ฟันสึก ในผู้สูงอายุ


ควรระวังตัวตั้งแต่ก่อนสูงอายุ

 

ฟันสึกที่พบได้ในผู้สูงอายุค่ะ ... ซึ่งในบางคนที่ยังไม่สูงอายุ ก็อาจพบได้เหมือนกัน ถ้าใช้ฟันเคี้ยวของแข็งเป็นประจำ

ฟันสึกในผู้สูงอายุ

 

ฟันสึกในผู้สูงอายุ

ฟันสึก-กร่อน ... บริเวณด้านบดเคี้ยวของฟันกราม และปลายฟันหน้า

การสึก จะพบผิวฟันมีลักษณะแบน เรียบ แข็ง ลักษณะนี้เกิดจากการใช้บดเคี้ยวอาหารที่ค่อนข้างแข็ง หรือใช้เฉพาะบริเวณนั้นเคี้ยวอาหาร อย่างต่อเนื่องยาวนาน

แต่ถ้า พบลักษณะเป็นรอยหวำ เป็นหลุมบนด้านบดเคี้ยวของฟันหลัง และผิวฟันของฟันหน้า เป็นการกร่อน ซึ่งเกิดจากกรดอาหาร สารเคมี ที่อาจมาจากการรับประทานอาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด หรือ ดื่มเครื่องดื่มบางประเภท ที่มีความเป็นกรดสูง เป็นประจำ

ถ้า สึก-กร่อน เล็กน้อย ไม่มีอาการ ไม่จำเป็นต้องรักษา ... แต่ถ้าสึก-กร่อนมาก จนมีอาการเสียวฟัน จำเป็นต้องได้การอุดฟัน หรือบางรายที่ฟันหน้าสึกจนสั้น เพราะใช้ฟันหน้าเคี้ยว  เนื่องจากสูญเสียฟันกราม ควรได้รับการใส่ฟันปลอมและฝึกเคี้ยวฟันหลัง และถ้าสึกจนทะลุโพรงประสาทฟัน ก็ยุ่งหน่อยนะคะ ต้องรักษารากฟัน หรือต้องถอนฟันไปเลย เพราะจะปวดมากแล้วละค่ะ

เรื่องนี้ ควรระวังตัวตั้งแต่ก่อนสูงอายุนะคะ เพราะถ้ารอไว้นาน อาจรักษาไม่ได้แล้ว เป็นเหตุให้สูญเสียฟันไปได้

 

หมายเลขบันทึก: 15116เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2006 00:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท