำหนดมาตรฐานใหม่ แบบฟอร์มใหม่ คนทำก็หมดกำลังใจเพราะอันเก่าที่ทำไปอย่างยากลำบาก
ก็ใช้ไม่ได้เพราะฟอร์มต่างกัน
ต้องลงข้อมูลไล่กันใหม่ตั้งแต่ต้นอีก...
ซึ่งเป็นเรื่องที่ทรมาณทั้งสองฝ่ายทั้งหัวหน้าผู้สั่งและลูกน้องผู้ปฎิบัติ
ที่ต่างฝ่ายต่างไม่ทราบว่าแต่ละคนได้ทำอะไรไปบ้างอย่างไร
และจะกลายเป็นการขัดใจ เครียด มองหน้ากันไม่ติด
ระบาดเป็นลูกหลานคุณปัญหาในอนาคต
ผมจึงอยากทำหมัน เอ้ย คุมกำเนิดไว้ก่อนด้วยการ

"ยืดอก พกถุง"

ไมรู้ทำไมแต่อยากพูด "ผมรักในหลวงครับ" 

พิมพ์ด้วยเลานานหนึ่งชั่วโมงเต็มกับอีกสิบสองนาที
ด้วยอารมณ์เพลินยิ่งกับเพลง
"ฝากรัก (Keep my love)" ของ Bakery

หลับฝันดีนะขอรับทุกท่าน

หมายเลขบันทึก: 156265เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2007 19:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

หมอมาช่วยตรวจทำให้อยากได้รายการยาเป็นเล่มเล็กๆคล้ายๆกับที่คุณสมคิดเคยทำค่ะ

ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้ความเห็นขอรับ

ผมเองก็คิดเห็นเช่นเดียวกันอยู่ครับแต่ตอนนี้กำลังทำ+รอบัญชียาที่มันยังไม่นิ่งอยู่ (กรรมการยากำลังตัดรายการยาออกให้เหลือ 750 รายการอยู่) ซึ่งคงใช้เวลาอีกสักพักรายการจึงจะออกมาได้ขอรับ

ขอบคุณและจะรอค่ะ

ฝากบอกน้องๆเภสัชว่าหมอใช้ยา naprosyn หรือ N said รักษาDUBที่เป็นชนิด ovulation bleeding ค่ะ

คนไข้เคยถูกเภสัชถามว่าเป็นโรคปวดข้อหรือเปล่า   หมอไม่มีโอกาสอธิบายให้ทราบค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท