PTOT Meeting ครั้งที่ 10


ผลที่ได้เป็นอย่างไรและต้องปรับปรุงตรงไหนบ้าง ใน PTOT Meeting ครั้งที่ 11 เวลา 8.00-9.00 น. วันศุกร์ที่ 25 มกราคม 2551

ขอขอบคุณสำหรับผู้เข้าร่วมประชุมและความคิดเห็นจากทุกๆท่าน นะคะ หัวข้อในวันนี้ที่ได้คุยกันมี 2 หัวข้อ  หัวข้อแรกคือ PT และ OT จะมีแนวทางการให้การรักษาร่วมกันในผู้ป่วยที่มีปัญหาความบกพร่องทางการรับรู้การเข้าใจได้อย่างไร และหัวข้อที่สองคือ แบบฟอร์มการเขียน SOAP  Note”

                เริ่มจากหัวข้อแรก PT และ OT จะมีแนวทางการให้การรักษาร่วมกันในผู้ป่วยที่มีปัญหาความบกพร่องทางการรับรู้การเข้าใจได้อย่างไรสืบเนื่องมาจากว่าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีนักกายภาพคนหนึ่งส่งผู้ป่วยที่เป็น case Head injury เนื่องจากการประสบอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ซึ่งมีปัญหาการบกพร่องด้านการรับรู้และการเข้าใจเป็นสำคัญ และมีปัญหาทางอารมณ์ร่วมด้วยทำให้นักกายภาพไม่สามารถทำการฝึกได้จึงได้ส่งต่อมาให้ OT ทำการฝึกเกี่ยวกับ Cognition  Perception ก่อน ซึ่งทาง OT ได้นำหลักการของ Cognitive disability มาใช้โดยจากการประเมินพบว่าผู้ป่วยมี Cognitive Level อยู่ในระดับ 3 แต่พอมาฝึก ระดับ Cognitive Level จะลดเหลือ ระดับ  2 ดังนั้นจึงต้องมีการกระตุ้น Cognitive Level  ทั้ง 2 และ 3 ผสมกันโดยการให้  Proprioceptive และ Tactile Sensation ไปพร้อมๆกัน และปัญหาเกี่ยวกับอารมณ์ และการต่อต้านนั้นจากการประเมินทาง OT แล้วคิดว่าเกิดจาก Phantom Pain  การรักษาคือให้ผู้ป่วยประสานมือกันแล้วยกขึ้น-ลงและผู้บำบัดต้องพูดกับผู้ป่วยว่าไม่เจ็บเพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยรับรู้ แต่ญาติของผู้ป่วยยังอยากที่จะทำกายภาพบำบัดด้วยเพื่อป้องกันปัญหาข้อติด ดังนั้นจึงได้นำปัญหานี้มาตั้งเป็นประเด็นเพื่อหาข้อสรุป

หลังจากที่ได้มีการเสนอความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัดและนักศึกษากายภาพบำบัดชั้นปีที่ 4 ที่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ จึงได้ข้อสรุปโดยรวมดังนี้

§       ควรให้ OT ฝึก Cognitionไประยะหนึ่งก่อน แล้วค่อยส่งต่อมา PT

§       ควรฝึก PT และ OT ควบคู่กันโดยให้ OT ฝึกเกี่ยวกับ Cognitionก่อน แล้วลงมาฝึก PT ต่อ

§       ควรฝึก PT และ OTไปพร้อมๆกันโดยอาจให้ OT ลงมาฝึกผู้ป่วยขณะที่PT กำลังฝึกอยู่

 

นอกจากนี้ได้มีนักศึกษาเสริมประเด็นเกี่ยวกับการส่งต่อไปให้นัก Speech เพื่อส่งเสริมเรื่องการพูดให้ผู้ป่วยด้วย

ส่วนในหัวข้อที่สอง แบบฟอร์มการเขียน SOAP  Note”  สืบเนื่องมาจากในการประชุมครั้งที่ 9 ที่ผ่านมาได้มีการเสนอให้มีการจัดทำแบบฟอร์มการเขียนข้อมูลเพื่อใช้ในการส่งต่อผู้ป่วยระหว่าง PT และ OT  ในการประชุมครั้งนี้จึงได้มีการนำเสนอแบบฟอร์มการเขียน SOAP  Noteซึ่งเป็นแบบฟอร์มที่ได้ผ่านการวิเคราะห์มาจากตัวแทนนักกายภาพบำบัดและนักกิจกรรมบำบัดแล้วว่าสามารถนำมาใช้บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้ป่วยและการรักษาได้อย่างครอบคลุม  โดยมีตัวแทนPT ท่านหนึ่งได้อธิบายความหมายของแต่ละตัวอักษรดังนี้

§       S (Subjective)      = สิ่งที่เรามองเห็นจากตัวผู้ป่วย รวมถึงประวัติผู้ป่วย

§       O (Objective )             = การตรวจเจออะไรบ้าง

§       A (Assesment)             = ผลการประเมินโดยละเอียด

§       P (Plan)                       = แผนการรักษา

§       CC (Chief Complain)  = เป้าประสงค์ของผู้ป่วย

ซึ่งหลังจากนั้นได้มีการเสนอแนะให้พิมพ์ความหมายของแต่ละตัวอักษรเพิ่มลงไปที่ท้ายแบบฟอร์มเพื่อให้ทุกคนเข้าใจตรงกันและคนที่มาใหม่รวมถึงอาจารย์และนักศึกษาสามารถนำไปใช้ได้

ในการประชุมครั้งต่อไปเราจะมาติดตามดูว่าจากข้อเสนอแนะที่ได้ในวันนี่หากนำมาใช้กับผู้ป่วยรายนี้แล้วผลจะเป็นอย่างไรบ้างและจากการทดลองใช้  SOAP Note เป็นระยะเวลา1 เดือน ผลที่ได้เป็นอย่างไรและต้องปรับปรุงตรงไหนบ้าง ใน PTOT Meeting ครั้งที่ 11 เวลา 8.00-9.00 . วันศุกร์ที่  25 มกราคม 2551

หมายเลขบันทึก: 155768เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2007 07:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 23:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท