สาระน่ารู้เรื่องปาล์มน้ำมัน ( ตอนที่ 2 )


สำหรับในประเทศไทย
   ประมาณ พ.ศ. 2480 ปลูกเป็นไม้ประดับที่สถานีทดลองยางคอหงส์  จังหวัดสงขลา
   พ.ศ. 2511  เริ่มส่งเสริมการปลูกในลักษณะที่เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ โดยภาครัฐในพื้นที่จังหวัดสตูล   พื้นที่ประมาณ สองหมื่นไร่    และภาคเอกชนในพื้นที่จังหวัดกระบี่   พื้นที่ประมาณ  16,000 ไร่  โดยพันธุ์ปาล์มที่ภาครัฐและภาคเอกชนใช้ปลูกเป็นพันธุ์ลูกผสมแบบเทเนอรา ซึ่งนำเข้ามาจากประเทศมาเลเซียทั้งหมด
   พ.ศ. 2529  ประเทศไทยมีพื้นที่เก็บเกี่ยว  374,881 ไร่  ผลผลิตเฉลี่ย  1.85  ตันต่อไร่
   พ.ศ. 2530  ประเทศมาเลเซียออกกฎหมายห้ามนำเข้าเมล็ดพันธุ์ปาล์มเข้าประเทศไทย 
   พ.ศ. 2531-2539 เกษตรกรประสบปัญหาเกี่ยวกับพันธุ์ปลอม  หรือพันธุ์ที่เก็บเมล็ดจากโคนต้นมาจำหน่ายให้เกษตรกรปลูกอย่างมาก
   พ.ศ. 2540 หน่วยงานรัฐเริ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมได้เองในประเทศ โดยกรมวิชาการเกษตร    ออกพันธุ์แนะนำ 1  พันธุ์ คือ พันธุ์ปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี 1นอกจากหน่วยงานของภาครัฐแล้วบริษัทเอกชน 3 บริษัท สามารถผลิตพันธุ์ลูกผสมได้เองในประเทศ คือ บริษัทยูนิวานิชน้ำมันปาล์ม จำกัด  บริษัทเปา-รงค์  ออยด์ปาล์ม จำกัด และบริษัทอุติพันธุ์พืช   แต่ในระยะนี้ยังมีการนำเข้าเมล็ดพันธุ์จากต่างประเทศ เนื่องจากการผลิตในประเทศยังไม่เพียงพอ โดยมีพื้นที่เก็บเกี่ยว
1,097,000 ไร่  ผลผลิตเฉลี่ย  2.44  ตันต่อไร่
    พ.ศ. 2542 ไทยเริ่มส่งออกน้ำมันปาล์มโดยไม่มีการนำเข้าเป็นครั้งแรกโดยมีพื้นที่เก็บเกี่ยว 1,245,863 ไร่  ผลผลิตเฉลี่ย  2.82  ตันต่อไร่ 
   พ.ศ. 2544  กรมวิชาการเกษตร ออกพันธุ์แนะนำ  2  พันธุ์ คือ พันธุ์ปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี  2  และพันธุ์ปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี  3
   พ.ศ. 2546 มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 1,745,000 ไร่  ผลผลิตเฉลี่ย  2.81  ตันต่อไร่
   พ.ศ. 2547 รัฐบาลประกาศขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ให้ได้ 10 ล้านไร่ภายใน  25 ปี โดยเกษตรกรขาดแคลนกล้าปาล์มพันธุ์ดีมากในปีนี้ คาดว่าเฉพาะปี 2547 มีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นมากกว่า  150,000  ไร่   และมีพื้นที่เก็บเกี่ยว  1,800,000  ไร่   ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ  2.90  ตันต่อไร่

คำสำคัญ (Tags): #บทความวิชาการ
หมายเลขบันทึก: 15347เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2006 13:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 11:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท