สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย (www.clt.or.th)


ตอนที่ 3
          วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2511  พันเอกสุรินทร์  ชลประเสริฐ รองปลัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาตคิ ตำแหน่งนายทะเบียนสหกรณ์ได้รับจดทะเบียนสันนิบาตสหกรณ์ฯ เป็นสมาคมสหกรณ์ ประเภทชุมนุมสหกรณ์ ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 มีชื่อว่า "สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย จำกัดสินใช้" ในวันเดียวกัน ฯพณฯ นายพจน์ สารสิน  รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ได้เป็นประธานประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารสำนักงานสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยด้วย (อาคารหลังนี้ก่อสร้างและทำพิธีเปิดป้ายเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2511 เฉพาะตัวอาคารมีมูลค่า 1,532,660.-บาท เมื่อนับรวมค่าตกแต่งภายใน ค่าติดตั้งไฟฟ้า ค่าติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ค่าติดตั้งน้ำประปา ค่าปรับปรุงถนน และทำสนามหญ้ากับไม้ประดับเข้าด้วยกันรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,115,256.-บาท
          บ่ายวันเดียวกันหล้งจากเสร็จพิธีวางศิลาฤกษ์แล้ว คณะกรรมการดำเนินการได้ประชุมกัน เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหาร และผู้จะทำหน้าที่ผู้อำนวยการชั่วคราว ที่ประชุมลงมติให้มีคณะกรรมการบริหาร จำนวน 9 นาย ประกอบด้วยฝ่ายผู้แทนสหกรณ์ 5 นาย และฝ่ายเอกชน 4 นาย ดังมีรายนามต่อไปนี้
          คณะกรรมการฝ่ายผู้แทนสหกรณ์
          1.  นายอัมพร     ณ  ป้อมเพชร์
          2.  นายชาตรี      ชีพัฒน
          3.  นายวิชาญ     สง่าศรี
          4.  นายชื้น          ทองสาริ
          5.  นายคริ้ม        แฟงรอด
          กรรมการบริหารฝ่ายเอกชน
          1.  นายยุทธดนัย    ชินะโชติ
          2.  นายสมฤทธิ์     เลิศบุศย์
          3.  นายมนู            วิริยานนท์
          4.  นายสุธี            สิงห์เสน่ห์
สำหรับผ้ทำหน้าที่ผู้อำนวยการชั่วคราว  ได้แก่ นายยุทธดนัย  ชินะโชติ
          วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2511  หลักจากได้รับจดทะเบียนแล้ว  ประมาณ 60 วัน สันนิบาติสหรณ์แห่งประเทสไทย ก็ได้เริ่มจัดให้มีการประชุมใหญ่ขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการ นายปกรณ์  อังศุสิงห์  ประธานกรรมการดำเนินการ ได้กล่าวชี้แจงเกี่ยวกับการจัดตั้งสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย  โดยสรุปว่า  ทุกๆ ประเทศที่ได้จัดตั้งสันนิบาตสหกรณ์ฯ ขึ้น ก็เพื่อให้สหกรณ์ทั้งหลายรวมกัน  โดยมีศูนย์ปฏิบัติงานอันเป็นศูนย์กลางช่วยเหลือสหกรร์ที่เป็นสมาชิกทั้งในด้านวิชาการและอื่น ๆ เพราะทางราชการไม่มีโอกาสทราบความต้องการต่าง ๆ ของสหกรณืได้ดีเท่ากับสหกรณ์เอง  ดังนั้นสันนิบาตสหกรณ์ฯ จึงเป็นผู้รับเอางานต่างๆ ที่สหกรณ์ต้องการให้แก้ไขปัญหาและอำนวยความช่วยเหลือจากทางราชการ สำหรับสหกรณ์ในประเทศไทยได้ก่อตั้งมาเป็นเวลา 50 กว่าปีแล้วแต่ยังไม่มีสันนิบาตสหกรณฯ ที่จะให้ความช่วยเหลือและแนะนำต่าง ๆ จำต้องอาศัยกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติและกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานสหกรณ์เป็นเครื่องมือให้ความช่วยเหลือในการดำเนินงาน เพื่อเร่งรัดความก้าวหน้าแห่งขบวนการสหกรณ์ จึงควรมีสันนิบาตสหกรณ์ฯ เป็นศูนย์กลางให้ความช่วยเหลือแก่สหกรณ์ต่าง ๆ จึงได้จัดตั้งสันนิบาตสหกรณ์ฯ ขึ้น เพื่อแบ่งเบาภาระของรัฐบาลและดำเนินการต่าง ๆ อันเป็นการช่วยเหลือสมาชิก ตลอดจนชักจูงให้สหกรณ์ทั้งหลายรู้จักการช่วยตนเองด้วย ดังนั้นในการเลือกกรรมการจึงควรเลือกมาจากผู้แทนสหกรณ์ต่าง ๆ ให้มากที่สุด  เพราะจะได้รู้ถึงสภาพและความต้องการของสมาชิกเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ความช่วยเหลือและขจัดปัดเป่าปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
          ผลการเลือกตั้งคณะกรรมการในวันนี้ ปรากฎว่า ที่ประชุมลงมติให้คณะกรรมการดำเนินการชุดเดิมเป็นคณะกรรมการดำเนินงานต่อไปชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อนเนื่องจากที่ประชุมยังไม่พร้อมที่จะเลือกจากบุคคลอื่นได้
          ครั้นเมื่อถึง วันที่ 19 มิถุนายน 2511  ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511  ยังผลให้สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย จำกัดสินใช้ เปลี่ยนฐานจากการเป็น สหกรณ์ มาเป็นสถาบัน มีชื่อว่า "สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย"
หมายเลขบันทึก: 154947เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2007 13:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สวัสดีครับน้องปุย
  • ตั้งใจมาแวะเยี่ยมครับ
  • ขอบคุณที่นำความรู้ที่มีประโยชน์มาแบ่งปัน

สวัสดีครับ

        แวะมาทักทาย ทำให้ผมเข้าใจเรื่องสหกรณ์ได้มากครับ ขอบคุณแล้วผมจะค่อยติดตามครับ

สวัสดี คุณสาริณี

เมื่อวันที่ 27 ก.พ.ที่ผ่านมา ผมได้รับเกียรติจาก สันนิบาตสหกรณ์ฯ เชิญเข้าประชุม ในฐานะคณะกรรมการบริหารหลักสูตร "ผู้นำ สหกรณ์ชั้นสูง"  ผมชื่นชมเจ้าหน้าที่ทุกคน ที่ทำการต้อนรับ ทุกคนเสมอต้น เสมอปลาย มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สูง  ชื่นชม ผอ.วิทย์  และขอให้กำลังใจมา  ผมทราบดีว่า การบริหารโครงการแบบนี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย และก็มีหลายเรื่อง หลายโครงการที่ท่านบริหารอยู่ 

โดยภาพรวม ลูกค้าพึงพอใจ ลูกค้าคือผู้เข้าร่วมสัมมนา  แต่ยังมีตัวชี้วัดความสำเร็จ อีก สองประการใหญ่ ๆ ก็คือ ผลการดำเนินการของโครงการ(เน้นมาตรฐานสากล และไม่ขาดทุน) อีกตัวชี้วัดหนึ่ง คือ ความสุข ความพึงพอใจของทีมงานบริหารโครงการ  หมายความ อะไรที่คนทำงานรู้สึกว่า น่าจะปรับปรุง น่าจะทำให้ดีขึ้น ก็ต้องมีเวทีให้แสดงความเห็น แล้วนำมาสู่การปฏิบัติ

มีอีกหลายเรื่องที่ผมคิดว่าน่าจะนำมาหารือกัน เช่น

  1. แนวทางในการลดต้นทุนการดำเนินการ มีประเด็นใดบ้างที่สามารถทำได้ ใช้ยุทธศาสตร์ Cost Leadership
  2. แนวทางในการเพิ่มรายได้ในการลงทุน บริหารโครงการมีช่องทางใดบ้าง
  3. ความถี่ในการจัดอบรม ขอให้พิจารณา ถึงความต้องการของลูกค้าด้วย เท่าที่ทราบมีกฎว่า ผู้ที่จะเข้ามาเป็นผู้นำสหกรณ์ ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน โดยเฉพาะต้องมีความรู้ และผ่านการอบรมหลักสูตรนี้   เมื่อเป็นเช่นนั้น  ต้องหาตัวเลขจำนวนกลุ่มเป้าหมาย และหาทางสนองความต้องการของลูกค้า ด้วยหลักการ ที่ว่า เร็วกว่า ดีกว่า ถูกกว่า เพราะผู้เข้ารับการอบรม จำเป็นต้องนำความรู้ไปเพาะบ่มฝึกฝน และมีโค๊ช ให้คำแนะนำเชิงกลยุทธ์
  4. ทีมงาน ที่พิทยาลงกรณ์ ผู้รับผิดชอบโครงการ ก็ควรหารือ คณะกรรมการบริหารหลักสูตร ให้มาก ให้บ่อยขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ไปสร้างความหนักใจให้ ผอ. วิทย์
  5. การกำหนดคุณสมบัติและบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ไม่แน่ใจว่า มีหรือไม่  ถ้าไม่มี ควรต้องจัดทำขึ้นมา และมีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ ของคณะกรรมการบริหารฯ ด้วย ควรต้องชัดเจนในสิ่งเหล่านี้ เพื่อคัดคนมีคุณภาพเข้ามาทำงาน และมีการวัดผลงานมีการประเมิน 360 องศา โดย สันนิบาตฯ แล้วนำผลที่ได้มาพิจารณา ปรับปรุงคณะกรรมการบริหาร ต่อไป สิ่งเหล่านี้ น่าจะถือเป็นกติกา และแจ้งให้คณะกรรมการบริหารฯ ทราบล่วงหน้าก่อนเข้า ผมเชื่อว่า คนเก่ง คนดี จะไม่มีปัญหาใดๆ

สุดท้ายนี้ ผมคิดว่า การดำเนินการที่ผ่านมา เป็นประโยชน์ต่อสหกรณ์โดยรวมของประเทศ ในการสร้างผู้นำ ที่มีคุณภาพให้วงการสหกรณ์  ขอชื่นชมทุกคนที่สันนิบาตสหกรณ์ฯ  ที่มีอุดมการณ์ในการทำงานเช่นนี้ ขอให้ทุกท่านโชคดี

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท