ลักษณะการวิจัยในชั้นเรียนและลักษณะพัฒนาการทางสติปัญญญาของเด็กอายุ 5 ปี


ลักษณะการวิจัย

ลักษณะของการวิจัย

ในชั้นเรียน

...เพื่อพัฒนาผู้เรียน...

1.            ผู้ทำวิจัยยังคงทำงานตามปกติ

      ของตน

2.            ไม่ต้องสร้างเครื่องมือวิจัย

3.            ไม่มีข้อมูลจำนวนมาก  และไม่ต้อง

       ใช้สถิติ

4.            ข้อมูลส่วนใหญ่มาจากการ

      สังเกตการพูดคุย  และใช้

      การวิเคราะห์เนื้อหา

5.            ไม่ต้องทบทวนรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

6.            ใช้เวลาทำวิจัยไม่นาน  ขึ้นอยู่กับสาเหตุของปัญหาและจำนวนบุคคลที่ต้องการแก้ไข

7.            ความยาว  2 3  หน้าต่อเรื่อง8.            ผู้เรียนได้รับการแก้ไขหรือพัฒนา9.            ไม่มีการระบุประชากร  กลุ่มตัวอย่าง  การสุ่มตัวอย่าง10.    ไม่ต้องใช้สถิติสรุปอ้างอิง  และไม่มีระดับนัยสำคัญ11.    ไม่มีการทดสอบก่อนหลัง12.    ไม่มีตัวแปรอิสระ  ตัวแปรตาม13.    ไม่มีกลุ่มทดลอง  กลุ่มควบคุม14.    เป็นการวิจัยเชิงคุณลักษณะ  มากกว่าการวิจัยเชิงปริมาณ

15.    เน้นการแก้ไขที่สาเหตุของปัญหาของผู้เรียนบางคน  บางเรื่อง

                จากเอกสารประกอบการบรรยาย   การพัฒนาตนและพัฒนางานด้านวิจัย  โดยนายณรงค์  ช้างยัง ศึกษานิเทศ ชำนาญการพิเศษ

ลักษณะพัฒนาการ

ทางสติปัญญาของเด็กวัย  5  ปี

               

                     เด็กวัย  5  ปี  ถึงแม้จะเจริญเติบโตในหลาย ๆด้าน  แต่ช่วงความสนใจของเด็กยังไม่สามารถสนใจในสิ่งใดได้นานนัก  แต่มีลักษณะของการขยายความสนใจในเรื่องต่าง ๆมากขึ้น  มีการใช้ภาษาดีขึ้น  พูดจาเป็นประโยคและมีความหมายมากขึ้นยาวขึ้น  ใช้ภาษาในการสื่อสารได้กว้างขวางขึ้นเนื่องจากสามารถรู้คำศัพท์ได้ถึง  2,000  คำ  เวลาเล่นสมมุติ

ตามจินตนาการจะใช้ถ้อยคำที่เคยได้ยินและจำไว้  ส่วนใหญ่ชอบพูดลดเลี้ยวเลยเถิดไปเรื่อย  เนื่องจากเป็นเพราะชอบเพ้อฝันและต้องการหลีกเลี่ยงความเป็นจริง   ชอบซักถามในลักษณะของการหาคำตอบเพื่อความเข้าใจ  มีความสามารถในการจดจำตัวอักษร  ตัวเลข  จำนวน  และสีต่าง ๆได้ถึง  10  สี  และสามารถเรียกชื่อสีได้อย่างน้อยที่สุด  คือ      4  สี  คือแดง  เหลือง  น้ำเงิน  ขาว  เริ่มสนใจการอ่านเขียน  มีความพร้อมในการเรียนรู้กฎเกณฑ์ง่าย ๆทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  อยากรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงและต้องการหาเหตุผล  สามารถแยกแยะเรื่องจริงและเรื่องที่สมมุติออกจากกันได้  มีการแสดงออกทางด้านความคิดเห็นอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา  มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหา  ชอบการเล่นเกมที่มีกติกาง่าย ๆรวมทั้งการเล่นกลง่าย ๆ  ชอบเรื่องที่สนุกสนานและขบขัน  ผลงานทางศิลปะแสดงให้เห็นถึงความคิดและสิ่งที่ซ่อนอยู่ในจิตใจ  ชอบร้องเพลง  ฟังนิทาน  และเรื่องราวต่าง ๆรวมทั้งบทร้อยกรอง

 

                   จากหนังสือ  การประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย   ของผู้ช่วยศาสตราจารย์นันทิยา  น้อยจันทร์  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

 

 

หมายเลขบันทึก: 150941เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2007 20:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 19:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท