การจัดการความรู้…กับบทบาทผู้นำการเปลี่ยนแปลง


การจัดการความรู้...เพื่อไม่ทำให้ระบบ, คน ... นิ่งอยู่กับที่ เพราะความนิ่ง คือความเสี่ยง
ความภูมิใจกับหนึ่งบทสนทนา “การจัดการความรู้…กับบทบาทผู้นำการเปลี่ยนแปลง” ที่ท่านอธิบดีกรมอนามัย ...นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา... ส่งผ่านเรื่องราวที่น่าเรียนรู้มาเล่าสู่กันฟังค่ะ

          คำถาม  ท่านอธิบดีมีความคิดเห็นอย่างไรค่ะกับประเด็น  “การจัดการความรู้และบทบาทผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง”

           คำตอบ  ....

   ·       ผู้นำต้องรู้เป้าหมายภารกิจหน่วยงานตนเองในเชิงภาพรวม 

   ·      ต้องมีความเข้าใจความคาดหวังของส่วนราชการและรัฐบาล เพื่อเพิ่มศักยภาพในตัวระบบ กระบวนการ และกำลังคนให้เกิดสัมฤทธิผลตามเป้าหมายที่พึงประสงค์บนรากฐานของข้อมูล องค์ความรู้ เทคโนโลยี กระบวนการมีส่วนร่วม ระบบที่ทำงานในองค์กร เครือข่าย

    ·        และต้องรู้ว่ามีอะไรอยู่ในมือ

    ·        มีการบริหารจัดการและการจัดการความรู้ว่า ทำอย่างไรจึงจะสกัดองค์ความรู้ ประสบการณ์ เพื่อช่วยสังเคราะห์แผนงาน-โครงการสู่เส้นทางความสำเร็จและเป้าหมายที่ต้องการและเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง (High Performance) ดังนั้นการจัดการเพื่อให้เกิดความสมดุลตามBSC(Balance Scorecard) จะนำไปสู่รากฐานสำคัญและเป็นกรอบนำไปสู่ความสำเร็จ

            ด้านหนึ่งของBSC คือ KM ซึ่งถือเป็นต้นทุนอันเป็นทรัพยากรสำคัญในองค์กร ทั้งในเรื่องคน ระบบข้อมูลข่าวสาร แหล่งข้อมูลต่างๆของหน่วยงาน

         สิ่งสำคัญคือ ผู้นำต้องเป็นแบบอย่าง ต้องกระตือรือร้น ไม่อยู่นิ่ง (Life Team) ช่วยสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ เชื่อมโยงเครือข่าย ด้วยการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือสัมมนาเพื่อขยายต่อยอดdimensionต่างๆ

KM กับการยอดความรู้สู่Innovation ...   คำถาม   มีหลายคนพูดถึงการจัดการความรู้และคาดหวังว่า สัมฤทธิผลของการจัดการความรู้น่าจะมีการต่อยอดความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปสู่ Innovation ท่านอธิบดีมีความเห็นอย่างไรค่ะ 

     ตอบ      Innovation มีLength ที่กว้างมาก  ในความหมายของ Innovation กับการจัดการความรู้นั้น รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อ

·         ให้เกิดแนวคิดใหม่ๆที่อาจเกิดจากการต่อยอด ขยาย หรือเชื่อมโยง

·         เปิดNew  Paradigm

·         ไม่ติดกรอบ

·         มีแนวคิดกว้างขึ้น

·         มีการบูรณาการหลายๆภาคส่วน

·         มองเห็นวิธีแก้ปัญหาที่สลับซับซ้อนมากขึ้น

·        หรือการมีProduct เป็นแผนงาน/โครงการ หรือ Finish product ที่จับต้องได้

·        หรือมีdeveloping product ต่อยอดจากของเดิมเป็นspiral

 การจัดการความรู้...เพื่อไม่ทำให้ระบบ, คน ... นิ่งอยู่กับที่(Stand Still)  ทำให้มี co-ordination  มีAttention   มีการรับฟังช่วยให้เกิดHarmony society    ส่งผลให้ใบร้องเรียนน้อยลง   โครงการต่างๆสามารถ accessมากขึ้น   สังคมปรองดองกันมากขึ้น เช่น มีกิจกรรมของหมู่เหล่าเพื่อความสามัคคีมากขึ้น   มีโครงการใหม่ๆที่เกิดจากการบูรณาการในกองฯมากขึ้น  มีการเชื่อมโยงประสานงานกัน  มีอัตราผู้เข้าร่วมประชุมจากหลากหลายกองฯมากขึ้น  มีInterventionร่วมกับท้องถิ่น ทำให้เกิดcoverageและคุณภาพ

 และสุดท้ายของประโยคที่ลึกซึ้งอย่างได้ใจความ...จากท่านอธิบดี คือ

 การจัดการความรู้นั้น เพื่อไม่ทำให้นิ่ง....เพราะความนิ่ง คือความเสี่ยง

เล็กๆน้อยๆจากบทสัมภาษณ์ในกาลอันสั้นนี้...นับเป็นหน่อแห่งปัญญาที่ลึกซึ้งในวิธีคิด ทีมงานและผู้เขียนจึงขออนุญาตขอบพระคุณท่านอธิบดีกรมอนามัย...นายแพทย์ณรงศ์ศักดิ์ อังคะสุวพลา...มา ณ โอกาสนี้ค่ะ

ลิขิต โดย ...ศรีวิภา เลี้ยงพันธุ์สกุล

๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐

และเผยแพร่เมื่อ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๐

หมายเลขบันทึก: 154762เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2007 16:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 11:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ท่านอธิบดี  ท่านใช้คำสั้นๆ  กระทัดรัด  เข้าใจมาก   เยี่ยมๆๆๆๆสมกับเป็นผู้บริหาร กรมอนามัย    นะคะ    

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท