การประชุม"เกษตรนักปฏิบัติ" ๒


สิบโมงกว่าๆ แนะนำตัวกันเสร็จเรียบร้อย

พี่ทรงพลเปิดเวที ทีมงานของสมุทรสงครามคือน้องอาร์ท จดบันทึก ฉันเลยทำหน้าที่"รับฟังอย่างลึกซี้ง" สิ่งที่โดนใจมากคือ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งไม่ใช่แค่"ทฤษฎ๊ใหม่" ตามที่ราชการมาตีความกันเท่านั้น แต่คุณค่าและความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงมีมากกว่านั้น ตามที่นักวิชาการอังกฤษ ได้มาศึกษาไว้และบอกไว้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงทำได้ในเมืองไทยเท่านั้น เพราะเรามีความพร้อม 3 ส่วนที่สมบูรณ์ คือ

1. เรามีทรัพยากร หรือที่เราเรียกว่า "พลังแผ่นดิน" ที่สมบูรณ์

2. เรามีผู้นำที่ดี คือมีพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงตลอด มา

3. เรามีพุทธศาสนา ที่เป็นแนวทาง

พี่ทรงพลเปิดภาพของ"การศึกษา" กับ "ท้องถิ่น" ซึ่ง ชุมชนมีความสำคัญมากในการผลิตนักศึกษาแต่ปัจจุบันนี้ไม่มีการเชื่อมโยงการเรียนกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในท้องถิ่น และโยนประเด็นรูปแบบและปัญหาในการจัดการศึกษาของวิทยาลัยเกษตรฯ

เวทีการพูดคุยทำให้ฉันได้เรียนรู้การโยนคำถามเพื่อจุดประกายความคิดนั้น เป้นเรื่องสำคัญมาก คำถามที่จะช่วยให้บรรยากาศของเวทีไหลลื่นต้องเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว เป็นเรื่องของเขา แบบที่พี่ทรงพลเรียกว่า "ลู่วิ่ง" ของแต่ละคน ถ้าตรงลู่ของเขาเขาก็จะปล่อยออกมาได้ดี

ประเด็นที่ได้จากวงสนทนาช่วงเช้าเป็นเรื่องของ

1. ปัญหาการกำหนดหลักสูตรจากส่วนกลาง

2. ปัญหาคุณภาพของผู้จบการศึกษาที่ลดลงเรื่อยๆ

3. ปัญหานโยบายที่สั่งการลงมาทำให้งานล้นมือ

4. งบประมาณน้อย ไม่มีอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน

ช่วงบ่าย การสนทนาเริ่มออกรส เพราะเกิดความคุ้นเคยกันมาขึ้น "ความแปลกหน้า" ระหว่างกันหายไป พลังของวงสนทนานั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นค่อนข้างยาก แต่พอได้วิธีการของเรื่องเล่า ก็เริ่มมีหลายคนที่เล่าเรื่องของตนเองได้ดี ช่วงบ่ายดู VCD 2 เรื่อง เรื่อง"เสียงกู่จากครูใหญ่" และทุ่งแสงตะวันตอนนักตีกลองจัยตัวน้อย

เรื่องแรกได้แนวคิดและอุดมการณ์ของครูใหญ่ ในเรื่องความมุ่งมั่นในการพัฒนา ศรัทธา และฉันทะ มีความสำคัญมาก และต้องไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค

เรื่องที่สอง นักตีกลองจัย อายุ 8 ขวบ ที่รักการตีกลองเป็นชีวิตจิตใจ มีวลีเด็ดของหนุ่มน้อยคือ"การเรียนในห้องเรียนเหมือนรีบๆ ไม่เหมือนการตีกลองทำผิดแล้วทำใหม่ได้ ใจเย็นๆ"

ความคิดเห็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ ฉันเห็นภาพตัวเองชัดเจนคือ ครูยุคนี้เป็น ผู้ถ่ายทอดเนื้อหา คำนึงถึงเนื้อหา แต่ไม่พัฒนาความคิด ผลผลิตที่เราเห็นในปัจจุบัน จึงคิดได้น้อย ถูกจูงโดยทุนนิยมได้ง่าย แต่การสอนเพื่อให้เกิดแนวคิด หรือเรียกว่าสอนให้คิดนั้น "ยาก" จริงๆ

ดีใจจังที่มีโอกาสได้พบครูดีๆ อย่างพี่ทรงพล และคุณธเนศ

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15381เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2006 23:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท