อิรวดี : สายน้ำเอกเทศกับการเมืองเรื่องเอกภาพ


“รักของพี่ที่มีต่อน้อง สัตย์ซื่อเนานานมิผันแปร จวบจนชีวิตจักหาไม่ ตราบแม้นอิรวดีดำรงไหล” เป็นคารมเรียบง่ายที่หนุ่มพม่ามักใช้ยืนยันความรักต่อ
อิรวดี : สายน้ำเอกเทศกับการเมืองเรื่องเอกภาพ
“รักของพี่ที่มีต่อน้อง
สัตย์ซื่อเนานานมิผันแปร
จวบจนชีวิตจักหาไม่
ตราบแม้นอิรวดีดำรงไหล”
เป็นคารมเรียบง่ายที่หนุ่มพม่ามักใช้ยืนยันความรักต่อหญิงสาวโดยชักเอาแม่น้ำอิรวดีมาอ้างให้สาวได้เชื่อมั่นหรือตายใจ พม่าจะถือว่าแม่น้ำอิรวดีนั้นให้กำเนิดแผ่นดินเมียนมาและมีคุณต่อชาวเมียนมาเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิดและชุบเลี้ยง อิรวดีจึงเป็นอุปมาบ่งถึงสัจจะอันมั่นคงดุจความรักของแม่ที่มีต่อลูก และยิ่งลึกซึ้งกินใจเมื่อผูกสัมพันธ์กับความรักระหว่างหนุ่มสาว  นอกจากนี้แม่น้ำอิรวดียังถูกกำหนดนามอีกหลากหลาย อาทิ มหานทีอิรวดี (e,0NWdutVik;9u) สิริโฉมนที (]axglke,0N) แม่น้ำทรายทอง (gU­lce,0N) รัตนานที (i9oke,0N) ไอยรามหานที (C'Ne,0NWdut) และสิงคานทีสุวรรณามหานที (lb8§jomugU­e,0NWdut) จากอุปมาและฉายาดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าแม่น้ำอิรวดีมีคุณค่าทางความรู้สึกต่อชาวพม่ามิใช่เพียงแค่ประโยชน์จากการได้อาศัยยังชีพ
แม่น้ำอิรวดี หรือที่พม่าเรียกว่า เอยาวดี (Vik;9ue,0N)นั้นมีอายุราว ๔๕ ล้านปี เชื่อกันว่าเดิมปากน้ำอิรวดีเคยอยู่ทางตอนกลางประเทศ แล้วค่อยๆตื้นเขินจากการทับถมของตะกอนดินและการระเบิดของภูเขาไฟโปปา(x6x»jt)จนปากน้ำได้เลื่อนลงมาจนถึงเมืองแปร และที่สุดมาออกสู่ทะเล ณ มณฑลเอยาวดีดังปัจจุบัน นั่นคือตะกอนดินจากอิรวดีได้ค่อยๆก่อตัวเป็นแผ่นดินเชื่อมต่อพื้นที่สูงจากเทือกเขายะไข่ทางด้านตะวันตกกับพื้นที่ราบสูงรัฐฉานทางด้านตะวันออกให้เป็นแผ่นดินเดียว อีกทั้งในพื้นที่ปากน้ำยังคงมีการขยายตัวของแผ่นดินตลอดเวลา กล่าวคือทุกรอบ ๑๐๐ ปี จะมีการงอกตัวของชายฝั่งทะเลอันดามันให้บังเกิดเป็นแผ่นดินใหม่เพิ่มขึ้นราว ๖ กิโลเมตร หรือเฉลี่ยปีละราว ๖๐ เมตร ด้วยเหตุนี้ชาวพม่าจึงชื่นชมต่อพลังของสายน้ำอิรวดีว่าเป็นดุจมารดาผู้ให้กำเนิดแผ่นดินเมียนมา และพม่ายังเอ่ยว่าหากขาดอิรวดีเสียแล้วก็มิอาจมีแผ่นดินเมียนมาขึ้นมาได้
แม่น้ำอิรวดีเป็นลำน้ำใหญ่สายหลักของประเทศสหภาพพม่า มีต้นน้ำ ลำน้ำ และปลายทางของสายน้ำอยู่เฉพาะในประเทศเมียนมา ระยะทางจากต้นน้ำถึงปากน้ำยาวถึง ๒,๑๗๐ กิโลเมตร โดยไหลเริ่มจากจุดบรรจบของลำน้ำเมขะ(g,-)และลำน้ำมลิขะ(,]b-)ทางภาคเหนือในรัฐกะฉิ่น ล่องลงผ่านขุนเขาทางตอนบนและทุ่งราบตรงใจกลางประเทศ แล้วมาสิ้นสุดลง ณ ทะเลอันดามันทางตอนล่าง จากความกว้างใหญ่และไหลยาวไกลอย่างเป็นเอกเทศเช่นนี้ แม่น้ำอิรวดีจึงถูกเปรียบเป็นดุจเส้นเลือดใหญ่เพื่อชาวเมียนมาและแผ่นดินเมียนมาเพียงผืนเดียว จนอาจกล่าวได้ว่าอิรวดีนั้นถูกตีกำหนดให้เป็นเอกสิทธิ์อันน่าลุ่มหลงสำหรับชาวเมียนมาโดยเฉพาะ
นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันชาวเมียนมาต่างอาศัยลำน้ำอิรวดีในการดื่มใช้และทำเกษตรเลี้ยงชีพตลอดมา อีกทั้งอิรวดียังเป็นเส้นทางคมนาคมที่เรือยนต์ขนส่งสามารถขึ้นล่องตลอดปีได้ไกลถึง ๑,๔๕๐ กิโลเมตรจากปากน้ำตอนล่างไปจนถึงเมืองพะมอในเขตรัฐกะฉิ่น อิรวดีนอกจากจะเป็นสายน้ำที่กว้างใหญ่แล้วยังให้น้ำที่ใสสะอาด จนกล่าวกันว่าสามารถนำน้ำจากอิรวดีในช่วงนอกฤดูฝนมาดื่มกินได้โดยมิต้องต้มกรอง อีกทั้งพม่ายังกล่าวอย่างซึ้งใจว่าสายน้ำอิรวดีมิเคยแผลงความพิโรธให้บังเกิดความทุกข์ยากต่อชาวเมียนมาดุจแม่ที่ย่อมไม่คร่าชีวิตลูก แม่น้ำอิรวดีจึงมักได้รับการกล่าวถึงในแง่พระคุณแห่งชีวิตที่มีต่อชาวเมียนมา มากกว่าที่จะนึกไปถึงว่าครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์เมื่อกว่า ๑๐๐ ปีก่อนนั้น แม่น้ำอิรวดีเคยถูกเจ้าอาณานิคมอังกฤษใช้ลำเลียงพลเป็นกองเรือขึ้นมาล่มสลายราชวงศ์อันเก่าแก่ให้สิ้นไปจากแผ่นดินเมียนมา การคิดไปในทำนองเช่นนี้ถือเป็นแนวคิดนอกกระแสที่ควรเอ่ยถึงอย่างระวัง
พม่ากล่าวว่าประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเมียนมากว่า ๑,๐๐๐ ปีต่างมีกำเนิดอยู่บนพื้นที่ริมรายสองฝั่งน้ำอิรวดี ดังระบุว่ามีราชธานีโบราณสำคัญหลายแห่งในช่วงกว่า ๒,๘๐๐ ปี นับแต่ก่อนคริสตศักราช ๙๐๐ มาจนถึง ค.ศ. ๑๘๘๕ ต่างตั้งอยู่ใกล้กับฝั่งน้ำอิรวดี ราชธานีดังกล่าว ได้แก่ ตะกอง (9gdk'Nt) ศรีเกษตร (lgig-9µik) พุกาม (x68") ปีงยะ (x'Ntp) สะกาย(00Nd6b'Nt) อังวะ(v'Nt;) อมรปุระ(v,ix^i) และรัตนา-โป่ง (i9okx6") หรือมัณฑะเล  เว้นเพียงบางราชธานีเท่านั้นที่อยู่ห่างจากแม่น้ำอิรวดี ดังเมืองตองอู(g9k'N'^)เป็นอาทิ ในปัจจุบันมีเมืองสำคัญทางเศรษฐกิจของพม่ากว่า ๓๐ เมืองที่ตั้งอยู่ ณ ริมแม่น้ำอิรวดี หากนับไล่จากเหนือมาใต้มีอาทิ มิตจีนา(e,0NWdutokt) พะมอ(roNtg,kN) ชเวกู(gU­d^) กะตา(dlk) ทีไช่(5ut-y7b'NH) ตะกอง(9gdk'Nt) ตะเบ๊ะจีง(lxb9Ndy'Nt) มัณฑะเล(,Oµg]t) สะกาย(00Nd6b'Nt) อังวะ(v'Nt;) เมียงมู(e,'Nt,^) เมียงฉั่ง(e,'Ntw-") พะโคะกู่(x-6d¡&) พุกาม(x68") เช่าก์(g-ykdN) ซะเหล่(0g]) เยนันชอง(gio"g-yk'Nt) มะเกว(,gd:t) เมียงบู(,'Nt4^t) เมียงหละ(,'Nt]a) มิจองแย(,bgdyk'Ntic) อองหลั่ง(gvk'N]") ตะแยะ(lidN) แปร(exPN) เมียงอ่อง(e,oNgvk'N) จั่งคีง(Wd"-'Nt) หีงตาดะ(sl§k9) ธนุผยู(TO6ez&) ญองโดง(gPk'N96oNt) และมะอูปีง(,v^x'N) เป็นต้น การที่ชุมชนใหญ่ๆต่างอาศัยพึ่งพาแม่น้ำอิรวดีมายาวนานเช่นนี้ เป็นการยืนยันความคิดที่ว่าแม่น้ำอิรวดีคือแหล่งสั่งสมอารยธรรมของชาวเมียนมาอันสำคัญและยิ่งใหญ่กว่าสายน้ำอื่นในแผ่นดินเมียนมา คล้ายจะสื่อให้เห็นว่าสายน้ำอื่นในพื้นที่ชายขอบมิใช่แหล่งอารยธรรมสำคัญ และชาวพม่าก็เป็นผู้นำในการสร้างอารยธรรมร่วมกับอิรวดีซึ่งไหลผ่านพื้นที่มณฑลต่างๆตรงใจกลางประเทศ
อย่างไรก็ตาม แม่น้ำอิรวดียังถูกกำหนดให้เป็นสัญลักษณ์ของความสมัครสมานสามัคคีและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว โดยพม่ากล่าวว่าแม้สายน้ำอิรวดีจะอยู่ตรงกลางประเทศและชนที่อาศัยอยู่ส่วนใหญ่เป็นชาวพม่าก็ตาม แต่ตลอดลำน้ำอิรวดีนั้นยังมีลำน้ำสายย่อยอีกมากมายที่ต่างไหลมาจากแผ่นดินรอบนอกเข้ามาบรรจบกับแม่น้ำอิรวดี ทำให้เสมือนว่าพื้นที่รอบนอกที่ชนเผ่าต่างๆอาศัยอยู่นั้นต่างมีส่วนร่วมในการให้กำเนิดลำน้ำอิรวดีซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของแผ่นดินเมียนมา และในทางกลับกันยังย้ำว่าทุกชนชาตินอกเขตอารยธรรมหลักต่างก็มีส่วนใช้ประโยชน์จากสายน้ำเดียวกันนี้ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ดังคำกล่าวที่ได้ยินอยู่บ่อยๆทางสื่อของรัฐเพื่อยืนยันว่าชนทุกเผ่าพันธุ์ในแผนดินเมียนมา ต่าง อยู่ร่วมดิน กินร่วมน้ำ (9ge,9PNtgo 9gi9PNtglkdN) แม่น้ำอิรวดีจึงถูกใช้สะท้อนความเป็นเอกภาพ โดยกำหนดการร่วมอยู่และความเป็นหนึ่งเดียวให้เป็นสามัญลักษณ์ของเมียนมา และมองพหุลักษณ์และความแปลกแยกว่าเป็นอุปสรรคต่อการเมืองและการพัฒนา ด้วยเหตุนี้การพัฒนาพื้นที่ใจกลางประเทศแถบลุ่มอิรวดีจึงได้รับการเอาใจใส่มากกว่าพื้นที่ชายขอบซึ่งรัฐมักอ้างว่าอยู่เหนือการควบคุม  แต่ผลคือช่องว่างของการพัฒนากลับขยายกว้างและทิ้งค้างมานาน
ปัจจุบัน การพัฒนาประเทศให้มั่นคง ก้าวหน้า และทันสมัยเป็นเจตนาหนึ่งที่รัฐบาลพม่าประกาศอยู่เสมอ โดยมีการเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อหมายรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมไว้หลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลได้หันมาตระหนักว่าสายน้ำอิรวดีเป็นอุปสรรคสำคัญของการพัฒนาพื้นที่ฟากตะวันตก และทำให้พื้นที่ฟากตะวันตกของแม่น้ำอิรวดีขาดการพัฒนาและตัดขาดจากความเจริญมานาน รัฐบาลจึงเร่งดำเนินโครงการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำอิรวดีขึ้นอีกหลายจุด โดยในช่วงปี ค.ศ. ๑๙๙๗ - ๒๐๐๓ ได้มีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำอิรวดีขึ้นใหม่ถึง ๖ แห่ง ได้แก่ สะพานบะละมีงถี่ง(r],'Nt5'N)ในรัฐกะฉิ่น สะพานอโนรธา(vgokNi5k) และสะพานมีงบู-มะเกว(,'Nt4^t3,gd:t) ในมณฑลมะเกว สะพานนวเด(o;gmt)ที่เมืองแปร สะพานโบเมียตทวน(r6b]Ne,9N5:oNt) และสะพานมะอูบีง(,v^x'N)ในมณฑลเอยาวดี รัฐบาลพม่าคาดหมายว่าสะพานข้ามแม่น้ำอิรวดีเหล่านี้จะทำให้ความเจริญจากส่วนกลางไหลไปสู่พื้นที่รอบนอกในที่สุด
ผลจากความสำเร็จของโครงการดังกล่าวยังได้ถูกนำมาใช้เป็นสื่อโฆษณาทางการเมืองในด้านเอกภาพของชาติและศักยภาพของรัฐบาลเป็นดั่งปกติ โดยกล่าวว่าสะพานดังกล่าวจะช่วยเชื่อมให้ประชาชนทั่วประเทศมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ถือเป็นอานิสงส์จากการที่ผู้นำจากกองทัพแห่งชาติมีความปรารถนาดีต่อประเทศและประชาชน ต่างจากผู้นำในยุคอาณานิคมที่ครอบครองประเทศเมียนมากว่า ๑ ศตวรรษ แต่สามารถสร้างสะพานอังวะข้ามแม่น้ำอิรวดีได้เพียงแห่งเดียว (สะพานอังวะเริ่มสร้างเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.๑๙๒๗ และเปิดใช้ในวันที่ ๒ มกราคม ค.ศ. ๑๙๓๔) และสร้างไว้เพียงเพื่อกอบโกยทรัพยากรธรรมชาติไปจากแผ่นดินเมียนมา เจ้าอาณานิคมในอดีตยังถูกเย้ยหยันว่าไม่สมกับฐานะของมหาอำนาจที่เคยมีฉายาว่า “จักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ที่อาทิตย์ไม่มีวันลับฟ้า”  การเอาชนะอุปสรรคจากแม่น้ำอิรวดีเพื่อเชื่อมการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจสองฟากฝั่งน้ำให้เท่าเทียมกันนั้น จึงถูกใช้ยืนยันว่ารัฐบาลทหารมีความจริงใจต่อประชาชนอย่างแท้จริง
จากฉายาและคำอุปมาต่อแม่น้ำอิรวดีอันหลากหลาย อาทิ สัจจะนิรันดร เส้นเลือดใหญ่ ผู้ให้กำเนิดแผ่นดิน พระคุณแห่งชีวิต  แหล่งอารยธรรม เอกภาพจากการอยู่ร่วมดินกินร่วมน้ำ จนปัจจุบันอิรวดีเป็นอุปสรรคของการกระจายความเจริญสู่ชนบท นั้น ต่างสนับสนุนแนวทางการพัฒนาพื้นที่จากส่วนกลาง และการที่รัฐเองได้พยายามสื่อสารให้ประชาชนได้รับรู้อยู่ตลอดว่าสายน้ำอิรวดีอันเป็นเอกเทศจะพาความเจริญให้กระจายไปทั่วแผ่นดินและผูกสัมพันธ์ทุกชนชาติให้เป็นเอกภาพนั้น จึงอาจเป็นเพียงวาทกรรมทางการเมืองแบบรวมศูนย์ ที่รัฐมักอาศัยการควบคุม สั่งการ และสื่อถึงมวลชนให้มองสรรพสิ่งและสภาวการณ์อย่างตายตัวและในทิศทางเดียว โดยหวังให้ประชาชนส่วนที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาหยุดนิ่งทางการเมือง แล้วยอมให้การเมืองเรื่องเอกภาพแบบผูกขาดอำนาจเป็นทางเลือกเดียวไปด้วย ดังนั้นการผูกยึดให้ลุ่มน้ำอิรวดีเป็นศูนย์กลางอารยธรรมและความเจริญของประเทศจึงสะท้อนได้ว่าแนวคิดทางการเมืองและการพัฒนาของพม่าอาจยังมองพื้นที่ชายขอบของรัฐให้เป็นรองเหมือนดั่งที่เป็นมาแต่อดีต  
วิรัช นิยมธรรม
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15537เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 18:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 18:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท