เด็กๆจะไม่ทำตามสิ่งที่พ่อแม่พูด แต่จะทำตามสิ่งที่พ่อแม่ทำ


การดุด่าว่าให้อายเป็นคำตัดสินจากผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าตัวเด็ก ซึ่งทำให้เด็กรู้สึกเล็กลงและรู้สึกว่าตนเองไม่มีพลังอำนาจ บางครั้งทำให้เด็กๆกลับทิศทาง ชดเชยความสูญเสียในอำนาจของตนเอง โดยผลักดันสิ่งนี้ไปยังผู้อื่นซึ่งโดยปกติจะเล็กหรืออ่อนแอกว่า

(ตอนที่ ๑ "ให้ลูกเป็น "เด็กดี" ต้องจ่ายเท่าไร?) 

บางครั้งสิ่งที่เราโทษว่าเป็น ความประพฤติที่ไม่ดีแท้ที่จริงแล้วเป็นความพยายามของเด็กที่จะตอบสนองสิ่งที่ตนเองต้องการโดยวิธีที่ดีที่สุดที่เขารู้
หรือ เป็นความพยายามที่เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ  ยิ่งพ่อแม่สามารถยอมรับสิ่งเหล่านี้ได้มากเท่าไร

ความพยายามที่จะดุด่าลูกของเราก็จะมีน้อยลงเท่านั้น 

ยกตัวอย่างเช่น
เป็นธรรมดาของเด็กวัยเตาะแตะที่จะงก วางตัวเป็นเจ้าของ และอยากรู้อยากเห็น 
เป็นปกติของเด็กสองขวบที่ไม่สามารถรอคอยเมื่อพวกเขาต้องการบางสิ่งบางอย่าง
เพราะพวกเขายังไม่เข้าใจเรื่องของเวลาแบบผู้ใหญ่ 
เป็นธรรมดาของเด็กสามขวบที่จะไม่ค่อยเชื่อฟังและบางครั้งก้าวร้าว 
แต่ถ้าพวกเราดุด่าเขาแทนที่จะสั่งสอน
พวกเราก็กำลังขัดขวางกระบวนการเรียนรู้ที่มีคุณค่า
และเราก็จะสูญเสียโอกาสที่จะเรียนรู้สิ่งที่เด็กต้องการ  
ขอบเขตที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ  แต่ถ้าเด็กถูกดุด่าว่าให้อายเมื่อพวกเขาเริ่มต้นที่จะ
โบยบินอย่างกระท่อนกระแท่นสู่ความเป็นตัวของตัวเอง
พวกเขาจะถูกขัดขวางจากการเดินทางสู่ความเป็นผู้ใหญ่และความมั่นใจในตัวเอง 
จากช่วงวัยสองขวบที่ซุกซนไปอีก 2-3 ปี
เด็กๆกำลังพยายามค้นหาว่าตัวเขาเองจะกำหนดขอบเขตของตัวเองได้อย่างไร
พวกเขาเรียนรู้ที่จะบอกถึงความเป็นตัวของตัวเองและความประสงค์ที่ตัวเองมุ่งมั่น (will) 
เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญถ้าหากเราต้องการให้เขาเรียนรู้ที่จะยืนบนขาของตัวเอง
มีความแข็งแรงพอที่จะรักษาสิทธิของตัวเอง
(เช่นไม่ยอมขายคะแนนเสียงเลือกตั้ง)
และสามารถต้านทานแรงกดดันต่างๆที่มีต่อตัวเขาเมื่อพวกเขาโตขึ้น (เช่นสามารถปฏิเสธเมื่อเพื่อนมาชวนให้เสพยา บุหรี่ ฯลฯ) 
แต่ถ้าพ่อแม่บดขยี้ความท้าทายไม่เชื่อฟังของพวกเขา
และดุด่าว่าให้อายจนเด็กๆยอมจำนน นั่นเท่ากับว่า เรากำลังสอนพวกเขาว่า การที่พวกเขาจะกำหนดขอบเขตของตัวเองเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้  
บางครั้งเรามักคิดว่าเด็กๆ ประพฤติไม่ดี  แต่สิ่งนั้นเป็นข้อจำกัดของพัฒนาการของเด็กตามวัยของเขาหรือเปล่า 


ตัวอย่างที่หนึ่ง
เด็กอายุแปดเดือนคลานไปเจอบางอย่างที่มีแสงวูบวาบและมีเสียงน่าสนใจ
เขาดึงตัวเองยืนขึ้นและเอื้อมมือไปสำรวจ
เขาไม่รู้ว่ามันเป็นเครื่องเล่นสเตอริโอราคาแพงที่พ่อรักมาก
แม่มาถึงก็ตีมือดังเพี๊ยะแล้วบอกว่าอย่าซน เด็กเริ่มร้องไห้
เด็กอายุแปดเดือนจะแยกออกได้อย่างไรระหว่าง
เครื่องเล่นสเตอริโอของพ่อกับของเล่นที่มีไฟและเสียง (เช่นรถหวอ เครื่องบินเด็กเล่น) ที่พ่อแม่เคยอนุญาตให้เขาเล่นได้   
อีกตัวอย่างหนึ่ง
คุณแม่พาลูกสาวอายุสี่ขวบออกจากห้างสรรพสินค้า
เด็กร้องไห้สะอึกสะอื้นขณะที่ตามแม่มาที่รถ
หยุดเดี๋ยวนี้นะ...เด็กขี้แยแม่ดุ 
เด็กๆมักจะถูกดุหรือว่าเมื่อพวกเขาร้องไห้ ผู้คนเป็นจำนวนมากเชื่อว่าเด็กๆที่ร้องไห้กำลังประพฤติตัวไม่ดี
แต่เราได้ค้นคว้าหาสาเหตุที่แท้จริงหรือเปล่า 
การแสดงอารมณ์ออกมาอย่างรุนแรง
เช่นความโกรธและความเสียใจ-
เป็นวิถีทางธรรมชาติของเด็กที่จะปรับสภาพของระบบประสาทของพวกเขา
และในขณะเดียวกันก็เป็นการพยายามที่จะสื่อสารถึงความต้องการของตัวเอง 
เด็กๆจะร้องให้เมื่อถูกทำให้เศร้าโศกเสียใจ เจ็บปวดใจ (hurt)
และพวกเขาก็มีสิทธิที่จะแสดงออกถึงความเจ็บปวดที่ได้รับ
ถึงแม้ว่าบางทีผู้ใหญ่ไม่อยากฟังสิ่งเหล่านี้
แต่ต้องพึงระลึกเสมอว่ามันเป็นปฏิกริยาที่ปกติและ
แสดงถึงสุขภาพที่ดีของอารมณ์
และเป็นสิ่งที่ควรได้รับความสนใจ 
เป็นเรื่องน่าเศร้าสลดที่เรามักจะเห็นเด็กๆถูกดุหรือว่าเมื่อพวกเขาร้องไห้ 
พวกผู้ใหญ่อาจต้องพยายามศึกษาหาความรู้ใหม่ๆเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก
ซึ่งหลายๆอย่างก็เพิ่งถูกค้นพบเมื่อไม่นานมานี้
เพื่อประเมินถึงความคาดหวังในตัวเด็กที่เหมาะสมและปฏิบัติจริงได้
และสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ทั้งพ่อแม่และลูกมีความสุขมากขึ้น
  
แล้วจะเป็นไปได้หรือที่เราจะเข้าใจถึงเหตุที่เป็นแรงกระตุ้นให้พวกเขา ประพฤติตัวไม่ดีแทนที่จะดุด่าว่าให้อาย?  แล้วความประพฤติที่ ไม่ดีเป็นผลที่เกิดจากปฏิกริยาของอะไร?เมื่อเราไม่พยายามเข้าใจถึงพฤติกรรมที่ ไม่ดีของเด็กๆ เรากำลังเสี่ยงอย่างมากที่จะไม่ตอบสนองหรือละเลยความต้องการของพวกเขา
ยกตัวอย่างเช่นบางทีเด็กๆอาจทำตัวก้าวร้าวซ้ำแล้วซ้ำอีก มากกว่าที่ผู้ใหญ่คาดหวังที่จะพบกับเด็กๆในช่วงอายุเดียวกัน -
สิ่งนี้อาจมีสาเหตุมาจาก
การเกิดความขัดแย้งที่บ้าน
การโดนรังแกที่โรงเรียน
หรือการแข่งขันกันระหว่างพี่น้อง- 
สิ่งที่เราพบบ่อยๆก็คือปรากฎการณ์ของพฤติกรรมที่ ไม่ดีเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าเด็กนั้นอาจกำลังถูกทำร้าย
(อาจจะทั้งทางกาย หรือ จิตใจ)อยู่ 
งานวิจัยมากมายแสดงให้เราเห็นว่าพฤติกรรมต่อต้านสังคมทั้งหลายของเด็ก
เช่นการมีความมุ่งร้าย หรือ การวางตัวเป็นผู้มีอิทธิพล
เป็นปฏิกริยาของเด็กที่ตกเป็นเหยื่อของการถูกกระทำบางอย่าง
เด็กๆมักจะแสดงออกมาอย่างก้าวร้าวเมื่อรู้สึกเจ็บปวดทางจิตใจ
เมื่อพวกเขาไม่สามารถหาทางออกที่ปลอดภัยที่จะแสดงให้เราเห็นว่าพวกเขากำลังถูกทำร้ายอยู่  
โดยความเป็นจริงความอายเองอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
ทั้งนี้เพราะการดุด่าว่าให้อายเป็นคำตัดสินจากผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าตัวเด็ก
ซึ่งทำให้เด็กรู้สึกเล็กลงและรู้สึกว่าตนเองไม่มีพลังอำนาจ 
บางครั้งทำให้เด็กๆกลับทิศทาง
ชดเชยความสูญเสียในอำนาจของตนเอง
โดยผลักดันสิ่งนี้ไปยังผู้อื่น
ซึ่งโดยปกติจะเล็กหรืออ่อนแอกว่า
โดยปกติเด็กๆจะอ่อนไหวต่อความกระเพื่อมในสภาพแวดล้อมของตัวเองมาก 
พวกเขาจะสามารถรับรู้ถึงความตึงเครียดระหว่างพ่อแม่หรือสมาชิกอื่นๆในครอบครัว 
บางครั้งพฤติกรรมที่ไม่ดีอาจเป็นปฏิกริยาของเด็กต่อความตึงเครียดเหล่านี้  
เด็กๆมักไม่ค่อยแสดงออกอย่างผิดปกติ หากพวกเขาได้รับความสนใจที่เพียงพอ
เมื่อความกระหายที่จะได้เล่น ได้ค้นพบ หรือได้ปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์คนอื่นๆได้รับการตอบสนอง
และท้ายที่สุดพฤติกรรมของเด็กๆที่แสดงอาการออกมา
อาจจะมาจากสิ่งง่ายๆเช่นเหนื่อยเกินไป
หรือ ฉันไม่ไหวแล้ว
ลองมามองย้อนกลับดู
ถ้าผู้ใหญ่ตะโกนใส่เด็ก
หรือลงโทษเด็กด้วยคำพูดหรือดุด่า
พวกเราผู้ใหญ่กำลังทำวิธีแบบเดียวกับเด็กๆหรือเปล่า 
สิ่งนี้น่าจะเป็นพฤติกรรมที่ ไม่ดีของผู้ใหญ่หรือเปล่า
(เด็กร้องไห้ เราบอกว่าเด็กวีน ถ้าผู้ใหญ่ตะโกนดุว่าเด็กจะเรียกว่าผู้ใหญ่วีนหรือเปล่า?) 
พวกเราพ่อแม่มักจะปฏิบัติต่อลูกเหมือนกับที่เราถูกปฏิบัติมา 
เป็นที่รู้กันดีว่า ความรุนแรงสามารถถ่ายทอดผ่านรุ่นสู่รุ่น
พ่อแม่เป็นจำนวนมากตระหนักได้ดีว่า พวกเขาดุด่าว่ากล่าวลูกเหมือนกับที่
พวกเขาเคยถูกดุด่าว่ากล่าวโดยพ่อแม่หรือครูของพวกเขา
พวกที่ลืมไปถึงความเจ็บปวดและอับอายจากการถูกดุด่า
มักจะไม่ค่อยอ่อนไหว
หรือรู้สึกรู้สาเมื่อพวกเขาดุด่าลูกของพวกเขาเอง 
ดังนั้นพยายามรำลึกถึงความรู้สึกเก่าๆว่าเวลาที่พวกเราเป็นเด็ก
และโดนพ่อแม่หรือครูดุด่าแล้วรู้สึกอย่างไร
ความเข้าอกเข้าใจจิตใจของเด็กโดยรำลึกถึงความรู้สึกตอนที่พ่อแม่เป็นเด็กเอง
อาจช่วยให้ผู้ใหญ่สามารถสั่งสอนเด็กได้โดยไม่ต้องดุด่า 
ในฐานะเป็นพ่อแม่
เป็นเรื่องปกติที่จะพบว่าบ่อยครั้งเราต้องดิ้นรน เหน็ดเหนื่อย
หรือเข้าใกล้จุดเดือดของอารมณ์ 
เมื่อเราไม่สามารถพบหนทางที่จะปลดปล่อยความท้อแท้เหล่านี้
เราจะมีความเสี่ยงที่จะผันอารมณ์เหล่านี้ไปที่ลูกๆของเรา 
ถึงแม้ความรำคาญใจจะเป็นเรื่องปกติของการเป็นพ่อแม่ 
แต่ก็ไม่ใช่เป็นเพราะเด็กๆ      เรียกร้องมากเกินไป
เด็กก็คือเด็ก  และความจริงที่ว่า
การเลี้ยงดูเด็กเป็นเรื่องยากลำบาก
ก็ไม่ใช่ความผิดของเด็ก
มีหลายวิธีที่จะปลดปล่อยอารมณ์โกรธของพ่อแม่
เช่นไปตัดฟืน ไปเดินเล่น หรือไปบ่นกับเพื่อน 
ความสามารถในการอดทนต่อเรื่องยากลำบากมีขอบเขตจำกัด นี่เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์  การที่พ่อแม่พบว่าตัวเองมีความเครียดมากเกินไปอาจจะเนื่องมาจากความเชื่อที่ว่า เราใช้คนเพียงสองคน (บางทีคนเดียว) ในการเลี้ยงดูเด็ก 
สังคมแบบเสพนิยมของเราประเมินพลังงานที่ต้องตอบสนองความต้องการของเด็กต่ำเกินไป   
เราอาจจะหลีกเลี่ยงการดุด่าว่ากล่าวเด็กได้โดยร้องขอ
หรือยอมรับความช่วยเหลือจากเพื่อนๆและจากชุมชนของเรา 
เมื่อเราได้ยินเสียงของตัวเราเองดุด่าว่ากล่าวเด็กๆ
สิ่งนี้อาจเป็นสัญญาณว่าเราอาจต้องการความช่วยเหลือแล้ว  
การกำหนดขอบเขตโดยมีความเคารพซึ่งกันและกัน
หมายถึงการบอกกล่าวข้อความเกี่ยวกับความต้องการหรืออารมณ์ของตัวพ่อหรือแม่เองอย่างแข็งแรง
ไม่ใช่เป็นการบอกกล่าวเชิงลบเกี่ยวกับเด็ก 
โดยวิธีนี้เด็กๆจะค่อยๆพัฒนาความสามารถในการรับฟังและเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น 
เด็กๆจะได้รับประโยชน์จากการแสดงออกทางอารมณ์โดยเปิดเผย
จากการที่ได้เห็นพ่อหรือแม่โกรธ หรือ หัวเสีย 
พ่อแม่สามารถโกรธลูกได้และสามารถแสดงให้เขาเห็นว่ารู้สึกไม่ชอบในบางสิ่งบางอย่างที่พวกเขาทำ
(ตราบเท่าที่พ่อแม่ไม่ได้ทำให้ลูกช็อกหรือหวาดกลัว)
 
เด็กๆจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อพวกเขาสามารถได้เห็นถึงผลกระทบของพฤติกรรมของเขาต่อความรู้สึกของคนอื่น  ในที่สุดมันจะช่วยให้เด็กๆฟังและเคารพความรู้สึกของพ่อแม่ถ้าหากสิทธิในการแสดงออกทางอารมณ์ของพวกเขาได้รับการเคารพด้วยความเท่าเทียมกัน  
บางครั้งเราอาจจะต้องเข้าแทรกแทรงการกระทำบางอย่างของเด็ก
เมื่อเราคาดการณ์ว่าอาจมีการบาดเจ็บของคน หรือ ข้าวของที่สำคัญเสียหาย 
โดยทั่วๆไปผู้ใหญ่มักดุด่าว่ากล่าวเมื่อเกิดพฤติกรรมทำนองนี้ 
แต่ก็น่าจะมีวิธีการอื่นๆ เช่นการเสนอทางเลือกใหม่ของกิจกรรมที่ปลอดภัยกว่าให้เด็กๆแทนที่จะดุด่าว่ากล่าวเด็กๆ
การเป็นแบบอย่างที่ดีเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการสอนเด็ก  เด็กๆจะไม่ทำตามสิ่งที่พ่อแม่พูด แต่จะทำตามสิ่งที่พ่อแม่ทำ 
ความเคารพที่พวกเขาแสดงต่อผู้อื่นและต่อตัวเองเป็นภาพสะท้อนของความเคารพที่ผู้อื่นมีต่อตัวเขา
และความเคารพระหว่างบุคคลที่มีความสำคัญในชีวิตของพวกเขาที่พวกเขาได้รับรู้ 
พวกเราเป็นแบบอย่างที่ดีในพฤติกรรมที่เราอยากให้เด็กๆของพวกเราแสดงออกหรือเปล่า? 

สรุป
คนจำนวนมากยังเชื่อว่าการเฆี่ยนตี และการดุด่าว่ากล่าว
เป็นยาแก้เพียงอย่างเดียวที่จะป้องกันไม่ให้เด็กมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม 
คำแนะนำที่ให้เลิกการดุด่าว่ากล่าวหรือเฆี่ยนตีถูกแปลความอย่างผิดๆว่า
เป็นความพยายามที่จะลดทอนอำนาจของพ่อแม่  
ความจริงไม่ใช่เช่นนั้น
เราสามารถกำหนดขอบเขตที่มีประสิทธิภาพและแข็งแรงได้
โดยปราศจากความรุนแรงหรือการดุด่า 
เด็กๆที่ได้เห็นถึงขอบเขตที่พ่อแม่กำหนดโดยพ่อแม่มีความเชื่อมั่น
และมีความเคารพในตัวลูกจะเติบโตขึ้นโดยมีความมั่นคง
เชื่อมั่นในคุณค่าของตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม 
----------------------------------------------------------------------

หมายเหตุ  ถอดความจากบทความ“Good” Children – at What Price? The Secret Cost of Shameโดย Robin Grille and Beth Macgregor จาก website http://www.naturalchild.com/robin_grille/good_children.htmlทั้งคู่เป็นนักจิตวิทยาชาวออสเตรเลีย โดย Robin Grille ยังเป็นนักจิตบำบัด (Psychotherapist) เขามีเขียนบทความเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก วิธีการเป็นพ่อแม่ (Parenting) สัมพันธภาพในครอบครัว ผลงานล่าสุดของเขาคือหนังสือที่ชื่อว่า Parenting for a Peaceful World ซึ่งเขาได้อธิบายถึง modeต่างๆของการเลี้ยงดูเด็กในประวัติศาสตร์ ที่ผ่านมา, วิธีการเลี้ยงลูกมีอิทธิพลต่อชะตากรรมของชาติและสังคมอย่างไร, ธรรมชาติของการเลี้ยงลูกแบบอำนาจนิยมและเราจะเปลี่ยน modeจากการเป็นอำนาจนิยมไปสู่ modeช่วยเหลือได้อย่างไร, อารมณ์และบุคคลิกภาพของเด็กมีความเกี่ยวพันกับพัฒนาการของสมองอย่างไร และพัฒนาการของอารมณปัญญา(Emotional Intelligence)ของเด็กๆเกิดขึ้นได้อย่างไร

ถอดความโดย ป๊าคม พ่อน้องพล อนุบาล 1/1

(โรงเรียนเพลินพัฒนา www.plearnpattana.com)

หมายเลขบันทึก: 155336เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2007 11:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ขอบคุณค่ะ สำหรับบทความดีดี น้อยคนจะให้ความสนใจ แต่เป็นสิ่งยิ่งใหญ่ สำหรับคนตัวเล็ก หัวใจโตของเรา อนาคตของชาติ จะมีพ่อแม่สักคนจะเรียนรู้ สัมผัสเข้าใจจิตใจของลูก เด็กคนนั้นเขาจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่น่ารัก และมีความมั่นคงทางจิตใจ แยกแยะผิดชอบชั่วดีได้ คิดดีได้ด้วยตัวเอง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท