วิธีการทางบวก VS วิธีการทางลบ


แต่วิธีการทางบวก ก่อให้เกิดความสุขมากกว่าทุกข์ แล้วเราจะไม่เลือกหนทาง KM ดีกว่าหรือ

     ในช่วงแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเรื่องเล่า “ความประทับใจในการทำโครงการ Patho Otop” เพื่อค้นหาแก่นความรู้ “ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนางาน”  ผู้เข้าร่วมสัมมนาบางท่าน ยังไม่แน่ใจว่า การแลกเปลี่ยนเรื่องดีอย่างเดียวแล้ว จะนำไปสู่การค้นพบวิธีการที่ดีได้อย่างไร  จึงเห็นบางกลุ่ม เมื่อเล่าเรื่องครบรอบแล้ว มีเวลาเหลือ group facilitator ก็เปิดโอกาสให้สนทนาปัญหาที่พบเจอระหว่างทำโครงการ รวมทั้งระหว่างทำ AAR ผู้เข้าร่วมสัมมนาท่านหนึ่งก็แสดงความไม่มั่นใจว่า การแลกเปลี่ยนเรื่องดีอย่างเดียว จะเพียงพอที่จะไปปรับปรุงการทำงานของทีมให้ดีขึ้นได้หรือไม่ และเสนอให้ทีมกลับไปพูดคุยปัญหากันอีกครั้ง
     ในส่วนตัว ไม่ว่าจะทำงานเรื่องใด จะเชื่อเรื่อง วิธีการทางบวก (มีคนใกล้ชิดบอกว่า ตนเองค่อนข้างจะเป็นแบบที่เรียกว่ามี Positive thinking ประมาณนั้น) ดังนั้น เมื่อมีกระบวนการ KM ซึ่งเน้นวิธีการเชิงบวกเข้ามาเผยแพร่  ตนเองจึงรับแนวทาง KM มาดำเนินการอย่างไม่รีรอ

แนวทาง KM          ผลสำเร็จ  <-- วิธีการจัดการ <-- ปัญหา
แนวทางดั้งเดิม      ปัญหา --> วิธีการจัดการ --> ผลสำเร็จ

     ในการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการทำงานนั้น มีเป้าหมายเหมือนกันทั้งสองแนวทาง คือต้องการค้นหาวิธีการที่นำไปสู่ความสำเร็จของงาน

แนวทาง KM แต่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยเรื่องเล่าซึ่งเริ่มต้นจากการบอกเล่าเรื่องความสำเร็จ และวิธีการที่นำมาสู่ความสำเร็จ ซึ่งก็คือวิธีการแก้ปัญหานั่นเอง เพียงแต่ไม่ได้เริ่มต้นการเล่าเรื่องว่าเรามีปัญหาอะไร  การพูดเรื่องดี ความภูมิใจที่มี คิดว่าจะทำให้ผู้พูดมีจิตใจแจ่มใส เบิกบาน ซึ่งน่าจะส่งผลให้ผู้เล่า เปิดเผยความรู้สึกนึกคิดออกมาได้จากใจเพราะไม่ต้องกลัวว่าจะไปกระทบกระทั่งใคร รวมทั้งทำให้บรรยากาศการพูดคุย อบอวลไปด้วยความชื่นชมยินดี ก็จะยิ่งเป็นตัวเสริมให้มีการพูดออกมาจากใจลึกๆ ได้มากขึ้น วิธีการนี้ จึงเป็นวิธีการทางบวก ซึ่งอาจารย์ประเวศจัดว่าเป็นคุณธรรม 1 ใน 8 ข้อ ของการจัดการความรู้  

แนวทางดั้งเดิม ส่วนการเริ่มต้นการพูดคุย โดยเริ่มด้วยการบอกเล่า และ แบ่งปันปัญหา แม้จะมีเป้าหมายเหมือนกัน คือการได้มาซึ่งวิธีในการแก้ปัญหา เพื่อหาความสำเร็จ แต่ก็อาจให้ผลไม่เหมือนกัน  วิธีการนี้ เป็นวิธีการที่เราคุ้นเคยมานาน ซึ่งหากหากทบทวนให้ดี จะเห็นว่าวิธีการที่มุ่งแก้ปัญหานี้ ไม่ได้นำไปสู่ความสำเร็จของการทำงานเสมอไป  เหตุเพราะเมื่อเราพูดถึงปัญหา ก็จะอดไม่ได้ที่จะหาว่า ใครทำให้เกิดปัญหา ก็จะมีการโทษกันไปมา หากในกลุ่ม ต่างก็มีปัญหา การสนทนาในกลุ่มก็จะจมอยู่กับการบอกเล่าปัญหาของตน และท้ายสุดก็ไม่ได้วิธีในการแก้ปัญหา  อีกทั้งบรรยากาศการสนทนา ก็จะเต็มไปด้วยความห่อเหี่ยว หมดกำลังใจ ทุกข์ใจ วิธีการในแนวทางนี้ จึงถือว่า เป็นวิธีการทางลบ

ในเมื่อทั้งสองแนวทาง มีเป้าหมายเดียวกัน แต่วิธีการทางบวก ก่อให้เกิดความสุขมากกว่าทุกข์ แล้วเราจะไม่เลือกหนทาง KM ดีกว่าหรือ

 
หมายเลขบันทึก: 15268เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2006 21:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 10:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ผมขออนุญาตมองต่างมุมเรื่อง positive thinking บ้างนะครับ ยกตัวอย่างเรื่องเจ้าน้ำฝนลูกชายสุดที่รักหัวแก้วหัวแหวนของผม เป็นคนที่มี positive thinking อย่างหาตัวจับยาก อย่างเช่น คุณเธอเป็นผู้ที่มีลายมือเขียนสวยงาม ที่หาตัวจับได้ยาก โดยเฉพาะในเล้าไก่ สอบวิชาคัดไทยได้ได้ 5 เต็ม 10 คุณเธอก็จะบอกว่า "พ่อ    ฝนได้แค่นี้ก็เก่งแล้ว ดูอย่างเพื่อน....(ระบุชื่อ) ยังได้น้อยกว่าหนูอีก" และอีกหลายๆ วิชาเช่น สปช ที่คุณเธออ้างเหตุผลเดียวกันหรือทำนองเดียวกัน ด้วยความสบายใจ ผมเชื่อโดยสนิทใจครับว่า positive thinking เป็นแนวทางทำให้คนทำมีความสุข แต่ผลด้านลบของมันคือทำให้คนทำขาดความกระตือรือร้นที่จะทำงาน เพราะมัวแต่พอใจกับผลที่ได้ในปัจจุบัน ตามความคิดของผม ผมคิดว่า positive thinking เราค่อยเอามาใช้ตอนที่เราทำเต็มที่แล้วผลงานยังออกมาไม่เป็นที่น่าพอใจ ค่อยเอาไว้ปลอบใจตัวเอง ไม่อย่างนั้นแล้วจะพูดไม่ออกเหมือนตอนที่เจ้าฝนมาบอกคะแนนสอบ
ไม่แน่ใจว่าคุณ mitochondria จะเข้าใจตรงกันหรือเปล่า  positive thinking ในที่นี้ มีเป้าหมายเพื่อความสำเร็จของงาน แต่โดยใช้ positive approach ประมาณนั้น แต่หาก positive thinking เข้าข้างตนเองดังตัวอย่างที่ยกมา ไม่น่าจะเรียกว่า positive thinking  อยากหาหนังสือเรื่อง The power of positive thinking มาอ่านนานแล้ว ไม่มีจังหวะเสียที คราวนี้คงต้องหามาอ่านให้ได้
ผมเข้าใจว่า positive thinking หมายถึงความคิดเชิงบวกครับ เคยอึ้งมาแล้วกับคำตอบเจ้าฝน สงสัยต้องหาหนังสือมาอ่านบ้างแล้วเหมือนกันครับ
ไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกไหมนะคะ...
Positive thinking ของ CKO หมายถึง เริ่มต้นจากเรื่องบวกของตัวเองและผู้อื่นก่อนเพื่อให้มีกำลังใจก่อนลงมือปฏิบัติ ส่วนของคุณ"ไมโต..พ่อเจ้าฝน" หมายถึงหลังลงมือปฏิบัติแล้วค่อยมองในทางที่ดีเพื่อให้มีกำลังใจในครั้งต่อไป
   ตกลงสิ่งที่ต้องการคือ "กำลังใจ" เหมือนกันค่ะ ของ CKO ได้ก่อน ของคุณไมโต (พี่เม่ยเผลอพิมพ์ไม้เอกบน ม.ม้า อยู่เรื่อยเลย อิ..อิ..)ได้หลัง

การคิดอย่างไรก็ต้องให้ได้ประโยชน์ เคยอ่านบทความ ท่านปยุต. ว่าการมองในแง่บวกก็จะเป็นการปลอบใจตัวเองเกินไป แง่ลบยิ่งไม่มีประโยชน์ ควรมองให้เห็นความจริงและมองให้เห็นประโยชน์ดีกว่า 

หวังว่าฝนคงเข้าใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท