beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

ความคิดที่จะนำ KM มาประยุกต์เพื่อใช้ในงาน Mobile Unit


ในการออกหน่วยฯ แต่ละครั้ง เรามีคณะและหน่วยงานซึ่งร่วมออกหน่วยเกือบ 20 หน่วยงาน

   ความเดิม : ในปี 2549 (ม.ค.-ธ.ค.49) หน่วยบริการเคลื่อนที่เพื่อพัฒนาสุขภาพและอาชีพประชาชน หรือ Mobile Unit ของมหาวิทยาลัยนเรศวร มีโครงการที่จะออกให้บริการประชาชนในพื้นที่ 2 จังหวัด คือ จังหวัดตาก กับ สุโขทัย โดยมีกำหนดการออกหน่วยดังต่อไปนี้

 

วันที่

สถานที่ 

หมายเหตุ 

 14-15 ม.ค. 49  ตำบลวังน้ำขาว อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย  ดำเนินการแล้ว
 18-19 ก.พ. 49  ตำบลด่านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก  กำลังดำเนินการ
 18-19 มี.ค. 49  ตำบลบ้านน้ำพุ อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย

 -

 22-23 เม.ย. 49  ตำบลพระธาตุ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก

 -

 27-28 พ.ค. 49  ตำบลท่าฉนวน อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย

 -

 24-25 มิ.ย. 49  ตำบลโป่งแดง อำเภอเมือง จังหวัดตาก

 -

 22-23 ก.ค. 49  ตำบลบ้านไร่ อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย

 -

 19-20 ส.ค. 49  ตำบลแม่สลิด อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก

 -

 16-17 ก.ย. 49  ตำบลหนองกลับ อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย

 -

 14-15 ต.ค. 49  ตำบลวังหมัน อำเภอสามเงา จังหวัดตาก

 -

 18-19 พ.ย. 49  ตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์ อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย

 -

 23-24 ธ.ค. 49  ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

 -

     

    แนวนโยบายของ Mobile Unit ปีนี้ เปลี่ยนแปลงจากปีที่แล้วไปบ้าง เช่น คณะแพทย์ศาสตร์ เปลี่ยนนโยบายการออกตรวจบริการทางด้านสุขภาพ จากการตรวจรักษาทั่วไป มาเป็นการตรวจรักษาเฉพาะทาง เน้นด้านโรคหัวใจและโรคตา (สลับกันเดือนเว้นเดือน) ทำให้การบริการทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพเกือบทั้งหมด ต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

   แนวนโยบายสำหรับปี 49 นี้ มุ่งเน้นที่จะนำงานวิจัยลงพื้นที่ หรือนำปัญหาพื้นที่มาเป็นโจทย์ในการวิจัย แต่ในทางปฏิบัติคงทำได้ค่อนข้างยากสักหน่อย แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ แต่อาจใช้เวลานาน

   ช่วงที่ท่านอาจารย์วิบูลย์ไปต่างประเทศนี้ ผมมีแนวความคิดที่จะนำ KM มาประยุกต์ใช้ในการออกหน่วยฯ ครับ (ขณะนี้เป็นแค่ความคิดครับ)

   เราอาจมอง KM ได้ 2 มิติ ดังนี้

  1. มอง KM เป็น Model เช่น Model ปลาทู ประกอบด้วย หัวปลาหรือ KV (Knowledge vision) + ตัวปลาหรือ KS (Knowledge Sharing) + หางปลาหรือ KA (Knowledge Assets) 
  2. มอง KM เป็นเครื่องมือ เป็น Tool หรือ Techniques ซึ่งเทคนิกที่น่าจะนำมาใช้ได้คือ storrytelling เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับประสบการณ์การออกหน่วยฯ ที่เป็นความภาคภูมิใจของแต่ละคน (success story) ซึ่งเป็นการพูดแบบอาศัยประสบการณ์จากการปฏิบัติไม่เน้นทฤษฏีเป็นบท Dialogue ที่ผู้ฟังต้องฟัง ต้องฟังอย่างตั้งใจ (Deep listening) และมีผู้คอยจดบันทึก (note taker คุณลิขิต) เพื่อสกัดเป็นขุมความรู้ (Knowledge Assets) ต่อจากนั้น จากขุมความรู้ที่ได้จากประสบประการณ์ของแต่ละคน เราก็สามารถจะนำมาหาจุดที่คล้ายคลึงกันในวิธีปฏิบัติที่ทำให้ทำงานได้ประสบผลสำเร็จ หรือ Key to success อันจะนำมาซึ่ง แก่นความรู้หรือ core competence

    ในการออกหน่วยฯ แต่ละครั้ง เรามีคณะ และหน่วยงานซึ่งร่วมออกหน่วยแต่ละครั้ง เกือบ 20 หน่วยงาน เรามีพลังของความแตกต่าง หากเอาพลังของการแตกต่างมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) จะมีพลังอย่างมหาศาล คุ้มค่ากับงบประมาณที่เสียไปในแต่ละครั้ง เพื่อยกระดับความรู้ มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย (Research ฺBased-University)

   คุณประสาน (ผู้ประสานงาน Mobile : คุณวิภา) พร้อมทีมงาน อาจจะต้องทำงานหนักมากขึ้น และเพิ่มบทบาทของ คุณเอื้อ/คุณอำนวย ลงไปในตัวตนเพิ่มขึ้น ซึ่งหากว่ามันมีความสำเร็จอยู่ในผลงาน มันก็คุ้มค่าที่จะเหนื่อยเพิ่มขึ้น (ความจริงเหนื่อยเฉพาะช่วงแรกๆ แต่เมื่อทุกอย่างลงตัว ก็จะทำงานได้สบายขึ้น และจะมีคนมาช่วยงานเพิ่มขึ้น เพราะว่าจะเกิดคนคอเดียวกัน เพิ่มขึ้นมาก)

   ท้ายที่สุดนี้ขอฝากภาพ คุณประสาน (ผู้หญิงตัวเล็กๆ ที่มีพลัง) ยุคที่ 1 (คุณมีนา), ยุคที่ 2 (คุณเดือน), ยุคที่ 3 (คุณแอ๊ว)  ดังภาพ 3 G (Three girls) ข้างล่างนี้..

     
 

 
 

 ภาพ 3 girls ตัวเล็ก ๆ ผู้ประสานงาน Mobile (อดีตถึงปัจจุบัน)

 
 

 จากซ้ายไปขวา : คุณวิภา (แอ๊ว), คุณเดือน และคุณมีนา

 
     

(note : วันนี้ยังไม่ถึง 2 ทุ่ม มีผู้เข้ามาอ่านบันทึกในบล็อก 188 ครั้ง คาดว่าวันนี้เที่ยงคืนคงมีคนเข้ามาอ่านไม่ต่ำกว่า 220 ครั้ง ครับ)

หมายเลขบันทึก: 15490เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 19:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 15:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
โห! คิดได้ไงเนี่ย 3G Three girls 
  เรียน อ.สมลักษณ์
        วันที่ 21 ก.พ. นี้ที่จะจัดเสวนาคนเขียนบล็อกของหอสมุด ผมไม่แน่ใจว่าจะหายทันไม๊ ผมติดไข้อีสุกอีใสจากลูกครับ ถ้าไม่ทันจริงๆ ผมว่าที่หอสมุดมีคนเก่งๆ อยู่อีกหลายคนที่จะช่วยอาจารย์จัดกิจกรรมได้ครับ คือคุณวันเพ็ญ คุณขวัญตระกูล ส่วนเรื่องของขวัญผมขอเป็นหลังกิจกรรมวันที่ 6 มีนานะครับ

เรียนอ.หนึ่ง

   สมัยก่อนจำได้ว่า เป็นอีสุกอีใส คุณแม่ผมให้อาบน้ำขม (เอายาขมตราใบห่อมาละลายในน้ำเดือดแล้วผสมน้ำ เดี๋ยวนี้ยังมีขายอยู่หรือไม่ ไม่ทราบนะครับ ลองถามที่ร้านขายยาแผนโบราณ) และทานยาขมด้วยเป็นเม็ดๆ 2-3 วันก็หาย ครับ

 

คนละอย่างกับยาเขียวใช่ไหมครับ

ผมจำผิดไปเองครับ ความจริงคือยาเขียวตราใบห่อนั่นแหละครับ ถูกต้องแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท