ใจเกินร้อยกลุ่มน้อยๆ..ว่าที่ COP ดูแลผู้สูงวัยใส่ใจญาติผู้ป่วย กลุ่ม 4จากการประชุม KM คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น ค่ะ


เปิดหู เปิดตา ปิดปาก เปิดปาก


เรื่องเล่าของเราขอชื่นชมบุคลากรที่เข้าร่วมประชุมKM วันื้ 21 ธันวาคมที่ห้อง89
พระเจ้าจ๊อดมันยอดมากไม่มีใครลุกออกจากห้องประชุมน่าชื่นใจจริงๆ วิทยากร ร

ศ ดร.ลำปาง (คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น) ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมใจตึกๆๆเมื่อไหร่น้าจะเปิดโอกาสให้ทำซะที
ลองดูกลุ่มนี้หน่อยเป็นไรคะ? กลุ่มที่ไม่รู้ว่า อะไร KM เป็นจั๋งได๋ เฮ็ดจั๋งได๋
........ ใจเย็นค่ะ KM ก็แค่ เรามาพูดคุยเรื่องเดียวกัน เอาประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟังเองค่ะแล้วเขียนไว้กันลืม แล้วสกัดเอาแนวดีๆไปบอกต่อซือๆๆๆๆๆ อย่าย่านเด้อ. .
กลุ่มสี่ทำไมเลือกหัวข้อนี้
เริ่มเข้าประเด็นนะคะ
เปิดประเด็นวิทยากรประจำกลุ่มแนะนำตัวก่อนที่จริงเขาอยากรู้จักเรารึเปล่าบ่ฮู้เน้อ อิๆๆๆๆๆ

 ข้อตกลงเราจะช่วยกันพูดออกความคิดเห็นจากประสบการณ์การทำงานของเราทุกคน
ก่อนจะพูดต้องยกมือ แนะนำตัว พูดไปจนจบ คนที่ฟังต้องรอให้เพื่อนพูดดจบก่อนถึงยกมือแล้วพูดต่อค่ะ
ทุกคนทำตามข้อตกลงได้ดี ระหว่างที่พูดก็ต้องมีคนจดบันทึก เลือกประธานแบบหลวมๆๆ อิๆๆๆๆเลขา ผู้ช่วยเลขาแสนสวยสองสาว
[

เริ่มโหวตเรื่องที่สนใจร่วมกันค่ะ
ดูแลใส่ใจ เอาใจใสญาติผู้สูงวัย ได้ 4 แต้ม
พลิกตะแคงตัวผู้ป่วย 3 แต้ม
นอกนั้นได้ไปอย่างละแต้ม

อ้าวลืมแนะนำสมาชิกกลุ่มค่ะ
1 คุณ ดวงแก้ว รอดอ่อน (สงสารเสียงมาก เสียงแหบมากค่ะแต่ใจสู้ๆๆ)
2. คุณนภา คำเสริม
2 ท่านนี้มาจากหอผู้ป่วยจิตเวชค่ะ
[img]
[img][/img]
3คุณพี่ชาลี พิทักษ์ จาก อายุรกรรม ( ศูนย์เครืองมือ)
4.คุณน้องธัญทิพย์ คลังชำนาญ (3 จ)
5.คุณน้องสมฤดี ติวารี (5 จ)
6.คุณน้อง พัชรี ประสมพืช (5จ)
น้องสาวสวยไฟแรง มั๊กมาก เบอร์ 4 - 5 -6 เลขา และรองเลขา ค่ะ


7.คุณอุไรรัตน์ นนทะคำจันทร์ (3จ) รองประธาน
8.คุณพีแก้ว ถนอมเสียง (อายุรกรรม)
9.คุณสุกัญญา วรรณรัตน์ (3 จ)
10.คุณจุฑารัตน์ ดำรงรูป( 2ฉ) ประธาน

 

KM(การแชร์ความรู้) ผ่านการเล่าเรื่อง

คุณพี่แก้วถนอม (อายุรกรรม) เล่าเรื่องคุณแม่มาอยู่ด้วย เวลาทีเราทำงานแม่อยู่คนเดียว ที่บ้านพักเราก็ห่วง ถ้าว่างก็จะขับมอเตอร์ไซด์กลับไปดูแล กินข้าวกลางวันกับแม่ ถ้าไม่ว่างก็ต้องโทรศัพท์กลับไปถามไถ่ เพราะกังวลสารพัดกลัวแม่จะไม่กินข้าว กลัวเกิดอุบัติเหตุ แต่อุ่นใจที่แม่มาอยู่ใกล้ๆ อบอุ่นใจ ค่ะ
ก็เหมือนคนไข้ เรื้อรัง ที่รักษามานาน ปีโดยเฉพาะยาเคมีบำบัด ต้องเทียวไปเทียวมา บ้านกับโรงพยาบาล น่าสงสารมากค่ะ

คุณจุฑารัตน์ (2ฉ)
เล่าประสบการณ์การทำงานว่า ญาติผู้ป่วยยที่ดูแลผู้สูงอายุถ้าไม่มีความรู้ทางร่างกาย จิตสังคม จะไม่เข้าใจค่ะ ยิ่งผู้สูงอายุ เจ็บป่วย จะ ขี้ งอนหงุดหงิด เอาแต่ใจ บางรายไมสนใจตนเอง ญาติ ก็เหนื่อยนะคะ ยิ่งมาเฝ้าคนเดียวไม่มีใคนเปลียนเฝ้า บางรายถอดใจค่ะ ไม่อยากดูแลแล้ว เราก็ต้อง ช่วยให้กำลังใจเขาค่ะ

คุณพี่ชาลี (อายุรกรรม)
คนไข้ เขาจะห่วง ญาติว่าต้องนอนตื่นเช้ามาดูแล เงินทอง ที่ใช้ไปแต่ละวัน ข้าวปลาอาหาร ที่หลับที่นอนสารพัด เพราะโรงบาลเราเฝ้าไม่ได้ บางคน ห่วงญาติมากกว่าห่วงตัวเอง


คุณอุไรรัตน์ (3จ) ญาติบางคนที่อายุน้อยๆมาดูคนแก่ ด้วยวัยที่แตกต่าง เกิดความไม่เข้าใจกัน ทำอะไรก็ไม่ถูก ต้องพึ่งพาพยาบาล เช่นเวลา เช็ดตัว เวลาขับถ่ายต้องตามเจ้าหน้าที่เพราะว่า เขากลัวว่าทำไม่ถูก และ คนไข้ ไม่พอใจชอบดุด่า แต่ถ้ามีเจ้าหน้าที่อยู่คนไข้ยังเกรงใจ


ตอบ  



คุณดวงแก้ว และคุณ นภา จากตึกจิตเวช
ญาติผู้ป้วยจิตเวช ทั้งเหนื่อยทั้งเครียดค่ะ เพราะคนไข้จิตเวช ต้องเอาใจใส่ เป็นพิเศษต้อง สม่ำเสมอ นะคะ ทั้งกังวลว่าเกิดจากพันธุกรรมหรือไม่ และ ความไม่เข้าใจเรื่องโรค ด้วยค่ะ


สมฤดี และ พัชรี( จาก5จ )
ญาตคนไข้ และ คนไข้ ที่มารับเคมี เขาจะรู้วันที่ได้ ยา และวันกลับอย่างชัดเจนค่ะ ถ้าหมอไม่พูด กับเขา พูดกันเอง พูดเป็นภาษษอังกฤษ ไม่อธิบายเขาจะกังวล เช่น ถามเขาแล้วไม่รอคำตอบจะทำให้คนไข้กังวลค่ะ
จุฑารัตน์ (3ฉ) ใช่ค่ะ แพทย์ไม่ระมัดระวังรื่องกริยาท่าทางคำพูด ซึ่งคนไข้เครียดมากค่ะ ญาติก็เครียดด้วย คนไข้รายนี้ท่านเป็นผู้ที่ทำงานคณะแพทยศาสตร์มาตั้งแต่รุ่นก่อตั้ง

เอ้าพอสรุปได้ว่า
ทั้งปัจจัยด้านอายุ โรค ความรู้ และความเหนื่อย เศรษฐกิจ ที่อยู่ของญาติ ทำให้ญาติและคนไข้กังวล
เจ้าหน้าที่ ทั้งคำพูด กริริยา ท่าทางการแสดงออก การให้ข้อมูล จะมีผลต่อความเครียดของญาติค่ะ




เรื่องเล่ายังไม่จบค่ะ วันหน้าจะมาเขียนเรื่องเทคนิคการดูแล
รอติดตามนะจ้ะ

หมายเลขบันทึก: 155645เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2007 12:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 11:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

วันนี้จะมาต่อเรื่องเทคนิคการดูแล และจัดการปัญหา

คุณ ดวงแก้ว รอดอ่อน และ คุณนภา คำเสริม ใช้เทคนิค การสังเกตและการให้ความเข้าใจเอาใจใส่ จัดกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนทุกเดือนให้ผู้ป่วยและญาติทั้งผู้ป่วยใหม่และเก่าได้แลกเปี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้นอกจากนี้ยังให้กำลังใจซึ่งกันและกัน แก้ปัญหาความไม่เข้าใจญาติและผู้ป่วยได้มากค่ะ

คุณน้องสมฤดี ติวารี (5 จ) และคุณน้อง พัชรี ประสมพืช (5จ)ได้เล่าว่าตึกเคมีที่น้องทั้งสองอยู่ผู้ป่วยที่มารับยาเคมีทั้งหลายผู้ป่วยเก่าจะมีประบการณ์เรื่องยา ฤทธิ์ข้างเคียงของยาอาการต่างๆเขาจะรู้ตัวเขาเองดังนั้นการเตรียมตัวของผู้ป่วยและญาติค่อนข้างดี แต่ถ้าครั้งใดที่แพทย์ไม่ได้ให้ยาตามนัด หรือตอบคำถามม่ชัดเจนจะกระทบต่อแผนการชีวิตของผู้ป่วยเหล่านี้เช่นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน การลางาน การมาเฝ้าของญาติพี่น้อง  ส่วนผู้ป่วยใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์ยิ่งเพิ่มความกังวลต่างๆนาๆผู้ป่วยและญาติบางคนป่วยไปเลย  ดังนั้นหน้าที่ของพยาบาลจัดการปัญกาเหล่านี้ด้วยการติดตามสอบถามแพทย์ จนได้คำตอบที่ชัดเจนแม้ว่าบางครั้งจะท้อ จะเหนื่อยก็ต้องทำ เรายึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางค่ะพี่

คุณอุไรรัตน์ นนทะคำจันทร์ และคุณสุกัญญา วรรณรัตน์ (3 จ)

บอกว่าการสังเกตเวลาเราเดินเยี่ยมผู้ป่วยทั้งก่อนและหลังรับเวรทำให้เราเห็นข้อสังเกตและนำมาปรึกษากันในการรับเวร  แล้วนำไปแก้ไขปัญหา และร่วมมือกันระหว่างผู้ป่วยและญาติ  เราอาจทำไม่ได้ทุกรายแรพยายามทำให้ดีที่สุด  แล้วทำต่อเนื่องไปเราอยากให้เขาได้กลับบ้านค่ะเราเป็นพี่เลี้ยงให้ญาติจนญาติผู้ป่วยสามารถทำได้ทำเป็นเพราะเขาต้องไปดูแลที่บ้านด้วยค่ะ

คุณพีแก้ว ถนอมเสียง (อายุรกรรม)พี่แก้วบอกว่าการเอาใจใส่เป็นเรื่องสำคัญมากค่ะ รวมทั้งการให้กำลังใจผู้สูงวัยเป็นสิ่งที่แก้วได้ประสบด้วยตนเองจึงอยากบอกน้องๆว่าเราต้องหาเวลาให้ท่าน เราต้องมีเวลาหาเวลาให้ได้ค่ะ ทำอย่างสม่ำเสมอปัญหาที่ท่านคิดกังวลก็จะคลี่คลายค่ะเรื่องการปฏิบัติตัวต่างๆจะดีขึ้นมากค่ะ

คุณพี่ชาลี (อายุรกรรมหน่วยอุปกรณ์)บอกว่าความชัดเจนด้านการรักษาของแพทย์ การอธิบายให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่องจะช่วยลดความวิตกกังวลของผูป่วยและญาติได้อย่างมากถ้าแพทย์นัดว่าจะตรวจ จะผ่าตัดแล้วเลื่อนไป หรือนัดผ่าไว้เป็นคิวสำรองนั่นหละปัญหาสำคัญ คนไข้บางคนเจอเลื่อนผ่าแล้วผ่าอีก เตรียมตัวผ่าจนเหนื่อยทั้งกายและใจ เลยป่วยทั้งญาติทั้งผู้ป่วยทรุดลงจากความไม่แน่นอน  ญาติที่บ้านก็เหมารถมาเสียเงินเสียเวลา เรื่องความชัดเจนของข้อมูลสำคัญมากครับถ้าเลื่อนก็ต้องชัดเจนว่าเลื่อนเป็นวันไหน อย่าให้เกิดโรคเลื่อนบ่อยครับ

คุณจุฑารัตน์ ดำรงรูป( 2ฉ)ประธานกลุ่มเสริมว่า ถ้าเป็นผู้มีอุปการคุณท่านเหล่านี้เมื่อแพทย์ใหม่ที่ไม่รู้จักท่านกล่าวทักทายแต่ไม่ได้ให้ความใส่ใจอย่างชัดเจนท่านน้อยใจมาก การแก้ปัญหาที่ได้เรียนให้หัวหน้าทราบและประชุมปรึกษากัน ผู้ใหญ่ได้มาร่วมแก้ไขปัญหา  และมีข้อปฏิบัติเรื่องการเอาใจใส่ต่อท่าทีการแสดงออก คำพูด ภาษาพูด การมองเป็นสำคัญ เพราะการทำงานกับคนเป็นเรื่องละเอียดอ่อนค่ะ  เมื่อเราไม่ชอบสิ่งใดก็ให้คิดว่าคนอื่นไม่ชอบเหมือนเราด้วยค่ะ

รูปที่แนบมา

การะคุณ

 

 

เราก็เล่าเรื่องราวประสบการณ์ในการทำงาน เรื่องเดียวกัน คือ การดูแลญาติผู้ป่วยที่มีปัญหาในการดูลผู้ป่วยที่สูงอายุค่ะ

ได้เรื่องมาจากการโหวตในกลุ่มค่ะเริ่มการพูดต้องยกมือแนะนำตัว พูดจนจบ แล้วเพื่อนก็จะเสนอแนะหรือพูดต่อไปค่ะพูดไปจนจบทุกคน แล้วเราก็จับประเด็นการพูดโดยการจด ค่ะการกลั่นเอาความรู้จากเรื่องที่เราเล่าจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาที่พบ เราเรียกว่า

แนวการปฏิบัติ แต่ขอให้พวกเราเรียกว่าเกล็ดความรู้นะคะ ภาษาประกิตของนักวิชาการเรียกว่า Asset kowleage ค่ะ

ปัญหาการดูแลผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุ

1.ด้านความรู้ด้านโรค พัฒนาการด้านอารมณ์ของผู้ป่วย

2การให้ข้อมูลของเจ้าหน้าที่ เช่น แพทย์ พยาบาล

3.ภาษากาย และคำพูด

4.อารมณ์ของผู้ดูแล

5.ด้านเศรษฐกิจ

การแก้ปัญหา

1.ทำให้เกิดความชัดเจนค้นหาปัญหา และต้องร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาโดยพยาบาลต้องเป็นผู้ที่ช่างสังเกต เอาใจใส่ ปราถนาดีต่อผู้ป่วยและญาติ

2.เรียนปรึกษาผู้อาวุโสเช่นหัวหน้างาน(ถ้านอกเหนือจากความสามารถ)

3.คิดบวก อยากให้ผู้ป่วยและญาติได้รับการบริการอย่างดีที่สุดจึงต้องติดตามการแก้ปัญหาให้ลุล่วง

4.นำเสนอการแก้ไขปัญหาให้เป็นระบบและไม่ให้เกิดความล่าช้าเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกันของแพทย์พยาบาล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท