สุนทรียสนทนา (Dialogue)


"ฟังให้ลึกสุดใจ และ พูดด้วยความจริงใจ แม้จะแตกต่างกันไป แต่ใจเราเคารพกันเสมอ"

แรกๆผมสนใจเมื่อได้ยินคำว่า  "สุนทรียสนทนา"  ผมเคยได้ยินอีกเหมือนกันว่ามีการจัด workshop เรื่องนี้   แต่ตัวเองไม่มีโอกาสเข้าไปสัมผัสซักกะที   

ผมก็ไม่แน่ใจว่า  ผมจะเข้าใจมันถูกต้องแค่ไหน   ผมตีความมันว่า  สุนทรียสนทนา   คือการที่คนเราคุยกันได้  ภายใต้บรรยากาศแห่งมิตร   เวลาคุยแล้วมันได้ความคิดดีๆที่ปิ๊งแว๊บขึ้นมา   แล้วรู้สึกว่าการที่ได้คุยกับคนคนนั้นมันดีจริงๆ     ผมเลยย้อนนึกถึงว่าที่ผ่านมาผมคุยกับใครบ้าง   คุยแล้วผมรู้สึกว่าเวลาคุยแล้วมันเกิดความรู้สึกดีๆ    ตรงนี้สำหรับ  ผมจะเรียกมันว่า  สุนทรียสนทนาในโลกของผม

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาผมไปดูโครงการวิจัยท้องถิ่น  สกว.  ที่บ้านโคกกลาง  อ.ภูเวียง  จ.ขอนแก่น  ตอนที่วิทยากรกระบวนการในชุมชน (ชาวบ้านที่นั่นแหละครับ)  ตอบคำถามผู้ดำเนินรายการว่าเขาได้อะไรบ้างจากเรียนรู้ไปพร้อมๆกับชุมชน   เขาและเธอตอบดีมากครับ   ตอบตรงเรี่องหนึ่ง  "รู้ว่าตัวเองเป็นคนที่รู้จักฟังคนอื่นพูดมากขึ้น   ฟังแล้วเก็บมาคิด   คิดก่อนซักคืนแล้ว  ค่อยไปคุยใหม่ในวันอื่น   จากแต่เดิมจะฟังไม่ลึก  พอรู้สึกไม่ตรงกับความคิดเราก็สวนกลับทันที"  

ทั้งๆที่ชาวบ้านที่พูดเขาไม่รู้จักด้วยซ้ำนะครับ  สุนทรียสนทนา   แต่เขาถูกฝึกในท่ามกลางการพูดคุยกับคนในชุมชนของเขา  กับคนในครอบครัว  จนรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลง

ผมจึงจับประเด็นได้อย่างหนึ่งว่า   ไอ้ "สุนทรียสนทนา" นี่น่ะ!  มันต้องฝึกท่ามกลางบรรยากาศของจริง   ทำหลายๆครั้ง  หลายๆวงการพูดคุย  หลายๆเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้   แล้วสังเกตอาการตัวเองว่าทักษะการฟังลึกพอหรือยัง?

แต่ถ้าไปอบรม  หรือ workshop กลับมาแล้วไม่ปฏิบัติ  ไม่ฝึกใช้จริง    อบรมให้ตาย   พูดให้ปากฉีก ก็จะไม่มีวันเข้าใจ  สุนทรียจริงๆนั้นเป็นแบบไหน

ผมว่าการทดสอบที่ดีอันหนึ่งเวลาเราฟังใครพูด   แล้วเราเกิดความรู้สึกว่ามันไม่ใช่   ไม่ถูก  ไม่ดี  ไม่...นานาจะ  "ไม่"   แล้วเรายังตั้งใจฟังเขาอยู่  ใจยังติดตามประเด็นเล็กประเด็นน้อยที่เขาพยายามสื่อสารออกมา    แล้วยิ่งหาส่วนดีได้จากตรงนี้มากเท่าไร   ผมว่าตรงนี้แหละยิ่งเก็บได้มาก  ถือว่ายิ่งลึกมาก     และอาการอย่างนี้ต้องใช้ความอดทน  สู้กับใจตัวเองมาก   ต้องทนให้ได้อย่าง "ควาย"  อย่างคุณมาร์ติน มิลเลอร์  คนอังกฤษที่มาเป็นชาวนาอำเภอน้ำพอง  ขอนแก่น เคยพูดเอาไว้ในวันที่ 6 ก.พ. ปีนี้เหมือนกัน

ผมเลยเข้าใจเอาเองนะครับว่า  สุนทรียสนทนา  นั้นต้องมีทั้ง  

"ฟังให้ลึกสุดใจ   และ  พูดด้วยความจริงใจ   แม้จะแตกต่างกันไป  แต่ใจเราเคารพกันเสมอ"

คำสำคัญ (Tags): #dialogue
หมายเลขบันทึก: 15015เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2006 11:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

คุณธวัชคะ ประโยตนี้ "โดน"  จริงๆ ค่ะ

 ไอ้ "สุนทรียสนทนา" นี่น่ะ!  มันต้องฝึกท่ามกลางบรรยากาศของจริง   ทำหลายๆครั้ง  หลายๆวงการพูดคุย  หลายๆเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้   แล้วสังเกตอาการตัวเองว่าทักษะการฟังลึกพอหรือยัง?

ต้องปฏิบัติด้วยตัวเองมากๆ ค่ะ ถึงจะลุกออกจากร่องเดิมได้ค่ะ

มีบางเรื่องที่ต้องพูดเกี่ยวกับจิตวิญญาณของการไดอะล็อก คุณเข้าร่วมได้อย่างไร และคุณเป็นใครในพื้นที่แห่งการสนทนานั้นเป็นเรื่องที่สำคัญต่อการเกิดของเชาวน์ปัญญาร่วมกัน

แนวทางที่คุณและเพื่อนร่วมงานของคุณเข้าร่วมในการสนทนานั้น โดยปกติจะสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมในองค์กร การสนทนาจะอ่อนแอและแห้งแล้งในวัฒนธรรมที่อันตรายและไม่ปลอดภัยจากการที่มีความไม่เชื่อใจกัน การมีวาระซ่อนเร้นและการป้องกันตนเอง องค์กรต่างๆ ต้องหมั่นปลูกฝังสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและไว้วางใจ จึงทำให้ไดอะล็อกสามารถเกิดขึ้นได้ ดังเช่นที่ไมโลทำโดยการสร้าง “พื้นที่เพื่อการไตร่ตรอง” รอบกองไฟ

เมื่อขาดความตั้งใจที่มีจุดประสงค์ พวกเราจะหวนกลับไปสู่ช่วงการอภิปรายโต้แย้งที่ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างน้อยมาก ในการสนทนาของผมกับภรรยา ลูกๆ และเพื่อนร่วมงาน น่าแปลกใจที่ผมเองได้สังเกตว่า ผมหลุดออกจากแนวทางในการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและง่ายมากเพียงใด ขณะที่คนอื่นพูดนั้น ผมมักมีความเชื่อว่า “ผมรู้ว่าพวกเขาจะสรุปไปในทิศทางใดในประเด็นนี้” ผมเริ่มสร้างการตอบสนองของผมเอง แม้แต่ขณะที่พวกเขาพูด และมักพบว่าตัวผมเองเฝ้าคอยอย่างใจจดใจจ่อให้พวกเขาพูดเรื่องที่ผมรู้อยู่แล้วว่าพวกเขาจะพูดอะไรให้จบไวๆ เพื่อที่ผมจะได้พูดประเด็นของผมบ้าง นี่เป็นข้อบกพร่อง มันเป็นแนวทางที่พวกเราเขา้ ไปสู่การขาดการมุ่งเน้นพลังในการเรียนรู้

แต่ผลที่ได้รับจากแนวทางนี้เรียบง่ายมาก นั่นคือ พวกเราไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย

หากต้องการเปลี่ยนแนวทาง เราต้องฝึกทักษะที่เรียกว่าการเปิดเผยอย่างคิดไตร่ตรอง (Reflective Openness) ซึ่งสมาชิกแต่ละคนมีส่วนร่วมพร้อมด้วยกรอบความคิดต่อไปนี้:

 นี่เป็นเพียงความคิดที่ดีที่สุดของฉันในปัจจุบัน ฉันรู้ว่ามีความเป็นไปได้เรื่องอื่นๆ ที่ฉันอาจมองไม่เห็นในขณะนี้

 ตำแหน่งและระดับไม่ได้มีความสำคัญในการสนทนานี้ ฉันอยู่ในระดับที่เท่าเทียมในฐานะมนุษย์กับคนอื่นทุกคน

 ฉันจะสงบการตัดสินของฉันขณะที่คนอื่นพูด

 ฉันสามารถเรียนรู้ได้มากจากพวกคุณ

 ฉันคาดหวังว่าฉันจะต้องเปลี่ยนแปลงจากการสนทนาครั้งนี้

 ฉันไม่ได้คาดหวังว่าจะโน้มน้าว แข่งขัน เอาชนะ หรือ ชนะ

 ฉันรับช่วงเวลาที่เงียบๆ ในการสนทนาได้

 

...บางส่วนจาก นิทานการเรียนรู้ "Listening to the Volcano: สดับเสียงภูเขาไฟ (บทสนทนาที่เปิดใจรับความเป็นไปได้ใหม่ๆ)" โดย อี.ไอ.สแควร์ สำนักพิมพ์

ฟังสัมมนาเรื่องนี้และวินัย 5 ประการสำหรับการเรียนรู้เชิงองค์กร พร้อมรับหนังสือฟรี 5 เล่มได้ที่ http://publishing.eisquare.com

สัมมนาวินัย 5 ประการสำหรับการเรียนรู้เชิงองค์กร (พร้อมรับหนังสือฟรี 5 เล่ม)

วิทยากร โดย ดร. มนต์ชัย พินิจจิตรสมุทร ^_^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท