ชนเผ่า


สหภาพพม่าประกอบด้วยชนชาติต่างๆ ถึง ๑๓๕ ชนเผ่า
ชนเผ่า
สหภาพพม่าประกอบด้วยชนชาติต่างๆ ถึง ๑๓๕ ชนเผ่า ที่รู้จักกันดี ได้แก่ พม่า(r,k) เรียก บะหม่า , มอญ(,:oN) เรียก มูน , ฉาน(ia,Nt) เรียก ชาน , กะเหรี่ยง(di'N) เรียก กะหยี่ง , กะฉิ่น(d-y'N) เรียก กะฉี่ง, ฉิ่น(-y'Nt) เรียก ชีง , คะยา(dpkt) เรียก กะยา และยะไข่(i-6b'N) เรียก   ยะข่าย ชนทั้ง ๘ เผ่า เป็นชนชาติที่ได้รับความสำคัญทางวัฒนธรรม และมีการกำหนดชื่อชนชาติให้เป็นชื่อรัฐ(exPNopN) ๗ รัฐ ยกเว้นพม่าที่ระบุให้เป็นชนชาติหลักของ ๗ มณฑล(96b'Nt) คือ มณฑลสะกาย มณฑลมัณฑะเล มณฑลพะโค มณฑลย่างกุ้ง มณฑลเอยาวดี มณฑลมะเกว และมณฑลตะนาวศรี รวมพื้นที่สำหรับชนชาติพม่าเป็นร้อยละ ๔๕ ของประเทศ หากดูทางสื่อของรัฐบาล ภาพชนชาติทั้ง ๘ เผ่า จะปรากฏตัวในชุดแต่งกายประจำเผ่าอยู่เสมอ มีทั้งการร้องเพลงประสานเสียง ๘ เผ่า การร้องเพลงเป็นภาษาของเผ่า และการร่ายรำประจำเผ่า ซึ่งแสดงถึงความพยายามของรัฐในการสร้างภาพความปรองดองของชนชาติต่างๆในประเทศ
นอกจากชนชาติหลักๆดังกล่าวนั้น สหภาพพม่ายังมีชนเผ่าย่อยๆอีกมากมาย เช่น ธนุ(TO6) ต่องโย(g9k'NU6bt) แต้ะ(ldN) มรมาจี(,i,kWdut) ดายนา(m6b'Ntokt) อีงตา(v'Ntlkt) ระวาง(i;,N) ลีซู(]uC^) ลาหู่(]kts^) กอ(gdk) ขขุ(--6) ลาซี(]kiau) ขมี(-,u) นาคะ(ok8) แม้ว(g,yk'N0ut) ว้า(;) ปะหล่อง(xg]k'N) ปะเล(xg]t) ยีง(p'Nt) ปะโอ(xv6bh;N) ซะโหล่ง(C]6") ซะเยง(=pb,N) ยีงบ่อ(p'Ntg4kN) บะแร(ric) ปะด่อง(xgmj'N) ยีงตะแล(p'Nt9]c) คำตี่(-Oµut) โย(p6bt) ลำ(],N) ขมุ(-,^) ลุ(]6) และขึน(86") เป็นต้น
ชนเผ่าเหล่านี้เป็นชนกลุ่มเล็กๆ ซึ่งส่วนมากอาศัยกระจายอยู่บนพื้นที่สูงและเขตภูเขาทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออก มีบ้างเล็กน้อยที่อาศัยอยู่ทางภาคใต้ ส่วนใหญ่ไม่เป็นที่คุ้นเคยในหมู่ชาวพม่าทั่วไป เพราะไม่ปรากฏตัวให้เห็นทางโทรทัศน์พม่าบ่อยนัก  และส่วนใหญ่มีความเป็นอยู่ที่ยังล้าหลัง อย่างไรก็ตามกลุ่มที่ดูจะได้รับความสนใจจากรัฐบาลมากขึ้น คือ กลุ่มโกกั้งและกลุ่มว้า ซึ่งอาศัยอยู่ในรัฐฉานใกล้ชายแดนจีน และภายหลังกลุ่มว้าได้ขยายพื้นที่มาใกล้ไทยอีกด้วย ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งที่รัฐดูจะเอาใจใส่มากขึ้นคือ นาคะ ซึ่งอยู่ใกล้ชายแดนจรดกับอินเดีย  ส่วนกลุ่มที่ได้รับความสนใจเพราะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้คือ ปะด่อง หรือ กะเหรี่ยงคอยาว และ ชาวอีงตา ซึ่งอาศัยในทะเลสาปอีงเลในรัฐฉาน เป็นต้น
พม่ามีคำเรียกชนชาติต่างๆโดยรวมว่า ไตยีงตา(96b'Nti'Ntlkt) แปลว่า “ชนพื้นเมือง” มีความหมายโดยศัพท์ว่า “ภูมิบุตร” คำที่ใช้บ่อยอีกคำคือ ปยีตู่-ลูดุ (exPNl^]^56) แปลว่า “มวลชน” คำนี้ออกจะเป็นรูปศัพท์แบบสังคมนิยม และยังเป็นคำที่ใช้บ่อยเช่นกัน คำที่ใช้ได้อีกคำคือ ไหน่หงั่งตู่-ไหน่หงั่งตา(O6b'N'"l^O6b'N'"lkt) คำนี้น่าจะเทียบได้กับ ”ประชาชน” ส่วนคำที่มีความหมาย “พลเมือง” คือ ปยีตู่-ปยีตา(exPNl^exPNlkt)พบใช้น้อยลง หากเป็น “ราษฎร” น่าจะตรงกับ ไตตู่-ปยีตา(96b'Ntl^exPNlkt) ในปัจจุบันพม่าใช้คำ ไตยีงตา หรือ ภูมิบุตรอยู่เสมอ เพราะให้ความหมายที่ผูกพันกับท้องถิ่นหรือถิ่นเกิด และเป็นคำที่ให้ความสนิทสนมระหว่างชนชาติต่างๆได้ดี ในขณะที่ ปยีตู่-ปยีตาและไหน่หงั่งตู่-ไหน่หงั่งตา จะเป็นคำที่ผูกพันกับรัฐ ความนิยมในการใช้คำ ไตยีงตา หรือ ภูมิบุตร บ่งให้เห็นว่ารัฐบาลพม่าได้ให้ความสำคัญกับการสร้างความปรองดองในชาติเพื่อความมั่นคงทางการเมือง เพราะรัฐถือว่าชนทุกเผ่าที่อาศัยอยู่ในประเทศพม่ามาแต่ดั้งเดิมนั้น ต่างเป็นภูมิบุตรหรือลูกของแผ่นดินอย่างเสมอภาค
นอกจากนี้พม่ายังใช้คำที่ผูกพันกับ “เชื้อชาติ” หรือ “ชนชาติ” ว่า หลู่-มโย (]^,y7bt) ดังนั้นเวลาจะถามว่าเป็นชนชาติใด ก็มักจะใช้คำนี้ เช่น เรียกชาวพม่าว่า บะหม่า-หลู่-มโย (r,k]^,y7bt), เรียกชาวมอญว่า มูน-หลู่-มโย (,:oN]^,y7bt) เป็นต้น
ส่วนคำสำหรับเรียกผู้คนในระดับท้องถิ่นที่ตรงกับ “ชาวบ้าน” พม่าจะใช้ว่า ยวาตู่-ยวาตา (U:kl^U:klkt) และคำสำหรับเรียก ”คนท้องถิ่น” คือ เดตะขัง (gml-") คำทั้ง ๒ มีระดับการใช้ต่างกันเล็กน้อย กล่าวคือคำแรกเป็นคำที่ใช้เรียกชาวบ้านทั่วไป ส่วนคำหลังใช้เมื่อต้องการบ่งถึงคนในพื้นที่นั้นๆ เพื่อให้ต่างจากคนต่างถิ่น ส่วนอีกคำหนึ่ง คือ อยัตตา (vixNlkt) แปลว่า “พลเรือน” ใช้สำหรับเรียกชาวบ้านเพื่อให้ต่างจากเจ้าหน้าที่รัฐ หากเป็นคนบ้านนอกจะใช้ว่า ตอตู่ตอตา (g9kl^g9klkt) แปลว่า ”คนบ้านป่า” หากเป็นชาวเมืองจะเรียกว่า มโยะตู่-มโยะตา(1,bhl^1,bhlkt) ถ้าเป็นชาวเขาจะเรียกว่า ต่องบ่อตา (g9k'NgxKlkt) และเรียกชาวไร่ชาวนาว่า ตองตู่แล-ตมา (g9k'Nl^]pNl,kt) เป็นอาทิ
สำหรับคำเรียกชาวพม่าตามท้องถิ่นต่างๆที่นาสนใจมีอาทิ เรียกคนพม่าที่อยู่ตอนบนว่า อะหญ่าตา (vPklkt) แปลว่า “คนเมืองบน” และพบว่าคนพม่าทางใต้จะเรียกชาวพม่าตอนบนนี้ว่า ปะกังตา (x68"lkt) แปลว่า “ชาวพุกาม” อีกด้วย ส่วนคนพม่าที่อาศัยอยู่ทางตอนล่างของประเทศ จะเรียกว่า เอ้าก์ตา (gvkdNlkt) แปลว่า “คนเมืองล่าง” และเรียกคนภาคกลางว่า มเยลัตตา(ge,]9Nlkt) หากอาศัยอยู่แถบปากน้ำอิรวดี จะเรียกว่า มยิจ-วะจูนบ่อตา (e,0N;d°oNtgxKlkt) แปลว่า “คนปากน้ำ” เป็นต้น
ในทัศนะของชาวพม่าที่มีต่อชนชาติที่อาศัยตามท้องถิ่นต่างๆในพม่านั้น พม่าดูจะมีความรู้สึกใกล้ชิดกับมอญมากที่สุด รองลงมาคือยะไข่ พม่าถือว่ามอญคล้ายกับพม่าในทางวัฒนธรรม ส่วนยะไข่นั้นมีสายเลือดเดียวกับพม่า และเป็นชนชาติที่หยิ่งในตนเอง เพราะเคยมีอารยธรรมพอๆกับพม่าในอดีต พม่ามองกะเหรี่ยงว่าซื่อๆ คบหาง่าย และมีสัจจะ มองไทใหญ่ว่าเป็นคนเย็นๆและรู้จักประนีประนอม มองกะฉิ่นในภาพของพ่อค้าและฉลาด มองฉิ่นและคะยาว่ายังล้าหลังกว่าผู้อื่นและรู้สึกห่างเหิน และมองว้าว่าเป็นชนเผ่าที่ดุร้าย ส่วนคนที่มีเล่ห์เหลี่ยมมักจะมองกันว่าเป็นยะไข่ และในด้านความสวยงามนั้น ไทใหญ่ มอญ และยะไข่ดูจะโดดเด่นกว่าชนชาติอื่น
สำหรับแขกและจีนในพม่านั้น พม่าไม่นับรวมเป็นภูมิบุตร หรือไตยีงตา แต่จะถือเป็น ลู-มโยชา(]^,y7bte-kt) คือ “คนต่างชาติ” จึงดูแปลกแยกทั้งที่ต่างมักอาศัยอยู่ในสังคมเมือง และชาวพม่ามักมองจีนและแขกว่าชอบดูแลประโยชน์ตน ส่วนการที่แขกมีผิวดำตาโตต่างจากชนชาติอื่นในพม่า แขกจึงดูน่ากลัว ชาวพม่าเล่าอีกว่าแขกผู้ชายที่แก่ๆมักไว้หนวดเครายาวและชอบเดินคุ้ยเขี่ยขยะ เวลาเด็กๆร้องไห้ ผู้ใหญ่ก็มักขู่ว่า “แขกเฒ่ามาแล้ว”( d6]ktv46btWdut]kwxu) เพียงเท่านั้นเสียงร้องงอแงก็จะเงียบทันที เพราะกลัวแขกจับใส่ถุงขยะไปขาย
วิรัช นิยมธรรม
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15602เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 19:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 22:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ดีแล้วครับ ฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท