เศรษฐกิจพอเพียง......เรื่องสวัสดิการชุมชน (ย่อ)


สวัสดิการชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ต่างจากแนวเศรษฐกิจทุนนิยมแบบไทย ๆ

ตามแนวเศรษฐกิจทุนนิยมแบบไทย ๆ ที่เป็นอยู่ ระบบสวัสดิการที่เป็นอยู่มอบให้กับลูกจ้างของรัฐ  ลูกจ้างของกึ่งรัฐ(รัฐวิสาหกิจ) และลูกจ้างเอกชน 

แต่กับแรงงานจ้างทั่วไป และเกษตรกร จะไม่ได้รับสวัสดิการ ด้วยเพราะว่า ไม่ใช่แรงงานที่เป็นชนชั้นมันสมอง เน้นที่แรงกายเป็นหลักชาวบ้านจึงไม่มีศักดิ์ศรีพอที่จะรับสวัสดิการ ยกเว้นลูกหลานเป็นข้าราชการ  เพราะฉะนั้น ระบบที่ชาวบ้านได้รับ...... จึงเป็นเพียงค่ารักษาพยาบาลและการตาย ตามกฎเกณฑ์ ของบริษัทประกันชีวิตที่ชาวบ้านได้ทำประกันชีวิตเอาไว้เท่านั้น......นี่หรือสวัสดิการของชุมชน ในสังคมระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม .....

แต่วันนี้ กลุ่มออมทรัพย์หลายแห่งกำหนดสวัสดิการของสมาชิกตนเองขึ้นมา ก็กลายเป็นว่า ความมีศักดิ์ศรีของชาวบ้านมีมากขึ้น.....ระบบที่สร้างขึ้นคิดโดยชาวบ้าน แล้วถ่ายทอดสู่สายตาของชุมชนทั่วประเทศ อย่างไม่ขาดสาย.....

แห่งแรกคือ กลุ่มออมทรัพย์บ้านนาหว้า อ.จะนะ จ.สงขลา บริหารงาน โดยชาวบ้าน เพื่อชาวบ้าน และชาวบ้านไม่เคยคิดจะเอาสวัสดิการของตนเองมาจัดประกวดกัน แต่ให้แต่ละชุมชนไปคิดเอาว่าควรจะทำหรือเปล่า????

เหมือนกับกลุ่มออมทรัพย์บ้านนาหว้าที่เห็นว่า ชาวบ้านขาดอะไร? แล้วจัดเป็นกองทุนเพื่อสร้างสวัสดิการชีวิตที่ดีสำหรับชาวบ้านบ้านนาหว้าต่างหาก..........วันนี้ กองทุนสวัสดิการชุมชนของบ้านนาหว้ามีถึง  97 กองทุนแล้ว เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับสมาชิกให้ได้รับความเป็นอยู่ที่ดี.......

สอง กลุ่มออมทรัพย์บ้านน้ำขาว พัฒนาจนมีกลุ่มออมทรัพย์สัจจะพัฒนาครบวงจรชีวิต ในละแวกหมู่นั้น มีกลุ่มฯ ถึง 22 กลุ่มเพื่อการเติมเต็มจากหลายกลุ่มให้ได้สวัสดิการที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงของสวัสดิการชีวิต แต่ไม่หยุดเพียงเท่านั้น ดร.ครูชบ  ยอดแก้ว กลับมองข้ามช็อดไปอีกว่า  ถ้าเราต้องอยู่ต้องใช้ชีวิต ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เราต้องประหยัดค่าใช้จ่าย ครูชบ ก็เอาแนวทางมาปรับใช้  ได้อย่างกลมกลืนครับ

เครือข่ายสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาท เป็นแนวทางที่ควรทำ ถึงวันนี้ ดำเนินการไปแล้ว เกือบสองแสนราย  เครือข่ายกลุ่ม/องค์กรชาวบ้าน จำนวน 101 กลุ่ม นี่คือการจัดสวัสดิการชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง ......

สาม กลุ่มออมทรัพย์ตำบลคลองเปียะ ก็ไม่น้อยหน้ากัน เพราะเห็นความสำคัญของสวัสดิการชุมชน กลุ่มฯได้จัดให้กับสมาชิกอย่างเหมาะสม แต่มากกว่า 9 เรื่องของเครือข่ายสัจจะลดรายจ่ายฯ  กลุ่มจะเป็นผู้จ่ายเพิ่ม และจ่ายเกินให้กับสมาชิก เพื่อสวัสดิการที่ครบถ้วนสมบูรณ์ของสมาชิกครับ การจัดสวัสดิการมาจากความไม่ได้สวัสดิการจากรัฐ  ชาวบ้านจึงจัดกันเอง..... ครับ

หมายเลขบันทึก: 151817เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2007 16:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 17:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท