ประชุมคณะกรรมการบริหาร บวท.


องค์กรที่พวกเราได้ควักกระเป๋าลงขันกันตั้งเป็นมูลนิธิ เพื่อเป็นฐานในการร่วมกันทำงานวิชาการเชิงอาสาสมัครเพื่อประโยชน์ของสังคม เริ่มมีความมั่นคงในด้าน (๑) คุณค่าต่อสังคม ทั้งในด้านผลงานและการยอมรับ (๒) ความมั่นคงทางการเงินเพิ่มขึ้น (๓) นักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นยอดของประเทศนิยมเข้ามาร่วมกันทำงานอาสาสมัครให้แก่สังคมภายใต้ บวท. (๔) มีการริเริ่มสร้างสรรค์โครงการใหม่ๆ เพิ่มขึ้น

ประชุมคณะกรรมการบริหาร บวท.  

        การประชุมคณะกรรมการบริหาร บวท. (บัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย) เมื่อวันที่ ๑๗ ธ.ค. ๕๐ ทำให้ผมมีความสุขมาก     เพราะได้เห็นว่าองค์กรที่พวกเราได้ควักกระเป๋าลงขันกันตั้งเป็นมูลนิธิ เพื่อเป็นฐานในการร่วมกันทำงานวิชาการเชิงอาสาสมัครเพื่อประโยชน์ของสังคม    เริ่มมีความมั่นคงในด้าน  (๑) คุณค่าต่อสังคม ทั้งในด้านผลงานและการยอมรับ  (๒) ความมั่นคงทางการเงินเพิ่มขึ้น  (๓) นักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นยอดของประเทศนิยมเข้ามาร่วมกันทำงานอาสาสมัครให้แก่สังคมภายใต้ บวท.  (๔) มีการริเริ่มสร้างสรรค์โครงการใหม่ๆ เพิ่มขึ้น  

      การประชุมครั้งนี้เป็นครั้งแรกของประธานคณะกรรมการบริหารคนใหม่ คือ ศ. ดร. มรกต ตันติเจริญ ซึ่งรับงานต่อจาก ศ. ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์     ผมดีใจที่มีเลือดใหม่หลายคนเข้ามารับใช้โดยเป็นกรรมการ บวท. รับช่วงต่อจากผู้อาวุโส ที่ขยับแนวราบไปเป็นที่ปรึกษาแทน  

       ผมชอบโครงการ ผู้ช่วยงานวิชาการฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนงานฝ่ายนิติบัญญัติ ที่เสนอโดย ดร. กอปร กฤตยากีรณ    ท่านบอกว่าได้แนวความคิดมาจาก Congressional Fellow ของ American Physical Society     โดยอ่านมาจากวารสาร Physics Today     ผมมองว่าโครงการนี้จะช่วยเป็นกลไกเชื่อมโยงระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายวิชาการได้อย่างแยบยลมาก     จะช่วยสร้าง synergy ระหว่างระบบนิติบัญญัติ กับระบบ ว&ท     ช่วยให้ฝ่ายนิติบัญญัติใช้ข้อมูลและความรู้ทาง ว&ท ในการปฏิบัติหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ    จะเกิดคุณูปการแก่สังคมไทยอย่างมหาศาล

     โครงการนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการทำความคิดหรือหลักการให้ชัด     แล้วจึงปรึกษาหารือกับฝ่ายนิติบัญญัติต่อไป  

       นอกจากนั้น ยังมีโครงการความร่วมมือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อทำหน้าที่ศึกษาสถานภาพของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศด้านต่างๆ ปีละ ๑ ๒ ด้าน    และมีวงจรของการศึกษาแต่ละด้านห่างกัน ๓ ปี     มีรายงานและข้อเสนอแนะต่อสาธารณชนพิมพ์จำหน่ายเพื่อเผยแพร่     เป็นการทำหน้าที่ขององค์กรวิชาการที่เป็นกลาง    ไม่มี hidden agenda    แต่มีเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้มแข็งของระบบ ว&ท    และเพื่ออำนวยความสะดวกในการนำความรู้ด้าน ว&ท ไปใช้ประโยชน์แก่สังคมไทย     นี่ก็เป็นแนวทางสร้างสรรค์ที่จะต้องเจรจาความร่วมมือระยะยาว  เพื่อให้กระทรวงวิทย์ตั้งงบประมาณเงินอุดหนุนประจำปี ปีละ ๑ ๒ ล้านบาทเพื่อการนี้ 

วิจารณ์ พานิช

๑๗ ธ.ค. ๕๐  

หมายเลขบันทึก: 154272เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2007 18:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท