วันในสัปดาห์กับการตั้งชื่อของชาวพม่า


ชาวพม่ามักเชื่อว่า วันเกิด หรือ มเวเนะ (g,:tgoh) ในสัปดาห์มีความสำคัญต่อชีวิต และมักผูกเกี่ยวกับการตัดสินใจในหลายเรื่อง
วันในสัปดาห์กับการตั้งชื่อของชาวพม่า
ชาวพม่ามักเชื่อว่า วันเกิด หรือ มเวเนะ (g,:tgoh) ในสัปดาห์มีความสำคัญต่อชีวิต และมักผูกเกี่ยวกับการตัดสินใจในหลายเรื่อง อาทิ การตั้งชื่อ นิยมกำหนดเริ่มด้วยอักษรประจำวันเกิด หรือแม้การเลือกคบคนให้ต้องชะตา ไม่ว่าในฐานะเพื่อน คู่ครอง หรือ คู่ค้า อาจต้องเทียบวันเกิด และในทำนองเดียวกับไทย พม่าก็มีข้อห้ามตัดผมในวันที่ตรงกับวันเกิดของตน อีกทั้งควรเว้นตัดผมในวันจันทร์และวันศุกร์ และเชื่อว่านามวันเกิดยังช่วยกำหนดวันโชคลาภอีกด้วย นอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่าวันเกิดจะบ่งบอกลักษณะนิสัยของแต่ละคน กล่าวคือ ผู้เกิดวันอาทิตย์จะเป็นคนตระหนี่ถี่เหนียว เกิดวันจันทร์จะเป็นคนใจน้อยแถมขี้อิจฉา เกิดวันอังคารจะเป็นคนซื่อตรง เกิดวันพุธจะเป็นคนโกรธง่ายหายเร็ว เกิดวันพฤหัสบดีจะเป็นคนอ่อนโยน เกิดวันศุกร์จะเป็นคนช่างพูด และหากเกิดวันเสาร์จะเป็นคนมีอารมณ์ฉุนเฉียว จากการที่ชาวพม่าชอบพึ่งโชคชะตา ความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับวันเกิดจึงเป็นความจำเป็นพื้นฐานต่อ
การดำเนินชีวิตของชาวพม่าทั่วๆไป
การเรียกชื่อวันในสัปดาห์ หรือ เนะ (goh) ในภาษาพม่า กำหนดเรียกตามดาวพระเคราะห์ หรือ โจ่ (18bsN) เช่นเดียวกับไทย  แต่เรียกต่างกัน ดังนี้
อาทิตย์                         9o8§gO:                   ตะนีงกะนเหว่
จันทร์                           9o]§k                    ตะนีงหล่า
อังคาร                          v8§j                         อี่งก่า
พุธ                               r6m¸s^t                      โบ๊ะดะฮู
พฤหัสบดี                     Edklxg9t         จ่าดะบะเด
ศุกร์                             glkEdk                  เต้าก์จ่า
เสาร์                             0go                         สะเหน่
วันในสัปดาห์จะมีความเกี่ยวข้องกับทิศทั้ง ๘ โดยเพิ่มพระราหู หรือ ยาฮุ (iks6) เป็นดาวสำหรับผู้เกิดในวันพุธเฉพาะช่วงเที่ยงวันถึงเที่ยงคืน ทิศประจำวันกำหนดไว้ดังนี้
อาทิตย์                         ตะวันออกเฉียงเหนือ                  vgiahge,kdN            อะเชะ-มเย่าก์
จันทร์                          ตะวันออก                                 vgiah                       อะเชะ
อังคาร                         ตะวันออกเฉียงใต้                      vgiahg9k'N            อะเชะ-ต่อง
พุธ                               ใต้                                            g9k'N                      ต่อง
ราหู                             ตะวันตกเฉียงเหนือ                   vgokdNge,kdN       อะเน่าก์-มเย่าก์
พฤหัสบดี                     ตะวันตก                                   vgokdN                  อะเน่าก์
ศุกร์                             เหนือ                                        ge,kdN                     มเย่าก์
เสาร์                            ตะวันตกเฉียงใต้                       vgokdNg9k'N        อะเน่าก์-ต่อง
ชาวพุทธพม่านิยมไปไหว้พระประจำวันเกิดที่ตั้งอยู่รายรอบพุทธเจดีย์ตามทิศดังกล่าวมานั้น และที่ฐานพระประจำวันจะมีรูปสัตว์ประจำดาวพระเคราะห์ ดังนี้
อาทิตย์         ครุฑ         8>7oN        กะโหล่ง
จันทร์          เสือ           dykt         จา
อังคาร         สิงห์         e-gl§H       ชีงเต๊ะ
พุธ               ช้างมีงา    C'N          สี่ง, เสี่ยน
ราหู             ช้างไร้งา   s6b'Nt       ฮาย
พฤหัสบดี     หนู           Ed:dN       จแวะ
ศุกร์             หนูตะเภา  x^t          ปู
เสาร์            นาค          o8jt         นะกา
ตำราโหราศาสตร์ของพม่ายังกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างวันกับชาติพันธุ์ ๘ เผ่าไว้ด้วย และถ้าหากวาดเป็นแผนภูมิให้เห็นตำแหน่งของพระประจำวันเกิด สัตว์ประจำวันเกิด และชาติพันธุ์ทั้ง ๘ ให้สอดคล้องกับทิศ อันมีพระเกตุ หรือ เก๊ะ (db9N) เป็นศูนย์กลางแทนด้วยองค์พุทธเจดีย์ จะเป็นดังนี้
ตะวันตกเฉียงเหนือ
ราหู
ช้างไร้งา
(จีน)
เหนือ
ศุกร์
หนูตะเภา
(แต๊ะ)

ตะวันออกเฉียงเหนือ

อาทิตย์
ครุฑ
(ยวน)
ตะวันตก
พฤหัสบดี
หนู
(พม่า)
พระเกตุ
(องค์เจดีย์)
ตะวันออก
จันทร์
เสือ
(ไทใหญ่)
ตะวันตกเฉียงใต้
เสาร์
นาค
(แขก)
ใต้
พุธ
ช้างมีงา
(กะดู)
ตะวันออกเฉียงใต้
อังคาร
สิงห์
(มอญ)
ความเข้าใจเกี่ยวกับวันที่สัมพันธ์กับทิศทั้ง ๘ นับเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเข้าใจวิถีชีวิตของชาวพม่า ซึ่งส่วนให­ญ่นับถือพุทธศาสนา และมักข้องเกี่ยวกับโหราศาสตร์ไม่มากก็น้อย ในการตั้งชื่อก็เช่นกัน ชาวพม่าจะอาศัยวันเกิดมากำหนดชื่อ พม่าไม่ใช้ชื่อสกุล หากจะมีแต่ชื่อตัวเท่านั้น ดังนั้นพ่อ แม่ ลูก และพี่น้อง จึงไม่มีนามบ่งชี้ความสัมพันธ์ ภรรยาจึงไม่ต้องเปลี่ยนนามสกุลตามสามี แต่ชื่อจะต้องมีความหมายเป็นมงคล หรืออาจบ่งบอกรูปลักษณ์ และที่สำคัญชื่อมักมีอักษรขึ้นต้นสัมพันธ์กับวันที่เกิด ชื่อที่นิยมใช้จะประกอบด้วยคำออกจะไพเราะ อาทิ
หม่อง (g,k'NX           “หนุ่ม”                       นุ (O6)                        “อ่อน,นุ่ม”                 
อ่อง (gvk'N)                “ชนะ”                       หนั่ย (O6b'N)                 “สามารถ”                 
จ่อ (gdykN)                   “โด่งดัง”                    โฉ่ (-y7b)                     “หวาน”                    
ขิ่ง (-'N)                       “รัก,สนิท”                  หละ (]a)                  “สวย”                       
ข่าย (-6b'N)                      “ทน”                         เส่ง (0boN)                  “เพชร”                     
ฉเว่ (gU­)                      “ทอง”                       มยะ (e,)                   “มรกต”
เตง (lboNt)                    “แสน”                       ตัน (loNt)                 “ล้าน”
เอ้ (gvt)                      “เย็น”                         หนี่ (ou)                     “แดง”                       
ผยู่ (ez&)                       “ขาว”                        จี่ (EdPN)                  “แจ่มใส”
ทูน (5:oNt)                    “รุ่งจรัส”                    อู (Ft)                       “แรก,ต้น”
   
ชาวพม่านิยมชื่อที่ให้ความหมายอันน่าภาคภูมิ แสดงความมั่งมีศรีสุข และแฝงด้วยเสน่ห์ เช่น นายยันอ่อง (ioNgvk'N) แปลว่า “ชนะศัตรู” นายเมตตาอ่อง (g,9µkgvk'N) แปลว่า “ได้เมตตา” คือมีนัยว่า “ชนะใจ”, นายตันฉ่วย (loNtgU­) แปลว่า “ทองเป็นล้าน”, นายเตงหนั่ย (lboNtO6b'N) แปลว่า “แสนชัย”, นายจ่อเตงเด (gdykNlboNtg{t) แปลว่า “ร่ำรวยเงินแสนระบือนาม”, นายเนลีงแทะ (go]'Nt5dN) แปลว่า “คมแสงตะวัน”, นางตันตีง (loNt9'N) แปลว่า “เทิดล้าน”, นางโฉ่โฉ่หละ (-y7b-y7b]a) แปลว่า“หวานสวย”, นางมยะโมหนั่ย (e,,6btO6b'N) แปลว่า “ได้ชัยฝนมรกต”  และนางนุนุ (O6O6) แปลว่า “นิ่มนวล” ผู้ห­ญิงพม่านิยมชื่อที่ให้ความหมายอ่อนโยนน่ารัก ในขณะที่ผู้ชายนิยมชื่อที่มีนัยเข้มแข็ง มั่งมีและชา­ญฉลาด
ในสมัยพุกาม มีการตั้งชื่อด้วยคำว่า ตี่ง (l'N) เป็นคำเก่าที่มีนัยว่า “อิสระ” และอาจหมายถึง “ผู้ประเสริฐ” หรือ “ภิกษุ” ปัจจุบันเป็นคำสรรพนามหมายถึง “ท่าน” มีการสันนิษฐานไว้ว่า คำนี้น่าจะนิยมใช้ในสมัยนั้น ก็เพื่อต้องการจำแนกตัวเองให้ต่างจากผู้ตกเป็นทาส โดยเฉพาะทาสพุทธเจดีย์ ที่เรียกว่า พะยาจู่น (46iktd°oN) คำว่า จู่น (d°oN) นั้นหมายถึงทาส และคำว่า พะยา (46ikt) หมายถึงพุทธเจดีย์ การเป็นทาสพุทธเจดีย์ถือว่ามีฐานะต่ำต้อย อันที่จริงคำว่าจู่นที่แปลว่าบ่าวหรือทาสนั้น ได้ใช้เรื่อยมาเป็นคำสรรพนามอย่างสุภาพ ในคำว่า จู่นด่อ (d°oNg9kN) แปลว่า “กระผม” หรือ “ข้าหลวง” และ จู่นมะ (d°oN,) แปลว่า “ดิฉัน” หรือ “ข้าห­ญิง” การเรียกตนเองเป็น “ข้า”  ในภาษาพม่ากลับดูสุภาพในปัจจุบัน ส่วนคำว่า ตี่ง อาจใช้ว่า อะตี่ง (vl'N) ในความหมายว่า “คุณท่าน” ได้เช่นกัน
ในการตั้งชื่ออาจตั้งตามลำดับผู้เกิดก่อนหลัง เช่นหากเป็นลูกคนโต จะใช้คำว่า อู (Ft) แปลว่า “แรก,ต้น” หรือ จี (Wdut) แปลว่า “ให­ญ่” ประกอบชื่อ หากเป็นคนกลางจะมีคำว่า ลัต (]9N) และถ้าหากเป็นคนสุดท้องจะมีคำว่า แหง่ ('pN) เล (g]t) หรือ ทเวหรือทวย (g5:t) เช่น พระนางสุพยาลัต (06z6ikt]9N) เป็นพระธิดาคนกลางของพระนางอะเลนันดอ มเหสีของพระเจ้ามินดง พี่สาวของพระนางสุพยาลัตมีพระนามว่า สุพยาจี (06z6iktWdut) และน้องสาวของพระนางมีพระนามว่า สุพยาแหง่ (06z6ikt'pN)
คนพม่ามักเชื่อเรื่องโชคลาง เด็กบางคนจึงอาจมีชื่อเล่น เป็นชื่อทำนองให้ผีชัง เช่น เจ้าหมา ('g-:t) เจ้าดำ (',PNt) เจ้าขี้เหร่ (U6xNC6bt) เจ้าขี้แมว (gEdk'Ng-yt) ชื่อเหล่านี้ตั้งเรียกเพียงชั่ววัยเด็กเท่านั้น ชื่อบางคนมีความหมายพิเศษ เช่น คนที่รอดพ้นจากภัยเกือบต้องสิ้นชีวิต อาจชื่อว่า แต๊ะเปี่ยง (ldNexoN) แปลว่า “คืนชีพ,ฟื้น” หรือ คนที่พี่ตายไปก่อน อาจชื่อว่า หม่องจ่าง (g,k'NdyoN) แปลว่า “นายเหลือ”
นอกจากนี้การตั้งชื่อของชาวพม่า ยังนิยมตั้งตามวันที่เกิด โดยกำหนดอักษรประจำวันเป็นอักษรตัวแรกของชื่อ ดังนี้
วันอาทิตย์    เริ่มด้วยอักษร            อ(v)
วันจันทร์      เริ่มด้วยอักษร            ก(d)        ข(-)         ค(8)         ฆ(S)       ง(')
วันอังคาร     เริ่มด้วยอักษร            จ(0)         ฉ(C)       ช(=)         ฌ(G)   ญ(P)
วันพุธ          เริ่มด้วยอักษร            ย(p)        ร(i)         ล(])        ว(;)
วันพฤหัส     เริ่มด้วยอักษร            ป(x)         ผ(z)         พ(r)         ภ(4)   ม(,)
วันศุกร์         เริ่มด้วยอักษร            ส(l)        ห(s)
วันเสาร์        เริ่มด้วยอักษร            ต(9)       ถ(5)        ท(m)         ธ(T)         น(o)
  
พม่าเชื่อว่าวันที่เกิดจะช่วยบ่งบอกลักษณะนิสัย จึงมักนำมาใช้ประกอบการพิจารณาเลือกคู่ครองว่ามีดวงสมพงศ์กันหรือไม่ และเชื่อว่าหากทราบอักษรตัวแรกของชื่อก็พอจะคาดเดานิสัยใจคอได้ แต่ถ้าไม่ทราบชื่อก็ให้สังเกตตอนไปไหว้พระเจดีย์ เพราะชาวพม่านิยมไปสรงน้ำพระประจำวันเกิดซึ่งตั้งอยู่ประจำรายรอบพระเจดีย์นั้น วิธีนี้เป็นเพียงข้อชี้นำคร่าวๆ  สำหรับคนที่เชื่อถือดวงชะตา
ปัจจุบัน ชาวพม่ามักยังให้ความสำคัญกับการตั้งชื่อให้สอดคล้องกับวันที่เกิด โดยจะปรึกษาหมอดู หรือ พระสงฆ์ บางคนอาจตั้งชื่อโดยไม่ปรึกษาผู้รู้ดังกล่าว แต่ก็มักจะขึ้นต้นชื่อด้วยตัวอักษรที่กำหนดไว้สอดคล้องกับวันเกิด ส่วนการเปลี่ยนชื่อนั้นจะเปลี่ยนกันบ้างในขณะที่อายุยังน้อยอยู่ มีน้อยคนที่จะเปลี่ยนชื่อเมื่ออายุมากแล้ว นอกจากนี้ ในอดีต ชาวพม่าจะมีการจารดวงชะตาไว้บนใบลาน อีกทั้งบนใบลานจะมีคำอวยพรให้กับเจ้าของวันเกิดอีกด้วย ส่วนมากจะขอให้อายุยืนยาวถึง ๑๒๐ ปี เจ้าของวันเกิดจะต้องเก็บใบลานนั้นไว้อย่างดี ส่วนมากจะวางไว้บนหิ้งพระพุทธรูปในบ้าน หากใบลานเสียหาย อาจด้วยถูกหนูปลวกกัดแทะ หักงอ หรือ ไฟใหม้ จะถือว่าไม่ดี อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันความนิยมในการจารดวงชะตาไว้บนใบลานได้ลดน้อยไปมากแล้ว และหันมาบันทึกดวงชะตาไว้บนกระดาษแทน
วิรัช  นิยมธรรม
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15556เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 18:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท