การให้....ประเพณี "ตาลต้อด"


การให้ไม่ใช่ว่าสักแต่จะให้แต่ต้องให้อย่างมีศิลป

สวัสดีคะ....

        เข้าหน้าหนาวแล้ว  อากาศเริ่มหนาวเย็น  คิดถึงทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่อากาศหนาวเย็นค่อนข้างทารุณมากโดยเฉพาะคนยากคนจนที่ไม่มีเครื่องกันหนาว .... 

        ทำให้นึกถึงเรื่องน่าประทับใจที่พี่คนหนึ่งเคยเล่าให้ฟังเมื่อนานมาแล้วสมัยที่พี่เค้าทำงานอยู่ทางภาคเหนือว่าเคยไปร่วมใน "ประเพณีตาลต้อด"  (ไม่ทราบว่าเรียกแบบนี้หรือถูกหรือไม่)   ประเพณีที่ทำกันในช่วงหน้าหนาวปีละครั้ง  เป็นการดูแลคนเฒ่าคนแก่โดยเฉพาะ "แม่ฮ้าง  แม่หม้าย" (หมายถึงหญิงที่เป็นหม้าย แก่ชรา ไม่มีคนดูแล อยู่ตัวคนเดียวตามลำพัง ไม่มีคนดูแล)  คนสมัยก่อนเล่าว่าทำกันมาทุกปีแต่มาระยะหลังได้ขาดหายไป เหตุการณ์ที่พี่เค้าไปพบนั้นเป็นการรื้อฟื้นประเพณีนี้ขึ้นมาอีกครั้งของคนในหมู่บ้าน

          วิธีการก็จะง่ายๆคะ  เป็นการบอกกันแบบปากต่อปากในหมู่บ้านว่าจะทำการนี้โดยมีแกนนำที่เป็นผู้นำหมู่บ้านอาจเป็นผู้ใหญ่บ้าน นำถุงไปตามบ้านในหมู่บ้าน  บ้านนั้นๆ ก้อจะตักข้าวสารในบ้านใส่ในถุงตามแต่จะให้ ขัน 2 ขัน ก็แล้วแต่ หรือให้ของใช้ในชีวิตประจำวันบ้านละชิ้น 2 ชิ้น ทุกหลังคาเรือน  รวบรวมใส่ไว้ในรถเข็น 

          พอถึงคืนเดือนมืด จะมีคนไปสอดแนมที่บ้านเป้าหมายซึ่งส่วนใหญ่จะตั้งอยู่โดดเดี่ยวท้ายหมู่บ้าน พอปิดไฟเข้านอน ก็จะมาบอกพวกที่รออยู่ที่หมู่บ้าน พากันเข็นรถที่ใส่ของไปกันเงียบๆ (คนทั้งหมู่บ้านเลยนะ) พอไปถึงพวกผู้ชายจะทะยอยขนของไปวางที่ชานเรือน เมื่อทุกอย่างเรียบร้อย ก็จะออกมารวมกับพวกที่ซุ่มอยู่รอบๆ บ้านในความมืด

          จากนั้นก็จะจุดประทัดเสียงดัง  รอ สักครู่จะมีแสงไฟตะเกียงวับๆ แวมๆ คนเฒ่าก้อจะเปิดประตูออกมาจากในบ้าน เมื่อเห็นของก็เหมือนจะเป็นที่เข้าใจได้ แกก็จะทรุดตัวลงนั่งพร้อมทั้งยกมือไหว้ส่งเสียงงึมงำ เดาว่าคงให้ศีลให้พรตามประสา ก่อนจะค่อยๆ ลาก ยกสิ่งของเข้าบ้านไป คนที่นำของไปให้ก้อจะเริ่มทะยอยเดินกลับไปในหมู่บ้านอย่างเงียบๆ (ทุกขั้นตอนจะเงียบมาก..ยกเว้นตอนจุดประทัดปลุกแม่เฒ่านั่นแหละ) 

          ตอนนั้นฟังแล้วรู้สึกประทับใจจนถึงเดี๋ยวนี้  คนโบราณนี่ช่างมีความละเอียดอ่อน ช่างเข้าใจ..นึกถึงใจเค้าใจเรา รู้และให้เกียรติซึ่งกันและกันทั้งผู้ให้และผู้รับ  ผู้รับไม่ได้เป็นหนี้บุญคุณใครคนใดคนหนึ่งแต่เป็นการดูแลเกื้อกูลกันในชุมชน  จบพิธีการแล้วจะไม่มีใครพูดถึงเรื่องนี้ปล่อยให้เงียบไป  ไม่ต้องประชาสัมพันธ์ ไม่ต้องแถลงการณ์ถึงความสำเร็จ

          แหม  พวกที่ชอบไปให้โน่นให้นี่แล้วยืนแอ็คชั่นถ่ายรูปน่าจะได้ดูเป็นตัวอย่างบ้างนะ หรือไปเรียกคนมารวมกันเข้าแถวยาวเพื่อรอรับของบริจาคเนี่ยมันก็ดูแปลกๆนะ  คนเรามีศักดิ์ศรีมิใช่ขอทาน 

          ว่าแล้วนึกถึงคำพูดพระชาวธิเบตว่า "การให้ความช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก  ทำไมต้องมีเหตุผลด้วย" ... อ่ะบ้านเราการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ยากลำบากทำไมต้องถ่ายรูปด้วย...  (*-*)

          เรื่องเล่านี้มันก็นานพอสมควรแล้ว ไม่รู้ว่าปัจจุบันยังมีการสืบสานประเพณีนี้กันอยู่อีกหรือเปล่านะ ถ้าใครสนใจก็สามารถที่จะไปสอบถามข้อมูลได้ที่ "ศูนย์สังคมพัฒนาเขตพะเยา "นะคะ  ที่นั่นน่าจะให้ข้อมูลได้มากกว่านี้....

หมายเลขบันทึก: 152286เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2007 20:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • นั่นสิครับ
  • เพลงเพราะดีคับ
  • อิอิ

สวัสดีค่ะน้อง..

  • กว่า จะเข้ามาได้ตั้งนานน่ะค่ะ...เดี๋ยวจะออกได้ไหมนี่
  • น้องอยู่พะเยาหรือคะ  เมื่อ สองสามวันก่อน ก็มีคณะครูมาจาก พะเยา มาดูงานที่โรงเรียนที่ครูอ้อยสอนที่...ข้อคิด.เมื่อมีผู้มาขอดูงาน

ขอบคุณค่ะ ได้อ่านเรื่องที่ดีมากค่ะ

สวัสดีครับ

  • อ่านแล้วเป็นเรื่องที่ดี  น่าจะสืบสานต่อ
  • ระวังผู้เฒ่าตื่นเต้น ตกใจ
  • แต่เดี๋ยวนี้มีไฟฟ้าไปทั่ว
  • ขอบคูณมากที่นำมาแบ่งปัน

สวัสดีคะ..คุณsuksom

  • ขอบคุณคะที่แวะมา
    ฟังเพลงไปอ่านไป
    จะได้อยู่ในบล็อคนานๆคะ...

สวัสดีคะ...พี่สิริพร

  • ไม่ได้อยู่พะเยาคะ เคยอยู่เชียงใหม่คะ
    หลายปีพอสมควร
    เรื่องนี้พี่ที่เคยทำงานอยู่พะเยาเล่าให้ฟังคะ
  • ขอบคุณนะคะที่แวะมา...(*-*)

 

สวัสดีคะ...เกษตรยะลา

  • คะ  ที่จริงก็น่าตกใจนะคะ
    นอนอยู่ดีดีมีเสียงดัง ..
  • คนไม่มีรายได้  น้ำมัน
    จุดไฟคืนต่อไปจะมีไหมยังไม่รู้เลย...


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท