เมื่อผ่าตัดครอบครัววิตกกังวลกลัวสารพัด


เราจะเผชิญปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไรกันดี มาช่วยกันนะคะเราเดินไปด้วยกันมาช่วยคิดช่วยทำค่ะ

Dscn1927

 นายแพทย์สงวน กล่าวว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความพิการในคนไทยในระดับต้นๆ และเป็นปัญหาของระบบสาธารณสุขไทย เมื่อเกิดอาการโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันแล้ว คนเหล่านี้ได้รับการรักษาภายใน 3 ชั่วโมง มีเพียงร้อยละ 1.96 เท่านั้น จึงทำให้อัตราการเสียชีวิตและความพิการสูงมาก ดังนั้นการมีระบบการดูแลรักษาที่ถูกต้องรวดเร็วและมีความพร้อมจะช่วยลดความพิการและอัตราเสียชีวิตลงได้ รวมถึงการมีหน่วยบริการที่มีความพร้อมทั้งด้านเครื่องมือและบุคลากรที่สามารถรักษาได้ทันท่วงที จะสามารถลดอัตราความพิการและการสูญเสียชีวิตลงได้ เป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วย ซึ่งหน่วยงานที่กล่าวมาจะได้ร่วมกันจัดระบบการดูแลโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร

ตั้งแต่การลงทะเบียนผู้ที่มีความเสี่ยงสูง การสร้างระบบเฝ้าระวัง การแจ้งนำส่ง การดูแลรักษาที่เป็นมาตรฐานและการฟื้นฟูดูแลรักษาต่อเนื่อง โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 มกราคม -31 ธันวาคม 2550 โดยมีหน่วยบริการเข้าร่วม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรงพยาบาลของโรงเรียนแพทย์ทั่วประเทศ คือ รพ.จุฬาลงกรณ์ รพ.พระมงกุฎเกล้า รพ.ศิริราช รพ.รามาธิบดี รพ.สงขลานครินทร์ รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ รพ.ราชวิถี และสถาบันประสาทวิทยา

นายแพทย์มัยธัช กล่าวว่า โรคหลอดเลือดสมองนั้น คนไทยเรียกโรคอัมพาต แต่ถ้าผู้ป่วยรายใดมีอาการไม่รุนแรงยังพอขยับได้เรียก โรคอัมพฤกษ์ ซึ่งโรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดของโรคทางระบบประสาทวิทยาที่รับไว้ในโรงพยาบาล เป็นสาเหตุการป่วยอันดับที่ 3 ในไทย รองจากโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน โดยมีประชาชนไทยป่วยเป็นโรคนี้ 242,023 ราย และยังมีประชาชนเสี่ยงที่จะป่วยจากโรคดังกล่าวอีกประมาณ 10 ล้านคน จากสถิติขององค์การอนามัยโลกรายงานล่าสุดเมื่อพ.ศ.2548 ประชาชนทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคนี้ปีละเกือบ 6 ล้านราย หรือประมาณ 10 % ของผู้เสียชีวิตทุกสาเหตุ เฉลี่ยตายนาทีละ 11 ราย โรคนี้ถ้าเป็นแล้วแม้รอดชีวิตก็มักจะมีความพิการหลงเหลืออยู่ ปัจจัยเสี่ยง คือ ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ โรคหัวใจ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง สัญญาณของโรคนี้ที่สำคัญ ได้แก่ เวียนศีรษะ เดินเซ แขนขาอ่อนแรง มีอาการชาครึ่งซีก พูดไม่ได้ พูดไม่ออก ปากเบี้ยว สับสน สำลักบ่อย อาจหมดสติ ต้องรีบพบแพทย์ด่วน

นายแพทย์มัยธัช กล่าวต่อว่า โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยลดปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว และถ้ารีบรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการก็อาจช่วยให้รอดชีวิต และมีความพิการน้อยลง หรือกลับไปทำงานได้ตามปกติ การป้องกันโรค โดยการออกกำลังกาย การปรับพฤติกรรมการกิน ไม่ควรกินเนื้อสัตว์ล้วนๆ กินผักผลไม้ให้ได้ครึ่งหนึ่ง ลดการกินอาหารไขมันสูง และงดการสูบบุหรี่ จากความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นการลดความพิการ พัฒนาและเพิ่มคุณภาพชีวิตในการชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองดีขึ้น ถือเป็นการพัฒนามาตรฐานและรูปแบบการป้องกันความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองและกระบวนการฟื้นฟูดูแลต่อเนื่องในประเทศไทย

ที่มา

http://www.songkhlahealth.org/index.php?file=news&obj=forum(745)

 

หมายเลขบันทึก: 154865เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2007 02:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท