หลักฐานการเลิกฝึกวิชชาสมาธิลูกแก้ว ของหลวงพ่อสด


วิชชาสมาธิลูกแก้วนอกพุทธศาสนา


 รูปถ่ายพร้อมลายมือลงชื่อ ของ  หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ  ยอมรับวิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแบบวัดมหาธาตุ

 

ขยาย

 

ภาพขยาย 

หมายเลขบันทึก: 150762เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2007 20:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
หลวงพ่อวัดปากน้ำไม่เคยเลิกฝึกสมาธิวิชชาธรรมกาย เชิญอ่านข้อเท็จจริง...

บทวิเคราะห์จากการสืบหาความจริงกรณีหลวงพ่อวัดปากน้ำเขียนรับรองการปฏิบัติกรรมฐานแบบหนอ โดยคุณธารณธรรม

หลวงพ่อวัดปากน้ำไม่เคยเลิกฝึกธรรมกายเหตุผลที่หลวงพ่อสดเขียนรับรองการปฏิบัติกรรมฐานแบบหนอ ก็ เพราะว่าท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาสภมหาเถระ) เมื่อครั้งมีสมณศักดิ์ที่พระพิมลธรรม เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง (สมัยนั้นมีสังฆมนตรีเพียง๔ รูป) ผู้มีอำนาจมาก มีบารมีมาก มีบริวารมาก และมีสมณศักดิ์เกือบสูงสุด ท่านเจ้าประคุณ มีความดำริจะส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐานให้เจริญแพร่หลายในประเทศไทย โดยเฉพาะท่านเชื่อว่าการสอนวิปัสสนาธุระที่เป็นระบบถูกต้องมีเฉพาะในประเทศพม่าเท่านั้น ทั้งที่ตอนนั้นสายพระอาจารย์มั่นและสายวัดปากน้ำได้ปฏิบัติธรรมอย่างมีระบบแล้ว

หลวงพ่อวัดปากน้ำและพระเถระผู้เชี่ยวชาญกรรมฐานฝ่ายมหานิกายจึงถูกเกณฑ์ให้เรียนกรรมฐานแบบหนอ

สำหรับหลวงพ่อสดนั้นถูกขอร้องเป็นพิเศษ ด้วยหลวงพ่อมีลูกศิษย์ลูกหามาก น่าจะมากที่สุดในประเทศไทยในสมัยนั้น ให้ช่วยเขียนรับรองการปฏิบัติกรรมฐานแบบวัดมหาธาตุฯให้ด้วย ไม่ใช่เป็นอย่างคำบิดเบือน “ที่กล่าวว่าหลวงพ่อปฏิบัติไป ๆ แล้วติดตันขึ้นมา ต้องไปขอให้ให้อาจารย์วัดมหาธาตุแนะทางให้ จึงรู้ว่าที่ท่านปฏิบัติมานั้นผิดทาง” ซึ่งยุทธการกล่าวบิดเบือนดังกล่าวมีมาตลอด แต่ที่เขียนบิดเบือนเป็นลายลักษณ์อักษรนั้นปรากฏเป็นครั้งแรกในหนังสือมักกะลีผล

ในการเกณฑ์ให้เรียนนั้น ท่านเจ้าคุณพระธรรมธีรราชมหามุนี(โชดก ญาณสิทธิ) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระอุดมวิชาญาณเถรต้องไปถวายการสอนที่ในโบสถ์วัดปากน้ำตอนบ่าย หลายวัน โดยปิดประตูโบสถ์ ไม่อนุญาตให้ใครเข้าไปฟัง หลวงพ่อวัดปากน้ำและท่านเจ้าคุณพระธรรมธีรราชมหามุนีถกอะไรกันบ้าง นั้นไม่มีใครทราบ พระดร. มหาทวนชัย อธิจิตโต ท่านเล่าว่าตอนนั้นท่านยังเป็นสามเณรมีหน้าที่ปูอาสนะสองที่หน้าพระประธาน เมื่อหลวงพ่อ และท่านเจ้าคุณพระธรรมธีรราชมหามุนี เข้าไปในโบสถ์แล้ว หลวงพ่อสั่งให้ท่านปิดประตู ห้ามใครเข้าใกล้

แต่สามารถอนุมานได้ว่าท่านเจ้าคุณพระธรรมธีรราชมหามุนี และเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(ครั้งมีสมณศักดิ์ที่พระพิมลธรรม) มีประสงค์จะให้หลวงพ่อเปลี่ยนการปฏิบัติกรรมฐานจากวิชชาธรรมกายเป็นแบบวัดมหาธาตุ ซึ่งหลวงพ่อไม่ยอม(พระดร. มหาทวนชัย อธิจิตโต, ๒๕๔๕, ใต้บารมีหลวงพ่อ ใน ที่ระลึกงานมุทิตา ฉลองพัดยศ พระครูสัญญาบัตรชั้นโท พระครูมงคลพัฒนคุณ เจ้าอาวาส วัดโบสถ์ (บน) บางคูเวียง นนทบุรี, หน้า ๓๗)

หลวงพ่อวัดปากน้ำได้เล่าให้ศิษย์บรรพชิตท่านฟังว่า ท่านปฏิบัติบรรลุญาณ ๑๖ มาเป็นสิบๆปีแล้ว ก่อนที่กรรมฐานแบบวัดมหาธาตุจะเข้ามาสู่ประเทศไทย เพราะวิชชาธรรมกายก็มีการพิจารณาไตรลักษณ์ และพิจารณาสติปัฏฐาน ๔ คือพิจารณากายในกาย เวทนาใน้เวทนา จิตในจิต และพิจารณาธรรมในธรรม และท่านยังได้บอกศิษย์ว่า สามเณรที่ทางวัดมหาธาตุรับรองว่าบรรลุญาณ๑๖แล้ว(เข้าใจว่าเป็นรูปแรก) ที่บอกใครๆว่าสามารถเข้าสมาบัตินั่งตัวแข็งได้ทุกที่นั้น ซึ่งโด่งดังมากในสมัยนั้น จะไม่สามารถเข้าสมาบัตินั่งตัวแข็งได้ที่วัดปากน้ำ และเป็นจริงตามที่หลวงพ่อพูด ต่อมาสามเณรรูปนั้นสึกแล้วเป็นหัวขโมย [หลวงพ่อฤาษีลิงดำ(พระราชพรหมยาน มหาวีระ ถาวโร) , ......, เรื่องจริงอิงนิทานเล่ม๑, น.๑๖๙- ๑๗๒. ]

-->> หลวงพ่อวัดปากน้ำได้เขียนรับรองให้จริง แต่เขียนให้ในฐานะที่ท่านเป็นพระอาจารย์ที่ปรึกษา เขียนรับรองวิทยานิพนธ์ของศิษย์ เพราะคนที่จะเขียนรับรองอะไรได้นั้น จะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในวิชานั้น ๆ ใช่หรือไม่

(หลวงพ่อสดวัดปากน้ำเทศน์...ที่วัดมหาธาตุ) หลวงพ่อสดท่านเป็นพระผู้ใหญ่กว่าอย่างไร ท่านได้รับการไว้วางใจจากเจ้าคุณพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺต มหาเถร) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุ ยุวราชรังสฤษฎิ์ องค์ที่ ๑๕ สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง และปฐมสภานายกมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมาก่อนที่จะเกิดเรื่องนี้ พิจารณาในกระทู้นี้...

http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2007/07/Y5650448/Y5650448.html

การที่หลวงพ่อยอมเขียนรับรองการปฏิบัติกรรมฐานแบบวัดมหาธาตุฯ ตามที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(อาสภเถร)สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองขอร้องแกม..... และตามคำขอของเจ้าคุณพระธรรมธีรราชมหามุนี ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ท่านทั้งสองเสียหน้า หลวงพ่อได้เขียนรับรองไว้ใต้ภาพถ่ายของท่านที่มอบให้วัดมหาธาตุฯ มีใจความดังต่อไปนี้ :

“ให้สำนักวิปัสสนา ในการที่ฉันได้เข้าปฏิบัติวิปัสสนาตามแบบวัดมหาธาตุสอนอยู่ในปัจจุบันนี้แล้ว ยืนยันได้ว่าการปฏิบัติแบบนี้ ถูกต้องร่องรอยในมหาสติปัฏฐานสูตรทุกประการ” พระภาวนาโกศล วัดปากน้ำ ธนบุรี ๒๐ เมษายน ๒๔๙๘

[วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์, ไม่ระบุปีที่พิมพ์, ประวัติและผลงานพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ. ๙), วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์, กรุงเทพมหานคร หน้า ๑๓. (คณะ๕ โทร ๐๒ ๒๒๒-๖๐๑๑)] แต่หลวงพ่อไม่ยอมเขียนว่าวิชชาธรรมกายไม่เป็นวิปัสสนา

จึงเป็นเหตุให้ผู้ที่ไม่ประสงค์ดีต่อวิชชาธรรมกายนำไปบิดเบือน คือพูดความจริงเพียงครึ่งเดียว แต่อีกครึ่งไม่ยอมบอกใครๆว่า ที่หลวงพ่อยอมเขียนรับรองให้นั้นเป็นการเขียนรับรองตามคำขอ เพราะเจ้าประคุณพระพิมลธรรม(อาสภเถร)สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองนั้นใหญ่มาก มีอำนาจมาก เป็นเรื่องที่ได้ยินได้ฟังจากครูอาจารย์ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และที่เสียชีวิตไปแล้วเล่าให้ฟัง

วิชชาธรรมกายนั้นเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา ผู้ปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกาย สามารถบรรลุนิพพานได้เช่นเดียวกัน แถมยังมีฤทธิ์ประดับบารมีด้วย ต่างกับการปฏิบัติวิปัสสนาแบบวัดมหาธาตุฯ ซึ่งโดยปรกติแล้วการปฏิบัติกรรมฐานแบบวัดมหาธาตุฯจะไม่มีฤทธิ์ประดับบารมี เว้นแต่เป็นของที่ติดภพเก่ามา หลักฐานที่ยืนยันได้แน่นอนว่าการปฏิบัติวิชชาธรรมกายนั้น สามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้จริง คือตัวของหลวงพ่อเอง หลวงพ่อวัดปากน้ำได้บอกศิษย์บรรพชิตให้ทราบว่าท่านบรรลุญาณ ๑๖ มานานแล้ว ก่อนที่วิธีปฏิบัติกรรมฐานแบบวัดมหาธาตุจะเข้ามาสู่ประเทศไทย โดยเฉพาะอัฐิธาตุศิษย์วิชชาธรรมกายบางท่านกลายเป็นพระธาตุก็มีให้เห็นแล้ว

หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านบอกว่า “ต้นธาตุสั่งให้ท่านมาเกิดเพื่อปราบมาร” เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๔๙๘ (นางแฉล้ม อุศุภรัตน์, ๒๔๙๙, โอวาทเจ้าคุณพ่อ, ใน เรื่องธรรมกาย ของพระมงคลราชมุนี, วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ, กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ไทยพณิชยการ,หน้าธ–ป.) ซึ่งหลวงพ่อสดเทศน์ภายหลังจากที่ท่านเขียนรับรองการปฏิบัติกรรมฐานแบบวัดมหาธาตุฯในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาแล้วประมาณ ๕ เดือนครึ่ง นี้เป็นหลักฐานชัดเจนว่าหลวงพ่อเชื่อมั่นในวิชชาธรรมกาย

การที่หลวงพ่อสดได้พยากรณ์ว่าสมเด็จป๋าจะได้เป็นใหญ่ที่สุดในหมู่สงฆ์เมื่อปี ๒๔๙๗ นั้น เพราะหลวงพ่อหยั่งทราบว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์จะต้องคดีจนหมดสิทธิ์ที่จะขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช ทั้งๆโดยตำแหน่งแล้วสมเด็จพระพุฒาจาย์ฯจะต้องได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช ก่อนสมเด็จป๋าอย่างแน่นอน

สมมุติว่าถ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชแล้ว สมเด็จป๋าหมดสิทธิ์ที่จะเป็นสมเด็จพระสังฆราช เพราะว่าสมเด็จป๋าสิ้นพระชนม์ก่อนสมเด็จพระพุฒาจารย์ถึง ๑๖ ปี คือสมเด็จป๋าสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่๗ ธันวาคม ๒๕๑๖ ส่วนสมเด็จพระพุฒาจารย์มรณภาพ เมื่อ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๓๒ นั้นแสดงให้เห็นว่าหลวงพ่อทราบเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

หลวงพ่อสดหยั่งรู้อยู่แล้วว่าในปี ๒๔๙๘ ท่านจะต้องถูกเกณฑ์ให้เรียนกรรมฐานแบบวัดมหาธาตุ ท่านผู้มากไปด้วยความเมตตา ทราบดีว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์จะต้องคดี ยากที่หาหลักฐานมาแก้ต่าง แต่ถ้าได้คำรับรองของท่านไปใช้แก้ต่างก็สามารถช่วยให้ชนะคดีได้ ซึ่งทนายของสมเด็จพระพุฒาจารย์ได้ใช้ข้อเขียนของหลวงพ่อสดที่เขียนรับรองว่าการปฏิบัติกรรมฐานวัดมหาธาตุถูกต้องตามสติปัฏฐาน ๔ ใช้เป็นหลักฐานหักล้างในการต่อสู้ จนชนะคดีในที่สุด (...มหาจุฬาฯ, ๒๕๓๕,ประวัติการสถาปนา เลื่อนชั้น ลดตำแหน่ง แต่งตั้ง ถอดถอน คืนสมณศักดิ์ พระพุทธาจารย์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ พระพิมลธรรม สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๕๓๕ , (๒๐๘) ๒๕๓๒, หน้า ๒๐๗)

“ระหว่างต้องคดี เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ต้องถูกคุมขังอยู่ที่ห้องสันติบาลตำรวจ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๕ ถึงวันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นเวลา ๕ พรรษา” (...มหาจุฬาฯ, ๒๕๓๕,หน้า๑๑๙) โดยเจ้าประคุณสมเด็จฯนุ่งห่มผ้าขาวแบบสบงและอังสะ และมีจีวรห่มคลุม และท่านถือวัตรอย่างพระภิกษุ’ ( .....มหาจุฬาฯ, ๒๕๓๓, หน้า ๒๑๕ )

“บั้นปลายชีวิตของสมเด็จพระพุฒาจารย์ เมื่อมีอายุสูงขึ้นได้ถูกโรคาอาพาธเบียดเบียน จนมือและเท้าด้านซ้ายเป็นอัมพฤกษ์ ไม่สามารถใช้งานได้ตามปรกติ ต้องอาศัยศิษย์ทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์คอยปรนนิบัติรับใช้ใกล้ชิด ทุก ๆ อย่างในช่วงนี้เอง ศิษย์บางคนจำพวกได้ถูกความโลภเข้าครอบงำจิตสันดาน จึงอาศัยเกียรติคุณและตำแหน่งการงานของท่าน แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ทั้งภายในและภายนอกวัดมหาธาตุ ฯ โดยเฉพาะเรื่องการแต่งตั้งพระอุปัชฌาย์ปลอมของสมีเจี๊ยบ ซึ่งเป็นข่าวโด่งดังเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒

สมีเจี๊ยบหรือพระครูสมุห์สรศักดิ์(เจี๊ยบ) คมฺภีรปญฺโญเป็นพระฐานานุกรม ที่พระครูสมุห์ ของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นพระหนุ่มและเป็นเลขานุการประจำตัวของเจ้าประคุณ และในระหว่างที่เจ้าประคุณสมเด็จฯเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆ ราช ตั้งแต่วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ ถึงวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้ถูกความโลภครอบงำ โดยเห็นแค่เงินสินจ้างรางวัลเลยถูกจับในคดีปลอมตราสมเด็จพระสังฆราช ทำการแต่งตั้งพระอุปัชฌาย์วิสามัญ ตลอดจนมั่วกับสีกา มีเมียเกือบ ๑๐ คนทั้งที่ยังครองผ้าเหลืองอยู่ สร้างความเสื่อมเสียให้สำนักวัดมหาธาตุฯ เจ้าประคุณสมเด็จฯ ตลอดวงการคณะสงฆ์เป็นอย่างมาก เรียกว่ากลางปี พ.ศ. ๒๕๓๒ สำนักวัดมหาธาตุฯ เสียชื่อเสียงมากที่สุด และในที่สุดพระครูสมุห์สรศักดิ์ก็ต้องถูกจับสึก เพราะคดีปลอมตราสมเด็จพระสังฆราชทำการแต่งตั้งพระอุปัชฌาย์วิสามัญ และเสพเมถุน เป็นอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นพระภิกษุเป็นนายสรศักดิ์ พรรัตนสมบูรณ์ หรือสมีเจี๊ยบ”.(...มหาจุฬาฯ, ๒๕๓๕, หน้า ๒๙๑)

ถามว่าทำไม วิบากกรรมของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาสภมหาเถระ) จึงมีมากมายขนาดนี้ ทั้ง ๆ ที่เจ้าประคุณสมเด็จฯเป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และมีเจตนาดีต่อพระศาสนา ถ้าไม่ต้องคดีเสียก่อน รับรองว่าจะต้องได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชอย่างแน่นอน

-->> เป็นไปได้ไหมว่า วิบากกรรมของสมเด็จพระพุฒาจารย์นั้น ส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากการที่ท่านได้บัญชาให้พระเถระผู้เชี่ยวชาญกรรมฐานฝ่ายมหานิกายของสงฆ์ไทย ต้องไปเรียนกรรมฐานแบบพม่า เพราะผู้เขียนเคยทราบจากพระเถระผู้เชี่ยวชาญกรรมฐานรูปหนึ่ง ท่านบอกว่ากรรมที่กระทำต่อผู้ทรงญาณสัมมาทิฏฐินั้นเป็นบาปมาก ยิ่งกระทำต่อพระอริยเจ้าแล้วจะบาปมากขนาดไหน

หลวงพ่อสดนั้นไม่เคยกล่าวว่าวิธีปฏิบัติกรรมฐานแบบอื่นไม่ถูกต้อง

อย่าลืมว่าหลวงพ่อสดนั้นไม่เคยกล่าวว่าวิธีปฏิบัติกรรมฐานแบบอื่นไม่ถูกต้อง

ถามว่ามีหลักฐานอะไรที่บ่งชี้ว่าหลวงพ่อสดไม่ได้ว่าวิธีปฏิบัติกรรมฐานแบบอื่นไม่ถูกต้อง ?

ที่ปรากฏเป็นหลักฐานทางเอกสาร มีดังนี้คือ:

๑. ท่านแนะนำให้หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฯ ไปเรียนกรรมฐานกับหลวงพ่อโหน่งวัดคลองมะดัน (ทั้งที่ตอนนั้นหลวงพ่อสดท่านค้นพบวิชชาธรรมกายแล้ว) ซึ่งเป็นพระอาจารย์กรรมฐานองค์แรกของหลวงพ่อ ((( ประชุมพระธรรมเทศนาและหลวงปู่สอนธรรม, ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พิมพ์พระราช ทาน, ในงานพระราชทานเพลิงศพ, พระราชสังวราภิมณฑ์ (โต๊ะ อินฺทสุวรรณณเถร), เจ้าอาวาส วัดประดู่ฉิมพลี, ๒๕๔๒, กรุงเทพ ฯ : ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๒ หน้า. (หน้า ๑๔และหน้า ๖๑ ))) หลวงพ่อโหน่งนั้นเมื่อท่านมรณภาพปรากฏว่าศพท่านไม่เน่า หลวงพอปานวัดบางนมโคบอกว่าหลวงพ่อโหน่งเป็นพระอรหันต์

๒. หลวงพ่อเขียนรับรองวิชาหนอว่าถูกต้องตรงร่องรอยสติปัฏฐาน ๔ (แต่ท่านละคำว่าต้องปฏิบัติอย่างเข้าใจจริง จึงจะถูกต้อง) ซึ่งได้มีกลุ่มบุคคลนำข้อความที่ท่านเขียนรับรองวิชาหนอในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาไปบิดเบือนเพื่อสนับสนุนวิชาของพวกตน ซึ่งจะไม่กล่าวซ้ำในที่นี้อีก

๓. แม้หลวงพ่อชา จะได้มาพักที่วัดปากน้ำ ๑ อาทิตย์ หลวงพ่อสดก็ไม่ได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะหลวงพ่อท่านทราบดีว่า หลวงพ่อชานั้นสร้างบารมีมาทางสายพระอาจารย์มั่น (ซึ่งหาอ่านได้ในประวัติหลวงพ่อชาบางเล่ม) เหมือนๆกับที่หลวงพ่อทราบว่าสมเด็จป๋าจะได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช เพราะว่าถ้าพระพิมลธรรมไม่ต้องคดีเสียก่อน สมเด็จป๋าจะไม่มีโอกาสขึ้นเป็นสมเด็จพระสังราชเลย เรียกปิดประตูตายทีเดียว

๔. หนังสือกรรมฐานชื่อ “สมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน” ซึ่งประพันธ์ โดยคุณโสภณ ชื่นชุ่ม เป็นศิษย์วิชชาธรรมกายรุ่นแรกๆ ของพระอาจารย์พระราชพรหมเถร วิ (วีระ คณุตฺตโม ) ต้นฉบับของหนังสือเล่มนี้พระอาจารย์พระราชพรมเถรได้ตรวจทานอย่างละเอียด

***ในหนังหนังสือกรรมฐานเล่มดังกล่าวมีคำอธิบายกรรมฐานแบบไตรลักษณ์ กรรมฐานแบบโบราณ และสมถวิปัสสนาแบบธรรมกาย ***

จากหลักฐานทั้ง ๔ ข้อนี้ สามารถใช้ยืนยันได้ว่า หลวงพ่อสดไม่เคยว่าการปฏิบัติกรรมฐานของไทยสายไหนไม่ดี

จากคุณ : CALAVERITE

************************************************************************

โดยสาเหตุดังกล่าวจึงทำให้เกิดอุบัติเหตุกับท่านเจ้าคุณโชดกที่วัดมหาธาตุช่วงบั้นปลายชีวิตของท่าน ที่ต้องปิดกันให้แซด

ท่านเจ้าคุณโชดกท่านเป็นปราชญ์ทางปริยัติจริง แต่ไม่ใช่ทางปฏิบัติ การศึกษาภาคปฏิบัติของท่านที่พม่านั้นไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะท่านมีความตั้งใจจะเอาวิชาหนอมาสอนมากเกินไป

ทราบจากวิทยาศาสตร์บัณฑิต แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยท่านหนึ่งเล่าให้ฟัง

ซึ่งปฏิบัติกรรมฐานที่พม่ารุ่นเดียวกับท่านเจ้าคุณโชดก แต่ผลการปฏิบัติของท่านเหนือกว่าเจ้าคุณโชดกมาก

ข้อพิสูจน์ที่ทำให้เห็นได้ชัดว่าท่านเจ้าคุณโชดกนั้นยังไม่เข้าใจวิชาหนออย่างท่องแท้

คือ ๑. สามเณรรูปแรกที่วัดมหาธาตุรับรองว่าบรรลุญาณ๑๖ ทั้งที่พระอาจารย์อาสภ ค้านว่าน่าจะได้ปฐมฌาณหยาบ

ทางสำนักหนอได้นำสามเณรรูปนี้ไปนั่งโชว์ตัวแข็งตามวัดต่าง ๆ โด่งดังมากในสมัยนั้น

แต่ไม่สามารถทำให้ตัวแข็งได้ที่วัดปากน้ำ เป็นไปตามที่หลวงพ่อสดบอกให้ศิษย์ท่านทราบล่วงหน้า

ต่อมาสามเณรรูปนั้นสึก กลายเป็นหัวขโมยวัวควายตัวยง บ้านอยู่ใกล้วัดพระพุทธบาตรตากผ้าลำพูน

๒. พระที่บรรลุญาณ ๑๖ จากสายหนอ ไปปฏิบัติธรรมที่วิเวกอาศรม ด้วยความอยากเป็นเจ้าสำนักแทนอาจารย์อาสถ จึงได้คบคิดกันรุมทำร้ายพระอาจารย์อาสภ โชคดี พระอาจารย์อาสภไม่มรณภาพ พวกบรรลุญาณ ๑๖ ปลอมเหล่านั้น ก็ถูกจับเข้าตะรางไปตามระเบียบ ไปสืบถามตำรวจที่ชลบุรีได้

๓. ท่านไพรวัลวัดทุ่งกร่าง เล่าว่า ท่านสงสัยว่าทำไมสามเณรที่อาจารย์รับรองว่าบรรลุญาณ ๑๖ ได้ไม่ถึงอาทิตย์ชกต่อยกัน นี้ก็แสดงว่าสามเณรเหล่านั้นบรรลุญาณ ๑๖ ปลอม

๔. อาจารย์โด่งดังอีกท่านหนึ่งโม้ว่าบรรลุญาณ ๑๖ เป็นพระโสดาบันของวัดมหาธาตุ แล้วยังคุยโม้ว่า หลังจากนั้นได้ไปเรียนวิชาโหราศาสตร์กับสมเด็จพระสังฆราชอยู่ วัดสระเกศ แปลกเหนาะพระโสดาบันยังอยากเรียนวิชาขวางทางนิพพาน นี้ก็แสดงว่าบรรลุโสดาปลอม แถมไปโม้ต่อว่าดุสิตเป็นชั้นสูงสุดของดาวดึงส์ พระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์ไปโปรดพุทธมารดาที่ดาวดึงส์ด้วยกายทิพย์

๕.สำนักวิเวกอาศรมของอาจารย์อาสภะไม่รับรองผู้จบญาณ๑๖ สายวัดมหาธาตุ ไปสืบดูก็จะเห็นจริง แต่ไม่ใช่ไปสืบกับพวกที่วัดมหาธาตุส่งไปนะ

ขอให้ไปพิสูจน์ตามที่แนะนำ จะได้ตาสว่าง ไม่เอาอะไรมาตั้งกระทู้ทำนองนี้อีก

ขอแถมอีกเรื่อง หลังจากมีหนังสือวิจารณ์นิทานมุสาวาทเล่มหนึ่งส่งให้คณะ ๕ วัดมหาธาตุฯอ่าน

ปรากฏว่าประวัติเจ้าคุณโชดกฉบับพิมพ์ใหม่ โดยสำนักพิมพ์กู๊ดมอนิ่ง& วันเวิลด์ ที่บอกว่าพิมพ์ครัง้แรก ที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๘ จัดพิมพ์ถวาย มี ๑๗ หน้า ไม่รวมหน้าปก

ถึงกับต้องเอาวันเวลาที่เขาเกณฑ์ให้หลวงพ่อสดไปเรียนกรรมฐานแบบหนอออก เพื่อจะทำให้การจับผิดนิทานโกหกยากขึ้นอีกนิด

ไปขอหนังสือระวัติ พระธรรมธีรราชมหามุนี(โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ. ๙)เล่มดังกล่าวได้ที่คณะ ๕ วัดมหาธาตุ โทร ๐ ๒๒๒๒-๖๐๑๑, ๐ ๒๒๒๒-๔๙๘๑

หรือว่าเอามะพร้าวมาขายสวน ไม่ว่ากันนะ

หลักฐานธรรมกายในประวัติศาสตร์พุทธศาสนา

คำว่า "ธรรมกาย" มีปรากฏเป็นหลักฐานในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทหลายแห่ง เท่าที่ปรากฏค้นพบคือ ในพระไตรปิฎก ๔ แห่ง ในอรรถกถา ๒๘ แห่ง ในฎีกา ๗ แห่ง ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ๒ แห่ง ในวิสุทธิมรรคมหาฎีกา ๓ แห่ง ในคัมภีร์มิลินทปัญหา ๑ แห่ง ในหนังสือปฐมสมโพธิกถา ๑ แห่ง ในหนังสือพระสมถวิปัสสนาแบบโบราณ ๑ แห่ง ในที่นี้จำนำมาแสดงที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและในคัมภีร์ต่างๆ พอสังเขป

หลักฐานชั้นพระไตรปิฎก

ในพระไตรปิฎกฉบับบาลีอักษรไทย (๒๕๒๕) ซึ่งจัดพิมพ์โดยมหามกุฎราชวิทยาลัย

มีปรากฏคำว่า "ธรรมกาย" อยู่ ๔ แห่ง โดยส่วนใหญ่อยู่ในพระสูตร คือ

๑. ที.ปา อัคคัญญสูตร ๑๑/๕๕/๙๑-๙๒

ในทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค หน้า ๙๒ ฉบับบาลี ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้กล่าวถึง "ธรรมกาย" ว่า "ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐ อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปี พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิฯ"

"ดูก่อน วาเสฏฐะ อันว่า คำว่า "ธรรมกาย" ก็ดี "พรหมกาย" ก็ดี "ธรรมภูต" ก็ดี ผู้ที่เป็นธรรมก็ดี หรือ "พรหมภูตะ" ผู้ที่เป็นพรหมก็ดี นี้แหละเป็นชื่อของเราตถาคต" จากข้อความนี้แสดงว่า ในประโยคดังกล่าว เป็นคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสกับสามเณรวาเสฏฐะว่า "ธรรมกาย" คือชื่อหนึ่งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

๒. ขุ.อป. มหาปชาบดีโคตรมีเถรีอปทาน ๓๓/๑๕๗/๒๘๔

ในขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ ๓๓ ข้อ ๑๕๗ หน้า ๒๘๔ บรรทัดที่ ๑๒ ฉบับบาลี ปี ๒๕๒๕ ได้กล่าวถึง "ธรรมกาย" ไว้ว่า

"สํวทฺชโตยํ สุคต รูปกาโย มยา ตว อานนฺทิโย ธมฺมกาโย มม สํวทฺธิโต ตยาฯ"

"ข้าแต่พระสุคต รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันยังให้เติบโตแล้ว แต่ "พระธรรมกาย" อันน่ารื่นรมย์ของหม่อมฉัน พระองค์ให้เติบโตแล้ว"

๓. ขุ.อป. ปัจเจกพุทธาปทาน ๓๒/๒/๒๐

ในขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ ๓๒ ข้อ ๒ หน้า ๒๐ บรรทัดที่ ๙ ฉบับบาลี ปี ๒๕๒๕ ได้กล่าวถึงว่า

"...ภวนฺติ ปจฺเจกชินา สยมฺภู มหนฺต ธมฺมา พหุธมฺมกายา...

"พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้สยมภู ทรงเป็นผู้มีธรรมะอันใหญ่ มี "ธรรมกาย" มาก"

๔. ขุ.อป. อัตถสันทัสสกเถราปทาน อปทาน ๓๒/๑๓๙/๒๔๓

ในขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ ๓๒ ข้อ ๑๓๙ หน้า ๒๔๓ บรรทัดที่ ๑ ฉบับบาลี ปี ๒๕๒๕ ได้กล่าวถึง "ธรรมกาย" ว่า

"...ธมฺมกายญฺจ ทีเปนฺติ เกวลํ รตนากรํ วิโกเปตํ น สกฺโกนฺตี โก ทิสฺวา นปฺปสิทติฯ"

หลักฐานชั้นอรรถกถา

๑. วินย. อ. สมนฺตปาสาทิกา เวรญฺชกณฺฑวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๑๑๖-๑๑๗

๒. ที.อ. สุมงฺคลวิลาสินี พฺรหฺมชาลสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๔

๓. ที.อ. สุมงฺคลวิลาสินี อคฺคญฺญสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๕๐

๔. สํ.อ. สารตฺถปฺปกาสินี ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๔๒-๓๔๓(อรรถกถาวักกลิสูตร)

๕. สํ.อ. สารตฺถปฺปกาสินี จกฺกวตฺติสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๒๒๒-๒๒๓

๖. ขุ.อ. ปรมตฺถโชติกา มงฺคลสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๙๕

๗. ขุ.อุ.อ. ปรมตฺถทีปนี พาหิยสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๙๐, ๙๑

๘. ขุ.อุ.อ. ปรมตฺถทีปนี โสณสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๓๒-๓๓๓

๙. ขุ.อิติ.อ. ปรมตฺถทีปนี นิทานวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๑๓

๑๐. ขุ.อิติ.อ. ปรมตฺถทีปนี ปญฺจปุพฺพนิมิตฺตสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๒๙๑

๑๑. ขุ.อิติ.อ. ปรมตฺถทีปนี อคฺคปฺปสาทสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๒๐-๓๒๑

๑๒. ขุ.อิติ.อ. ปรมตฺถทีปนี สงฺฆาฏิกณฺณสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๓๔

๑๓. ขุ.สุตฺต.อ. ปรมตฺถโชติกา ธนิยสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๙

๑๔. ขุ.สุตฺต.อ. ปรมตฺถทีปนี อุปสีวสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๔๔๓

๑๕. ขุ.วิมาณ.อ. ปรมตฺถทีปนี รชฺชุมาลาวิมานวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๒๔๖

๑๖. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี กงฺขาเรวตเถรคาถาวณฺณนา (ปฐโม ภาโค) ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๕๑

๑๗. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี สิริวฑฺฒเถรคาถาวณฺณนา (ปฐโม ภาโค) ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๑๖๗

๑๘. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี นาคิตฺเถรคาถาวณฺณนา (ปฐโม ภาโค) ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๒๘๕

๑๙. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี เมตฺตชิตเถรคาถาวณฺณนา (ปฐโม ภาโค) ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๐๔

๒๐. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี เสนกตฺเถรคาถาวณฺณนา (ทุติโย ภาโค) ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๑๙

๒๑. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี สรภงฺคเถรคาถาวณฺณนา (ทุติโย ภาโค) ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๑๕๘

๒๒. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี เขนฺตาเถรีคาถาวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๕

๒๓. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี มหาปชาบดีโคตมีเถรีคาถาวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๑๕๘

๒๔. ขุ.มหานิทฺ อ. สทฺธมฺมปชฺโชติกา ติสฺสเมตฺเตยฺยสุตฺตนิทฺเทสวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๒๖๓

๒๕. ขุ.จูฬนิทฺ อ. สทฺธมฺมปชฺโชติกา อุปสีวมาณวกสุตฺตนิทฺเทสวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๑

๒๖. ขุ.อป.อ. วิสุทฺธชนวิลาสินี ปจฺเจกพุทฺธาปทานวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๒๔๕

๒๗. ขุ.พุทฺธ.อ. มธุรตฺถวิลาสินี รตนจงฺกมนกณฺฑวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๗๔

๒๘. ขุ.จริยา.อ. ปรมตฺถทีปนี ปกิณณกกถา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๒๔

หลักฐานชั้นฎีกา

๑. วินย. ฎีกา. ตติยสงฺคีติกถาวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑ หน้า ๑๕๖-๑๕๗

๒. วินย.ฎีกา. เวรญฺชกณฺฑวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑ หน้า ๒๖๓

๓. วินย.ฎีกา. เวรญฺชกณฺฑวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑ หน้า ๓๘๗-๓๘๘

๔. วินย.ฎีกา. เวรญฺชกณฺฑวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑ หน้า ๔๓๙

๕. วินย.ฎีกา. ทุติยปาราชิก วินีตวตฺถุวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๒ หน้า ๒๐๓

๖. วินย.ฎีกา. โสณกุฏิกณฺณวตฺถุกถาวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๓ หน้า ๓๖๒-๓๖๓

๗. ม.ฎี. ลีนตฺถปฺปกาสินี มชฺฌิม-อุปริปณฺณาสฎีกา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๕๐

หลักฐานจากคัมภีร์และหนังสืออื่นๆ

๑. วิสุทธิมรรค

(๑) วิสุทฺธิมคฺคปกรณ พุทฺธานุสฺสติกถา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑ หน้า ๒๓๐

(๒) วิสุทฺธิมคฺคปกรณ มรณสฺสติกถา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑ หน้า ๒๕๕-๒๕๖

๒. วิสุทธิมรรคมหาฎีกา

(๑) วิสุทฺธิ. ฎีกา ปรตฺถมญฺชุสา พรรณนา อนุสสตินิเทศ (พุทธานุสติ) ภาค ๒ ฉบับภูมิพโลภิกขุ บาลี-ไทย หน้า ๔๙๔-๔๙๗

(๒) วิสุทฺธิ.ฎีกา ปรตฺถญฺชุสา อนุสสติกัมมัฏฐานนิเทศ (มรณสติ) ภาค ๓ ฉบับภูมิพโลภิกขุ บาลี-ไทย หน้า ๒๐-๒๒

(๓) วิสุทฺธิ.ฎีกา ปรตฺถมญฺชุสา พรรณนาอารุปปนิเทศ (ปกิณกกถา) ภาค ๓ ฉบับภูมิพโลภิกขุ บาลี-ไทย หน้า ๔๙๗-๔๙๘

๓. คัมภีร์วิสุทธิมรรคโบราณ

แต่งโดยพระพุทธโฆษาจารย์ ประมาณ พ.ศ. ๑๐๐๐ หน้า ๒๘๒

"...อันว่าสมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธองค์ ผู้ทรงพระสวัสดิภาคย์เป็นอันงามนั้น พระองค์มีพระรูปพระโฉม พระสรีรกายอันวิจิตรด้วยทวัตติงสะมหาบุรุษลักษณะ (ลักษณะสำหรับพระมหาบุรุษ ๓๒) และพระอสีตยานุพยัญชนะ ๘๐ ทัศ

ประเสริฐด้วย"พระธรรมกาย" อันบริบูรณ์ด้วยแก้ว อันกล่าวแล้วคือ พระสีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนะขันธ์ อันบริสุทธิ์บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง..."

๔. คัมภีร์มิลินทปัญหา

เรื่องพุทธนิทัสสนปัญหา หน้า ๑๑๓

๕. หนังสือพระปฐมสมโพธิกถา

พระนิพนธ์ในสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ตอนมารพันธปริวรรต ปริจเฉทที่ ๒๘ หน้า ๕๐๙

๖. หนังสือพระสมถวิปัสสนาแบบโบราณ

"...จึงตั้งจิตต์พิจารณาดู "ธรรมกาย"ในรูปกาย ด้วยการดำเนินในโพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการ จนจิตต์รู้แจ้งแทงตลอดรูปธรรมและนามธรรมได้แล้ว จักมีตนเป็นที่พึ่ง จักมีธรรมเป็นที่พึ่ง ด้วยประการฉะนี้"

"พระโยคาวจรผู้รู้ว่า "ธรรมกาย" ดำรงอยู่ในหทัยประเทศแห่งสรรพภูติ ทำให้หมุนดังว่าหุ่นยนต์ ท่านจึงตั้งใจเจริญพระวิปัสสนาญาณ เพื่อให้ถึง "ธรรมกาย" เป็นที่พึ่งอันยอดเยี่ยมโดยสิ้นเชิง ถึงสถานอันสงบระงับ ประเสริฐเที่ยงแท้ เพราะความอำนวยของ "ธรรมกาย" นั้นเป็นอมตะ..."

๗. คัมภีร์ศรีมาลาเทวี สีหนาทสูตร

"บุคคลใดไม่มีความสงสัยว่า ตถาคตเจ้าได้หลุดพ้นจากิเลสทั้งปวงแล้ว และ "ธรรมกาย" นั้นย่อมไม่มีการเกิด ไม่มีการแก่ ไม่มีการเจ็บ ไม่มีการตาย คงที่แน่นอน สงบตลอดกาล บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง ถึงพร้อมด้วยพุทธคุณทั้งปวง จะนับจะประมาณมิได้ ประหนึ่งเม็ดทราบในท้องพระแม่คงคาฉะนั้น สมบูรณ์ไปด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ แต่ไม่ปรากฏต่อสายตาของคนทั้งปวง "ธรรมกาย" ของพระตถาคตเจ้า เมื่อยังไม่พ้นจากกิเลสย่อมถูกกล่าวถึงในนามของตถาคตครรภะ"

๘. คัมภีร์ ลิ่ว จู่ ถั๋น จิง วู้ ซื่อ สมัยราชวงศ์ถัง

"ธรรมกาย" เป็นทางเอกที่ไร้รูป (ขันธ์ ๕) ใสสะอาด บริสุทธิ์ เป็นเรื่องที่ขบคิดด้วยปัญญาไม่ได้ พระอาจารย์ปรากฏรูปขึ้นยามไร้รูป สร้างชื่อขึ้นยามไร้ชื่อ สร้างประโยชน์เพื่อไปมาอิสระ ไม่มีติดขัด ไม่เกี่ยวข้องแม้ใยไหมกิเลสไม่สามารถมาย้อมเกาะจิตในได้ และในยามปฏิบัติธรรมได้ถูกต้อง จะได้พบท่านอาจารย์ใหญ่ ปรากฏธรรมจักขุ เห็น "ธรรมกาย" ที่กลมใส บริสุทธิ์"

"...มาเถอะกัลยาณมิตรทั้งหลาย เรื่องประพฤติธรรมนี้ ต้องเริ่มที่ใจของเรา ไม่ว่าเวลาใดๆ ตรึกนึกภาวนา

หลักฐานจากศิลาจารึก

๑. ศิลาจารึกพระธรรมกาย

...สพฺพญฺญูตญาณปวรสีลํ นิพานรมฺมณํ ปวรวิลสิ ตเกส จตูถชานาปวร ลลาต วชฺชิรสมาปตฺติ ปวรอุ... ...อิมํ ธมฺมกายพุทฺธลกฺขณํ โยคาวจรกุลปุตฺเตน ติกฺขญาเณน สพฺพญฺญุพุทฺธภาวํ ปตฺเถนฺเตน ปุนปฺปุนํ อนุสฺสริตพฺพํฯ

คำแปล "พระพุทธลักษณะคือ "พระธรรมกาย" มีพระเศียรอันเประเสริฐคือ พระนิพพาน อันเป็นอารมณ์แห่งผลสมาบัติ มีพระนลาฏอันเประเสริฐ คือจตุตถฌาน มีพระอุณาโลมอันประเสริฐ ประกอบด้วยพระรัศมี คือพระปัญญาในมหาวชิรสมาบัติ...

พ.ศ. ๒๐๙๒ ภาษาไทย-บาลี อักษร ขอมสุโขทัย บัญชี/ทะเบียนวัตถุ/พล.๒ พบที่พระเจดีย์วัดเสือ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ

ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติมจาก ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

๒. ศิลาจารึกที่เมืองพิมาย

นโมวุทฺธายนิรฺมมาณ (ธรฺมสามฺโภคมูรฺตฺตเย) ภาวาภาวทฺวยาตีโต (ทฺวยาตฺมาโยนิราตฺมก:)

คำแปล "ขอความนอบน้อม จงมีแด่พระพุทธเจ้า ผู้มีนิรมาณกาย "ธรรมกาย" และสัมโภคกาย ผู้ล่วงพ้นภาวะและอภาวะทั้งสอง ผู้มีอาตมันเป็นสอง และหาอาตมันมิได้"

เป็นศิลาจารึกภาษาสันสกฤต อักษรขอม มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พบที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ได้มีการถอดความและแปลแล้ว จัดพิมพ์ขึ้นเป็นตัวหนังสือเรื่อง "จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗" ปัจจุบันอยู่ที่หอสมุดวชิรญาณ (หอสมุดแห่งชาติกรุงเทพฯ)

๓. ศิลาจารึกที่ปราสาทพระขรรค

"สมฺภารวิสฺตรวิภาวิตธรฺมกาย สมฺโภคนิรฺมฺมิติวปุรฺภควานฺวิภกฺต:"

คำแปล "พระผู้มีพระภาค ผู้ประกอบด้วย " "พระธรรมกาย" อันพระองค์ยังให้เกิดขึ้นแล้วอย่างเลิศ ด้วยการสั่งสม (บุญบารมี) ทั้งสัมโภคกายและนิรมาณกาย"

เป็นจารึกภาษาสันสกฤต

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

แต่ท่านขอรับพระพุทธเจ้ารับรองสติปัฐาน 4 ครับ คนที่ตาบอดมาแต่เกิดเขาไม่เชื่อหรอกว่าแสงสว่างในโลกนี้มีจริง สติปัฎฐาน 4 เท่านั้นที่จะทำให้พ้นจากทุกข์บรรลุถึงพระนิพพานได้จริง ตามพระธรรมคำสอน..

วิชชาธรรมกายเป็นสติปัฏฐาน ๔

และหลวงปู่สดก็เป็นผู้เชี่ยวชาญในมหาสติปัฏฐาน ๔ อย่างแตกฉาน ท่านเรียนมูลกัจจาย และแปลมหาสติปัฏฐาน ๔ โดยตรง

วิชชาธรรมกายครบด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ทั้งสมถะ วิปัสสนา (วิปัสสนารู้เห็นด้วยญาณของแท้ไม่ใช่แค่วิปัสสนึกเอา) และสติปัฏฐาน ๔ ผู้ปฏิบัติสามารถเข้าถึงโคตรภูญาณแล้วปฏิบัติต่อไปจนหมดกิเลศอาสวะได้ด้วยทั้งเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่

http://www.dhammakaya.org/vijja/

สติปัฏฐาน 4 และหลักปฏิจจสมุปบาท เป็นทางสายเอก ดับทุกข์ได้จริง

ขอให้ชาวพุทธ ศึกษาจากพระไตรปิฏก เลือกที่ทรงกล่าวโดยมาก เน้นโดยมาก ย้ำโดยมาก

พระพุทธเจ้าท่านทรงแก้ปัญหาให้แล้วครับ

ธรรมอันเลิศ ได้ปรากฏบนโลกแล้ว หากแต่ท่านทั้งหลายไม่ขวนขวายในธรรม แต่กลับดูหมิ่นธรรมนั้น  ธรรมเหล่านั้นย่อมจะไม่เอื้อประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายเช่นกัน   หยุดในหยุด  นิ่งในนิ่ง  ใสในใส   ข้าพระพุทธเจ้าขอนอมน้อมต่อพระบรมศาสดา ทั้งนิพพานกายธรรม ทั้งนิพพานเป็น ทุกๆๆพระองค์ ขอพระองค์ทรงโปรดเมตตาหม่อมฉันด้วยเทอญ.......

มีประสบการณ์ ฝึกแบบไม่เอาจริงเอาจังอะไร อาจด้วยเหตุบังเอิญ เห็นลูกแก้วใสแต่มีแสงสีขาวเกมือนสายฟ้าในลูกแก้วประมาณ 3 เส้นภายใน คาดว่าฝันไปนะตอนที่เห็น เพราะแว๊บเดียวจริงๆ ใจไม่ได้นึกถึงลูกแก้วเลย. ก่อนนี้ผมแค่ลองดูว่าทีจริงไม๊ พยายามทำตามคำลพสด แต่ก็ไม่เห็นไร และเลิกฝึกเพราะไม่มีเวลา แต่ช่วงหลังตกงานไม่ไรทำก็ ทำสมาธิอีกครั้ง แบบสบายๆ นิดนึง จิตก็เริ่มกลับมานิ่ง สรุปคือลูกแก้วผมเห็นมาจริง แต่อาจไม่เหมือนคนอื่นๆเท่านั้น ใสจริง ติดตรงที่ทีแสงคล้ายสายฟ้าผ่า 3 เส้นภายในเท่านั้น แปลกดี กำลังคิดว่าอยากพิสูจน์ปฏิบัติอย่างจริงจังสักครั้ง ไม่รู้จะได้ถึงใหน ในฐานะหมาน้อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท