ข้อคิดจากงาน1.AAR สรุปส่งการบ้านอาร์ทิตย์นี้ขอรับ


ไอเดียต่อยอดการบ้านส่วนตัว

รวมไอเดีย
ทำ KM แทรกในงานประจำ
ขอรับ

  1. นำ AARแทรกตอนจบงานประชุมทุกงานว่า
    วันนี้ข้าน้อยได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการประชุมครั้งนี้
    จะนำกลับไปทำอะไรได้บ้าง
    และพยายามให้ทุกคนมีโอกาสได้พูด สิ่งสำคัญบรรยากาศต้องไม่เหม็น เอ้ย ต้อง(กลิ่น)ดี
  2. AAR ทุกครั้งที่มีเวลาคุยกับใครนานพอ
    ไม่ว่าจะโทรศัพย์หรือยืนคุยก็ตาม
    แต่ไม่บอกนะว่าผมกำลังทำ AAR อยู่
    โดยจะสรุปทวนให้ฟังว่า ผมเข้าใจและได้รู้อย่างนี้นะ
    และจะนำเรื่องนี้ไปทำยังไงต่อ
  3. AAR จากการอ่านเรื่องต่างๆ ตรงนี้ผมรู้สึกว่าจะทำได้ยากหน่อยแต่อยากทำเพราะ
    ทุกวันนี้ผมอ่านเรื่องต่างๆ จาก G2K ก็มาก
    แต่ไม่เคยคิดทำ AAR เท่าไหร่เพราะความรู้มันเยอะจนน่ากลัว (ขี้เกียจพิมพ์อะ)
    บวกกับถ้ามัวนั่งคิดก็อ่านได้นิดเดียวนะสิ เลยขอเป็นแค่คนอ่านมาเรื่อยๆ
    แต่ก็เริ่มรู้ว่า ความรู้ถ้ามันอยู่นอกตัวมันก็จำไม่ได้ซะที
    ต้องอาศัยการเขียนและลงมือจะช่วยให้จำง่ายขึ้น

ว่าแล้วก็มาดูการบ้านการทำ AAR (ไ้ด้รู้อะไรจากงาน) ของอาร์ทิตย์ที่ผ่านมาซะเลย

  1. เริ่มจากของกลุ่มงานตัวเองก่อนขอรับ ได้คุยกับพี่วิไลวรรณที่เป็นหัวหน้ากลุ่มงานเรื่องการทำ KM ในกลุ่มงาน และได้ทบทวนความรูุ้้้จากการอบรมอีกครั้งนั่นคือ การมองต่างมุม เนื่องจากพี่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารทำให้ผมได้มองการนำ KM ไปใช้อีกมุมหนึ่งขึ้น คือ การนำไปใช้ทั้งกลุ่มงานและการทำหน้าที่การประสานงาน
    ของพี่เขาว่าจะไปใช้เยี่ยงไร ผมเองตอบไม่ได้มากเพราะไม่รู้การทำงานแบบละเอียด ได้คิดอีกว่าทำไมอ.ทรงพลจึงคิดว่าการทำ AAR น่าจะเป็นเครื่องมือที่ดีสุดสำหรับการบ้านนี้

  2. ต่อมา คือ เรื่องการเข้าประชุมกลุ่มเบาหวาน ได้ดูการนำเสนอของหมออรุณแล้ว รสึกว่ารูปภาพรูปเดียวสื่อความหมายได้ดีกว่าเอกสารเป็นหน้า นั่นคือ "รูปน้ำอัดลมกับน้ำตาล 6 ช้อน" และหัวข้อเดียวกันนี้เองผมแอบคุยกับพี่พยาบาลด้านข้าง
    ได้ความรู้เพิ่มมาอีกว่าถ้าเทียบกับอะไรที่เข้าใจง่าย คนไข้จะเข้าใจได้ดีกว่ากันเยอะไปอีก เช่น ข้าวต้ม, กาแฟ ที่คนไข้กินบ่อย ผมก็คุยกันต่อเพลิน และสรุปความคิดได้ว่า "เราควรนำเสนอสิ่งที่คนไข้ได้กินจริง จะทำให้คนไข้เรียนรู้ได้ดี" ส่วนการนำมาปฎิบัติผมคิดไอเดียคร่าวๆ ว่าต้องถามคนไข้ในแบบสอบถามก่อนว่ากินอะไรประจำอยู่ (แน่นอนว่าต้องให้เขากล้าเขียน บรรยากาศต้องดีย้ำ)
    หรือไม่ก็ทำกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างคนไข้ว่า ได้กินอะไรกันบ้างในแต่ละวันเพราะอะไร
    และ คิดว่ากินถูกไหม (อันนี้อาจตบท้ายภายหลังเพื่อไม่ให้บรรยากาศลบ)

  3. จากคนไข้เบาหวานที่มาปรึกษาตอนเวรดึก (22 ธค. เวลาราว 22:00 น.คุยราว 30 นาที) สดๆ ร้อนๆ นี่เองและ เป็นเคสที่ทำให้ผมอยากมาบันทึก
    เนื่องจากเจ้าตัวกลุ้มใจกับอาการของตัวเองมาก (เครียดจนผมร่วง) ช่วงแรกแกจะคุยอยู่เรื่องของแกนาน (โชคดีที่คนไข้ไม่มาก) จนในที่สุดก็เข้าประเด็นได้ว่า แกอยากได้ยาฉีดเบาหวานที่ดีที่สุด สาเหตุที่มาวันนี้
    เพราะน้ำตาลตกจากที่หมอเปลี่ยนยาฉีดตัวใหม่ให้
    ผมสนใจมากเลย ถามและฟังแกคุยลึกๆ ไปเรื่อยๆจนแกยอมบอกว่าที่แกเป็นเช่นนี้เพราะ
    แกกินไม่เป็นเวลาเป็นผลพวงมาจากเวลา งานไม่แน่นอนผมเลยได้ไอเดียจากแกนี่แหละแนะนำไปว่า
    "ควรบอกแพทย์ตามนี้เลยครับ แพทย์จะได้สั่ยาฉีดที่แบบออกฤทธิ์นาน
    ซึ่งน่าจะคุมได้ดีกว่าตัวที่แบบผสมที่ได้อยู่"
    ถึงตรงนี้คนไข้ก็ขอบคุณผมซะมากมายจนผมตกใจ
    และไ้ด้ลาจากด้วยความรู้สึกดีๆ
    บทเรียนนี้ทำให้ผมได้คิดว่า
    การที่คนไข้กล้าบอกความจริงกับเรานี่เป็นเรื่องที่ยากอย่าง
    รายนี้แกมีความตั้งใจเต็มที่ๆจะแก้ปัญหา
    แต่แกไม่กล้าเล่าความจริงอาจกลัวถูกตำหนิหรือต่อว่า
    จากพวกเราที่ให้บริการ
    บรรยากาศในการพูดคุยจึงเป็นสิ่งสำคัญมากๆ รวมถึงเวลาที่จะให้กับคนที่ปรึกษาต้องมากพอ
    เพื่อให้เราเก็บแต้มความเอาใจใส่ให้คนไข้ได้เห็น
    จนยิงประตูเปิดใจได้ (ข้อนี้อาจทำได้ยากถ้ามีคนไข้รอมาก)
    และการคุยพยายามยกหัวเรื่องให้กว้างไม่มองแค่เรื่องยาอย่างเดียว ให้มองทั้งชีวิตของเขา
    เพื่อคนไข้เข้าประเด็นที่เป็นปัญหาชีวิตจริงของเขาได้ตรง
    ซึ่งผมยกเรื่องการคุมอาหารเข้าไปตรงนี้ คนไข้เลยเล่าเรื่องอาหารของเขาออกมา
    การนำไปใช้ต่อ

    อืม..ตรงนี้จะลำบากไม่น้อยเพราะแต่ละเคสทริกคงต่างกันมาก
    ในการเปิดใจคนไข้แต่ละราย แต่ผมสรุปได้ว่าคนไข้รายนี้ผมใช้การจ้องมองหน้าคนไข้ กระตุ้นให้เจ้าตัวอยากเล่าต่อ รวมทั้งไม่ตำหนิหรือต่อว่ารวมทั้งต่อไปจะลิสต์รายการ
    สิ่งที่ส่งผลเกี่ยวข้องไว้คุยด้วย ตอนนี้ลิสต์ได้กว้างๆ ดังนี้ครับ
  • อาหาร
  • การออกกำลัง
  • ยา
  • ครอบครัว/คนใกล้ชิด
  • ความเชื่อ(ตามท้องถิ่นและจากสื่อต่างๆ)
คิดว่าหากนำไปคุยกับพี่ๆพยาบาลที่ให้คำปรึกษาด้วย
น่าจะต่อยอดได้มากกว่านี้นะขอรับ ไม่แน่อาจทำเป็นฟอนร์มออกมาเลยก็ได้ จะได้ถามครบ
เท่านี้ก่อนนะขอรับเพราะรู้สึกมึนแล้ว ความรู้ที่เหลือน่าจะเป็นมุมมองมากว่า ไมีไอเดียแต่ว่าการนำมาปฎิบัติน่าจะยากเหมือนกันเพราะ คนอื่นคงมองต่างจากข้าน้อย 
ขอให้ผู้อ่านทุกท่านหลับฝันดีขอรับ
ปล.นึกเสริมได้ การจะมานั่งเขียนบันทึกได้ต้องมีแรงบันดาลใจมากจริงๆ ขอรับ ไม่เช่นนั้นข้าน้อยคงไม่ถ่างตามาอบันทึกเช่นนี้
รวมแรงบันดาลใจและแรงกระตุ้นจากหลายคน ที่ทำให้บันทึกออกมาได้เยอะขนาดนี้
  • อ.ทรงพลที่ให้การบ้านมา
  • คนไข้ผู้น่ารัก
  • พี่ขวัญที่แวะมาเตือนเรื่องการบ้านคืนนี้เอง
  • พี่วิไลวรรณที่กระตุ้นถามเรื่องการทำ KM ทำให้ผมนึกได้ว่ามีการบ้านอยู่ เหอๆ
  • คุณอเนกจากบล็อก dmthatpanom
  • คุณศิริรัตน์จากบล็อก krabihosp (แอบเอาเข้าแพลเน็ตแล้วขอรับ หุๆ)
  • อยากรู้มากๆ ว่าศิษย์ร่วมรุ่น อ.ทรงพลคนอื่นได้ทำการบ้านอะยัง แล้วทำแล้วเป็นไงมั่ง
บันทึกด้วยเวลาเกือบหนึ่งชั่วโมงเต็ม ฟี้ๆๆๆ
บันทึกความสำเร็จ
เขียนได้เยอะกว่าที่คาดมาก คาดว่าบรรยากาศค่ำคืนช่วยหนุน รวมทั้งการไปค้นอ่านจาก G2K ทำให้เปิดตาและใจได้กว้างขึ้น
การเขียนเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าแบบนิทานอีสบ
ทำให้ผมพิมพ์ได้เพลินดีขอรับ
บันทึกความล้มเหลว
เป้าหมายในการบันทึกความรู้จาก G2K ล้มเหลวครับผม
การบันทึกตามฟอร์มที่ออกแบบไว้ ล้มเหลวครับผม
แต่ได้ฟอร์มใหม่มาไม่รู้ว่าดีหรือไม่ดีเนี่ย
(การบ้านข้อแรกใจฟูหรือฟุบ ตอบว่าฟูแล้วฟุบ
เพราะนึกว่าต้องบันทึกให้ครบกว่านี้แล้วเหี่ยวเลยขอรับ)

หมายเลขบันทึก: 155461เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2007 03:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ศิริรัตน์ LAB สถาบันบำราศ

 

ยังไม่ได้ทำการบ้าน อจ เลย ท่านศิษย์ ร่วมสำนัก

การบ้านประจำวันยังทยอยทำอยู่

มีเพื่อนแล้วนะ แต่อย่างนิ่งนอนใจ

เหลือเวลา 8 วันทำรหลังปีใหม่ สำหรับ พี่

กำลังสงสัยว่าจะส่งรายงานกันแบบไหน

สงสัยเช่นเดียวกับพี่ศิริรัตน์เหมือนกันขอรับ

เพราะได้ลองถามหลายคนแล้วก็ยังไม่มีรูปแบบตายตัวเท่าไหร่ อย่างที่ผมทำก็เป็นฟอร์มที่ทำมาส่วนตัวเองและไม่คิดว่า อ.จะอ่านบันทึกทุกวันของแต่ละคน น่าจะให้ทุกคนสรุปสิ่งที่ได้ทั้งหมด (รวบยอดทั้งเดือน) มาให้ อ.มากกว่ามั้งขอรับ

เข้ามาเยี่ยมค่ะ

ดีใจที่เห็นการพัฒนา

หมอช่วยตรวจที่การไฟฟ้าพบว่าคุณหมอบางท่านดุคนไข้จังทำให้คนไข้ไม่กล้าเล่าให้หมอฟังถึงปัญหาเรื่องการใช้ยาไม่ถูกต้อง

เมตตาคนไข้ให้มากๆและฟังปัญหาด้วยความเห็นใจน่าจะทำให้คนไข้กล้าเล่ามากขึ้นค่ะ (จากประสบการณ์ค่ะ   )

ขอบคุณครับที่ให้ข้อคิดเห็น

เห็ฯด้วยครับ คนไข้แต่ละคนย่อมมีปัญหาไม่เหมือนกัน การที่เขาทำได้บ้าง ไม่ได้บ้างย่อมมีสาเหตุ เราต้องช่วยแบ็คอัพให้เขาค้นหาให้เจอเองและแก้ไขได้เองจะดีที่สุดขอรับ (ความเห็ฯเฉพาะผมนะ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท