เรื่องของเทศบาลตำบลแม่พริก (ต่อ)


      ครั้งที่แล้วเขียนถึงแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดล้านนา  ซึ่งจังหวัดลำปางก็รวมอยู่ในนั้นด้วย  วันนี้จะขอเขียนต่อเกี่ยวกับแผนพัฒนาจังหวัดลำปาง  มีรายละเอียดโดยสรุปดังนี้ค่ะ

      

                                          แผนพัฒนาจังหวัดลำปาง

เป้าประสงค์หลักของจังหวัด (GOAL)

         ภายใต้กรอบวิสัยทัศน์ (Vision) “Lampang : Green & Clean & Ceramic” จังหวัดลำปาง จึงได้กำหนดเป้าประสงค์การพัฒนาจังหวัด (Goal) ดังนี้

        Green : เพื่อให้จังหวัดลำปางมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย น่าอยู่ น่าเที่ยว สะอาดสวยงาม เขียวขจีร่มรื่นด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นแหล่งเกษตรปลอดสารพิษ

        Clean : ยึดหลักการบริหารงานจังหวัดตามหลักธรรมาภิบาล ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน และปลอดยาเสพติด อนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

        Ceramic : มุ่งเน้นการสร้างงานสร้างอาชีพ การกระจายรายได้ การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการผลิตสินค้า OTOP และผลิตภัณฑ์ซรามิกครบวงจร ให้ก้าวไปสู่การเป็นเมืองเซรามิกแห่งประเทศไทยและอาเซียน

พันธกิจ (MISSION)

        จังหวัดลำปาง ได้ใช้อักษรย่อคำว่า
        จังหวัดลำปาง ได้ใช้อักษรย่อคำว่า LAMPANGมากำหนดเป็นพันธกิจ ดังนี้

         L : Local to Global การพัฒนาและส่งเสริมสินค้าหัตถอุตสาหกรรมจากท้องถิ่นสู่สากล

         A : Attractive City การพัฒนาจังหวัดลำปางให้มีความสงบ สวยงาม มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและมีเสน่ห์ดึงดูดให้คนมาท่องเที่ยว

         M : Manpower การพัฒนาศักยภาพประชาชนให้มีความรู้และทักษะ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และรองรับการพัฒนาในสาขาอาชีพต่าง ๆ

         P : Participation การพัฒนาที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม

         A : Accountability การบริหารงานที่ยึดหลักธรรมาภิบาล

         N : Northern Culture & การรักษาและการสืบสานศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม Local Wisdom ประเพณี และการ ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น

         G : Green & Sustainable Agriculture การพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับการพัฒนารักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และเกษตรแบบยั่งยืน

วิสัยทัศน์จังหวัดลำปาง

         วิสัยทัศน์จังหวัดลำปาง คือ “Lampang : Green & Clean & Ceramic” โดยมุ่งมั่นพัฒนาจังหวัดลำปางภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วนให้เป็นเมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว สะอาด สวยงาม ควบคู่กับการเป็นเมืองเซรามิกแห่งประเทศไทยและอาเซียน

ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดลำปาง

        1.ยุทธศาสตร์เมืองน่าอยู่ Green

           ยุทธศาสตร์ที่ 1 เมืองน่าอยู่ ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ คือ

              1.การพัฒนาเกษตรปลอดสารพิษ โดยการส่งเสริมปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อพัฒนาไปสู่เกษตรอินทรีย์

           2.การพัฒนาแหล่งน้ำ โดยการเฝ้าระวังคุณภาพแม่น้ำวัง พัฒนาลุ่มน้ำจาง การก่อสร้างฝาย Check Dam ตามแนวพระราชดำริ เพื่อสร้างความชุมชื่นให้กับสภาพป่า ต้นน้ำลำธาร

              3.การแก้ไขปัญหาความยากจน โดยเน้นการสร้างรายได้ ลดรายจ่าย ขยายโอกาส เพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งทุน ซึ่งรวมถึง เงินทุน กรรมสิทธิ์ที่ดิน การขยายโอกาสการเข้าสู่ทุนผ่านระบบการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน

           4.การเสริมสร้างความเขียวขจี สะอาด และสวยงาม ด้วยการดูแลรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดหาสวนสาธารณะเพิ่มเติม เพื่อใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ รณรงค์ให้มีการปลูกต้นไม้ การปรับปรุงทัศนียภาพสองข้างทางให้สวยงาม

 

        2.ยุทธศาสตร์เมืองน่าเที่ยว Clean

           ยุทธศาสตร์ที่2 เมืองน่าเที่ยว ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ คือ

             1.การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ เน้นการเพิ่มมูลค่ามากกว่าการเพิ่มปริมาณ โดยจะร่วมมือกับภาคเอกชน ท้องถิ่น และชุมชน ในการรรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านการท่องเที่ยวไม่ให้เสื่อมโทรม ด้วยการบริหารจัดการ การสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลรักษาโบราณสถาน แหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ตลอดจนสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ เช่น หมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP สร้างเครือข่ายและพัฒนาบทบาทสื่อให้เน้นการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศ

             1.การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ เน้นการเพิ่มมูลค่ามากกว่าการเพิ่มปริมาณ โดยจะร่วมมือกับภาคเอกชน ท้องถิ่น และชุมชน ในการรรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านการท่องเที่ยวไม่ให้เสื่อมโทรม ด้วยการบริหารจัดการ การสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลรักษาโบราณสถาน แหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ตลอดจนสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ เช่น หมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP สร้างเครือข่ายและพัฒนาบทบาทสื่อให้เน้นการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศ           2.การพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อรองรับการท่องเที่ยว โดยเน้นการให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรม ความปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว การเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และพัฒนามาตรฐานบุคลากรด้านการท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐานสากล

              3.การเชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยว โดยจะเชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวทางวัมนธรรมในกลุ่มจังหวัดล้านนา หรือ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน และการขยายตลาดการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ และเชิงสุขภาพ ไปสู่ตลาดเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และกลุ่มประเทศเอเชียใต้

 

         3.ยุทธศาสตร์เมืองเซรามิก Ceramic

            ยุทธศาสตร์ที่3 เมืองเซรามิก ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ คือ

            1.การพัฒนากระบวนการผลิต โดยการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ จัดตั้งศูนย์ออกแบบผลิตภัณฑ์ ศูนย์รองรับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ โดยประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ผู้ผลิต ผู้ส่งออก และตัวแทนจำหน่ายให้มีความรู้และได้รับการพัฒนากระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ

        2.การพัฒนาและการส่งเสริมการตลาด โดยการจัดตั้งศูนย์แสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการลงทุนและการส่งออก โดยมีตลาดที่สำคัญในกลุ่มประเทศยุโรป อเมริกา แอฟริกา ญี่ปุ่น

            3.การพัฒนาคลัสเตอร์ Cluster เซรามิก และหัตถอุตสาหกรรม โดยเน้นการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการเซรามิก และหัตถอุตสาหกดรรม เพื่อพัฒนาเมืองลำปาง ให้เป็นเมืองเซรามิกแห่งประเทศไทย และอาเซียน อย่างแท้จริง

         วิสัยทัศน์จังหวัดลำปาง คือ “Lampang : Green & Clean & Ceramic” โดยมุ่งมั่นพัฒนาจังหวัดลำปางภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วนให้เป็นเมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว สะอาด สวยงาม ควบคู่กับการเป็นเมืองเซรามิกแห่งประเทศไทยและอาเซียน
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15261เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2006 19:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 12:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คุณวิไลลักษณ์

ยุทธ์ศาสตร์การพัฒนามีกลยุทธ์ที่น่าศึกษาและเรียนรู้มาก

ช่วยแบ่งปันกลยุทธ์ทีเหมาะกับนักเรียนเพื่อพัฒนาความรู้ด้านการรักษาสภาพแวดล้อมในจังหวัดทีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท