การบริหารทรัพยากรมนุษย์


การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทรัพยากรในการบริหาร  4 M’S  คือ  คน  เงิน  วัสดุ  การจัดการ คน   เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญที่สุดเพราะคนเป็นผู้ปฏิบัติให้งานสำเร็จตามเป้าหมายขวัญ (Morale)  เป็นการแสดงออกทางภาวะจิตใจหรือ ความรู้สึก  ทัศนคติของคนในหน่วยงานที่มีต่องาน  ต่อบุคคลหรือเพื่อนร่วมงาน  ต่อ องค์การที่ตนปฏิบัติงานอยู่ ต่อความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายขององค์การ  ต่อความเชื่อมั่นตัวผู้นำ  ขวัญของคนในหน่วยงานจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบอยู่เสมอ  ดังคำกล่าวของ  รศ.นพพงษ์  บุญจิตราดุล  นักบริหารพึงสังวร จับชีพจรขวัญคนในหน่วยงานไว้เสมอ  ถ้าร่างกายเราถือว่าสุขภาพที่ดีวัดได้ด้วยความแข็งแรง  หน่วยงานเราจะมีความมั่นคงก็วัดได้ด้วยขวัญของคนในการทำงาน  ขวัญในหน่วยงานจะมองได้จาก  ทัศนคติของคนที่มีต่อหน่วยงานความกระตือรือร้นของคนทำงาน  ความสามัคคีกลมเกลียวของคนในหน่วยงาน  การมีส่วนร่วมช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆ  ที่มีขึ้นในหน่วยงาน  สิ่งจูงใจทำให้เกิดขวัญและกำลังใจ                ทฤษฎีการจูงใจ  ได้มีนักจิตวิยากล่าวอธิบายไว้มากมาย  แต่ศาสตราจารย์ Maslow  ดูเหมือนจะเป็นคนแรกที่ได้เสนอทฤษฎีทั่วไปเกี่ยวกับการจูงใจ เมื่อปี  ค.ศ. 1940  เป็นทฤษฏี  ที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายเขากล่าวว่า     มนุษย์เราทุกคนมีความต้องการเหมือนกัน แต่ความต้องการนั้นเป็นลำดับขั้น    ลำดับขั้นความต้องการมี  5  ลำดับขั้น  จากต่ำไปหาสูง ดังนี้1.       ความต้องการทางด้านร่างกาย  เป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์เช่น  อาหาร  ที่อยู่อาศัยเครื่องนุ่งห่ม  และความต้องการทางเพศ2.       ความต้องการความปลอดภัย   เป็นความต้องการที่ได้รับความคุ้มครองและความปลอดภัยทางด้านสุขภาพ  ทางด้านร่างการตลอดจนความมั่นคงในหน้าที่การงาน3.       ความต้องการทางด้านสังคม  เป็นความต้องการที่จะให้สังคมหรือองค์การยอมรับและเห็นสำคัญของเขาว่าเป็นสมาชิกขององค์การ  ในขั้นนี้มนุษย์ต้องการเพื่อน  ต้องการคบค้าสมาคม ต้องการมีครอบครัว  ต้องการความรักและความเห็นใจจากเพื่อนร่วมงาน4.       ความต้องการเกียรติ และศักดิ์ศรี    เป็นความต้องการอยากเด่นในสังคม  ได้แก่  ต้องการได้รับคำนิยมยกย่องจากผู้อื่น ต้องการความเชื่อมั่นในตนเอง  ต้องการเป็นที่ยอมรับนับถือของคนทั้งหลาย5.       ความต้องการความสำเร็จในชีวิต  เป็นความต้องการความสูงสุดของมนุษย์ เป็นความต้องการที่จะได้รับทุกสิ่งที่ตนปรารถนา  ต้องการพัฒนาความสามารถของตน  ต้องการกระทำสิ่งที่เหมาะสมและดีที่สุดที่จะกระทำได้                นอกจากนี้ก็มี ทฤษฎีการจูงใจของ  HERZBERG         ซึ่งกล่าวถึงปัจจัย  2  ปัจจัย  คือปัจจัยที่ทำให้เกิดความพึงพอใจในการทำงานกับปัจจัยที่ทำให้เกิดความไม่พึงพอใจในการทำงาน  ปัจจัยทั้งสองอย่าง  คือ 1.  ปัจจัยค้ำจุน   ปัจจัยนี้เป็นคัวทำให้ไม่พอใจ  มีความสัมพันธ์โดยตรงกับสิ่งแวดล้อมภายนอกเป็นแรงจูงใจภายนอกที่เกิดจากสภาวะการทำงาน  ได้แก่  1.1    นโยบายการบริหาร  1.2    ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
1.3    ความมั่นคงในงาน  1.4    สภาพแวดล้อมในการทำงาน  1.5    รายได้ และสวัสดิการ  2. ปัจจัยจูงใจ   ปัจจัยนี้เป็นคัวทำให้เกิดความพอใจ  มีความสัมพันธ์โดยตรงกับแรงจูงใจภายในที่เกิดจากงานที่ทำ  ได้แก่    2.1    ความสำเร็จในงาน   
2.2    การยอมรับนับถือ 2.3   ลักษณะงานที่ทำ  2.4   ความรับผิดชอบ หน้าในงานจากทั้งสองทฤษฎีนำไปสู่การสร้างขวัญและกำลังใจโดยใช้หลักการมอบหมายงาน
การทำงานร่วมกันมนุษย์สัมพันธ์    เช่น  การรับประทานอาหารร่วมกัน  กิจกรรมทำบุญร่วมกิจกรรมเยี่ยมบ้าน  ฯลฯ      

 ธรรมาภิบาล  ได้แก่  นิติธรรม  คุณธรรม  ความโปร่งใส  การมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบ   ความคุ้มค่า  สรุป (สุดท้าย)  ผู้บริหารมืออาชีพ  (Daniel E. Griffiths) 
1. ริ   ผู้นำในฐานะผู้มี ความคิดริเริ่ม    2. ปรับผู้นำในฐานะ ผู้จัดการปรับปรุงไข 
3. ยอมผู้นำในฐานะผู้ให้ การยอมรับนับถือ   4. ให้ผู้นำในฐานะผู้ให้ การช่วยเหลือ     5. พูดผู้นำในฐานะเป็น ผู้พูดที่เก่ง     6. สานผู้นำในฐานะผู้ ประสานงานที่ดี  7. เข้าผู้นำในฐานะผู้ เข้าสังคมได้ดี  8. เปลี่ยนผู้นำในฐานะ นักเปลี่ยนแปลง  9. ฐานผู้นำในฐานะผู้ วางพื้นฐานหรือควบคุมมาตรฐานทางพฤติกรรมให้กับผู้อื่น 
1.       ครองตน  
               
-  มีคุณธรรม  จริยธรรม
               
- พัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ  
               -เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง  
2.       ครองคน
             
- บริหารงานแบบมีส่วนร่วม
             -
พัฒนาครูตามแนวปฏิรูป
           
-   ส่งเสริมการวิจัย 
3.    ครองงาน 
             
- เป็นนักวางแผน
              
- เป็นผู้นำด้านวิชาการ 
              
- บริหารทรัพยากรอย่างมีคุณภาพ 
             
- บริหารจัดการเพื่อสังคมและชุมชน
             
-  ใช้เทคนิคบริหารจัดการแบบใหม่  
  
ท้อแท้ขาดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานหาสาเหตุในการก่อให้เกิดความท้อแท้  โดยเปรียบเทียบใช้ทฤษฎีของ  Herzberg(ทฤษฏี  2  ปัจจัย)  คือ ปัจจัยค้ำจุน   ปัจจัยจูงใจ   เพื่อหาข้อบ่อพร่องด้านต่างๆ  ดังนี้   1. ปัจจัยค้ำจุน  ประกอบด้วย -  นโยบายการบริหาร - ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  -ความมั่นคงในงาน  
สภาพแวดล้อมในการทำงาน  - รายได้  และ สวัสดิการ  2. ปัจจัยจูงใจ ประกอบด้วย   - ความสำเร็จในงาน- การยอมรับนับถือ - ลักษณะงานที่ทำ- ความรับผิดชอบ- ความก้าวหน้าในงาน และความต้องการของมนุษย์  ตามทฤษฏีความต้องการของ  Maslow  กล่าวว่า    มนุษย์มีความต้องการ  5  ระดับ    คือ   ความต้องการทางร่างกาย    ความปลอดภัย     ความต้องการทางสังคมความต้องการมีเกียรติและศักดิ์ศรี  และความสำเร็จในชีวิต 

หมายเลขบันทึก: 154471เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2007 15:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

  • ขอบคุณกับบันทึกนี้ที่ให้ความรู้ได้เป็นอย่างดีค่ะ
  • (*_*)
  • ขอบคุณครับ
  • แต่รู้สึกจะค่อย ๆ อ่าน เพราะอาจเกิดจากตอนโหลดข้อความเข้าบล็อก  ทำให้ข้อความติดกันหรือเปล่าครับอาจารย์
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท