จิตอาสา เพื่อการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังต่อเนื่องที่บ้าน ภายใต้สถานกราณ์สีเลือด


การดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน

โรงพยาบาลหนองจิก เป็นโรงพยาลขนาด  30 เตียง  ในอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

มีประชากรในความรับผิดชอบ ค่อนข้างมาก  ประมาณ  70,000 คน 

 

อยู่ใกล้ตัวจังหวัดปัตตานี เพียง  10  กิโลเมตร   อำเภอหนองจิก

เป็นอำเภอที่มีเหตุการณ์ อันเนื่องจากสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนใต้ สูงเป็นอันดับต้นๆ

ของจังหวัดปัตตานี ด้วยประชากรในพื้นที่รับผิดชอบที่ค่อนข้างสูง จึงทำให้ โรงพยาบาล

หนองจิก   เป็นโรงพยาบาลที่มีความพร้อมในเรื่อง ของทรัพยากรด้านบุคคล

และงบประมาณ   คงไม่ใช่ เรื่องที่น่าแปลก  หากเราจะมีศักยภาพมากมาย

ในการที่จะวางแผนในการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน

ด้วยความพร้อมของคน และ  เงิน  ฯลฯ 

แต่ ที่นี้... ความพร้อมของคน และเงินไม่ใช่คำตอบ ของการเดินทางสู่การดูแลผู้ป่วย

ต่อเนื่องที่บ้านอย่างมีคุณภาพ  

เหตุการณ์ ความวุ่นวาย และความเลวร้าย ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ไม่มีที่ท่าจะลดหายจางไป  

จนกระทั่ง  วันหนึ่งในเดือนสิงหาคม  2549  เจ้าหน้าที่สาธารณสุข  ในอำเภอยะรัง จ.ปัตตานี 

ถูกยิงเสียชีวิตบนสถานบริการ  จำนวน  2  คน   ความหวาดระแวง และ ความหวาดกลัว

ในการเดินทางเข้าไปให้บริการ ในสถานบริการ ,  การออกพื้นที่ ในการติดตามผู้ป่วยเรื้อรัง

ต่อ เนื่องที่บ้านจึงกลายเป็นคำตอบที่ลางเลือน 

 ...  ท่ามกลางความตาย  และรอยเลือด  ของทุกพื้นที่  เป็นคำตอบทีทีมสุขภาพ

 ไม่สามารถดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน อย่างพื้นที่ปกติทั่วไปได้  

แต่ผู้ป่วยเรื้อรังที่มารับบริการจากโรงพยาบาลหนองจิก   ยังคงต้องการความดูแล จากทีมสุขภาพ

อย่างต่อเนื่อง และยั่งยื่น 

สิ่งเหล่านี้  ..คือจุดเริ่มต้น ของคำถาม ที่ต้องการคำตอบ.. พวกเขาต้องได้รับการดูแล

จากเราอย่างไร  ท่ามกลางความเป็น และความตายของพื้นที่    

           

 ...  โครงการจิตอาสา  เพื่อการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังต่อ เนื่องที่บ้าน ด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ 

เป็นคำตอบที่ทีมสุขภาพ ของโรงพยาบาลหนองจิก...เลือกที่จะเดิน  ภายใต้บริบทที่เหมาะสม

กับพื้นที่  มันไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จะมีทีมงานจิตอาสา ที่มีความตั้งใจ และเสียสละ

ที่จะเป็น แขน เป็นขา ให้กับทีมสุขภาพ ได้ดูแลผู้ป่วยที่เรื้อรังในพื้นที่   

ภายใต้สถานการณ์ที่ไม่ปกติ เช่นทุกวันนี้ 

ผู้ป่วยเรื้อรังจำนวนมากที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในตึกผู้ป่วยใน  รวมทั้งผู้ป่วยที่มีความพิการ

อันเนื่องมาจากสถานการณ์ใต้  เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ ทีมสุขภาพ ของโรงพยาบาลหนองจิก

ได้วางแผนในโครงการนี้     

แผนงาน โครงการนี้.. ได้เริ่มต้นก่อตัวขึ้น  เมื่อปลาย ปี  2549 

โดยมีขั้นตอนในการพัฒนาระบบ  และการติดตามระบบ  อย่างต่อเนื่องดังนี้  

 1. มีการวางแผนการจัดการระบบการดูแลผู้ป่วยใน   กลุ่มการพยาบาล โดยมีการปรับเปลี่ยนระบบ

งาน    จากการจัดการ  ระบบ แบบ Funtional  Team   เป็น Case Manasement   

มีการมอบหมายพยาบาลเจ้าของ Case  เป็น Case  Manager เพื่อการวางแผน

ในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง กลุ่มเป้าหมาย  ในการดูแลต่อ เนื่องที่บ้าน  ร่วมกับทีมสุขภาพ 

2.มีการจัดการระบบการค้นหาปัญหา  แนวทางในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง  การประสานงาน

กับทีมสุขภาพ

3. การพัฒนาระบบการบันทึกเพื่อการดูแลต่อเนื่อง  เป็นรายกรณี เพื่อความต่อเนื่องของการดูแล

 

4. การสรรหา จิตอาสา เพื่อเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยต่อ เนื่องที่บ้าน  โดยมีกลุ่มเป้าหมายของทีมจิตอาสา

เป็น ญาติผู้ป่วย  , คนใกล้บ้าน , ผู้ใกล้ชิด ที่สามารถดูแลผู้ป่วย  โดยไม่ต้องเดินทางไกล  

มีความภาคภูมิในในการที่เป็นผู้ดูแล  และมีความรักผู้ป่วยอย่างจริงจัง

 

5. จัดอบรม ให้ความรู้กับทีมงานจิตอาสา ความรู้ในการการดูแลผู้ป่วยในโรคที่เกี่ยวข้อง

การฟื้นฟูสภาพ ด้วยแพทย์ทางเลือก  การใช้ยา  และการนำผู้ป่วยมาพบแพทย์ ฯลฯ 

 

6.การบันทึก เพื่อการรายงาน  การปฏิบัติต่อผู้ป่วย อย่างต่อ เนื่อง   และมีติดตามผู้ป่วย

การติดตามระบบ โดยพยาบาล เจ้าของ Case  เพื่อนำสู่การวางแผน  และ การจัดการระบบ

เพื่อการพัฒนาอย่างต่อ เนื่อง  

 การ Empowerment ทีมงาน...จิตอาสา 

1.        การจัดให้ทีมงานจิตอาสาได้มีโอกาส ฝึกอบรม ,  ศึกษาดูงาน  ในความรู้ที่เกี่ยวข้อง 

ทั้งจากโรงพยาบาล และองค์กรภายนอก

  

2.        ระบบค่าตอบแทน  เป็นค่าพาหนะ  และค่าอาหาร  เมื่อมีการรายงานผล

3.        การจัดเวที นำเสนอความก้าวหน้าของ การดูแลผู้ป่วย  แต่ละราย 

เพื่อเป็นประสบการณ์ แลกเปลี่ยน กับ ผู้ดูแลผู้ป่วยรายอื่นๆ  

      ผลลัพธ์จาการติดตามดูแลผู้ป่วยเรื้อรังต่อเนื่องที่บ้าน โดยทีมงานจิตอาสา พบว่า

  

1.ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้พิการ อันเนื่องจากสถานการณ์ใต้ ที่มีพื้นที่ห่างไกลสถานบริการ

 ได้รับการดูแลด้วยการวางแผนอย่างเป็นระบบ เพื่อผู้ป่วยเรื้อรังได้รับการดูแลย่างต่อเนื่อง  

ด้วยทีมงานจิตอาสา และพยาบาล เจ้าของ Case

2. การมารับการรักษาพยาบาล ด้วยภาวะแทรกซ้อน ลดน้อยลง

3. ลดความพิการ ที่จะเป็นเพิ่มมากขึ้น

4. ชุมชนมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบสุขภาพ ของประชากรในชุมชน

5. การเป็นส่วนหนึ่งของทีมสุขภาพชองชุมชน 

6. ผู้พิการ และผู้ป่วยเรื้อรัง ได้รับการดูแลจากทีมสุขภาพ  ด้วยความเท่าเทียม

และตำนึงถึงศักดิ์ศรี และคุณค่าของความเป็นมนุษย์  แม้ในยามวิกฤตของพื้นที่   

โอกาสในการพัฒนา  โครงการ ฯ

1.        ขยายผล ของการดำเนินโครงการให้ครอบคลุมทุกตำบล ในเขตความรับผิดผิดชอบ

2.        การจัดตั้งชมรม หรือเครือข่าย ของทีมงานจิตอาสา ฯ  เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

3.        การคงไว้ ซึ่งระบบ และ ความยั่งยืน ของโครงการ    

หมายเลขบันทึก: 152292เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2007 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 สิงหาคม 2014 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เศร้าใจทุกครั้งที่ได้ข่าว   ดูแลตัวเองดีๆนะคะ เป็นห่วงทุกๆคนค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท