ธรรมชาติของนักวิจัย


นักวิจัยชอบถามคำถามที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า ทำไม นักวิจัยชอบการเปรียบเทียบ ทั้งนี้เพื่อให้รู้ว่างานนี้เคยทำมาก่อนหรือไม่ มีข้อบกพร่องอย่างไร และมีข้อดีกว่างานอื่นอย่างไร นักวิจัยทำงานวิจัยแบบไม่มีอคติ ยอมรับฟังแนวความคิดใหม่ๆ ทดสอบและพัฒนาความคิดอยู่เสมอ นักวิจัยที่ดีไม่ใช่ผู้ที่รู้ทุกอย่าง แต่เป็นผู้ที่รู้ว่าถ้ามีปัญหาใดๆ แล้วจะหาคำตอบได้อย่างไร และลงมือทำ นักวิจัยใช้ข้อมูลในการอ้างอิง ไม่พูดลอยๆ โดยไม่มีหลักฐาน นักวิจัยตรวจสอบข้อมูลอย่างวิพากษ์ทั้งของตัวเองและผู้อื่น อย่างเช่น ข้อมูลที่เก็บได้ดีพอหรือยัง ถูกต้องไหม มีวิธีเก็บข้อมูลที่ดีกว่าหรือเปล่า ตีความหรือวิเคราะห์ถูกต้องหรือยัง เป็นต้น นักวิจัยต้องการข้อมูลที่เป็นระบบ ใช้การได้ น่าเชื่อถือ นักวิจัยสามารถบอกถึงข้อจำกัดของวิธีที่ใช้ศึกษา และบอกถึงแนวคิดในการพัฒนางานวิจัยต่อไปได้ อย่างเช่น หาสิ่งที่ดีกว่า หาผลที่ได้มีประโยชน์มากกว่า หาวิธีทดลองที่ให้ผลที่ถูกต้องมากกว่า หาวิธีวัดที่ละเอียดกว่า ฯลฯ เพราะผลการทดลองที่ไม่น่าเชื่อถือจะไม่สามารถนำไปใช้งานหรือเปรียบเทียบกับผลการคำนวณได้ สิ่งที่สำคัญมากคือเมื่อนักวิจัยเข้าใจปัญหาหนึ่งๆ แล้วสามารถขยายความรู้นี้เพื่ออธิบายปรากฏการณ์อื่นๆ ด้วย
คำสำคัญ (Tags): #การวิจัย
หมายเลขบันทึก: 155295เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2007 08:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • การทำอะไรใหม่ๆๆคนมักไม่ชอบเช่นการวิจัยบุกเบิก
  • เอารูปมาให้ดูก่อนนะครับ

    

สวัสดีค่ะ อาจารย์อุดมศิลป์

พอดีว่าดิฉันเห็นอาจารย์เขียนบันทึกเกี่ยวกับการวิจัยไว้หลายบันทึก

ดิฉันเลยคิดว่าเผื่ออาจารย์อยากจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักวิจัยท่านอื่นๆ เลยอยากลองแนะนำ Researchers.in.th คะ

หากพอมีเวลาว่างลองเข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน Researchers.in.th  บ้างนะค่ะ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท