การแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์


การแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์

ชื่อเรื่อง            การแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ  เรื่องการวัด  

                       ตำแหน่งที่ของข้อมูลโดยใช้เปอร์เซ็นต์ไทล์ของ

                       นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6   โรงเรียนสตรีปากพนัง  

                       ปีการศึกษา  2549      ด้วยวิธีสอนแบบมีเพื่อนพี่เลี้ยงชื่อผู้วิจัย          นางธิดารัตน์    แปะเง้าสุข

ชื่อโรงเรียน      โรงเรียนสตรีปากพนัง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

                        นครศรีธรรมราช  เขต 3

ปีที่วิจัย            2549

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง รูปแบบการวิจัย          X      Oมีวัตถุประสงค์เพื่อ  ให้นักเรียนมีทักษะในการวัดตำแหน่งที่ของข้อมูลโดยใช้เปอร์เซ็นต์ไทล์    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย   เป็นแบบฝึกทักษะการวัดตำแหนงที่ของข้อมูลโดยใช้เปอร์เซ็นต์ไทล์และแบบทดสอบหลังเรียน   ผู้วิจัยได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่วางไว้    แล้วทำการทดสอบหลังเรียน นำคะแนนการทดสอบหลังเรียนไปเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่วางไว้  ผลการวิจัยพบว่าแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ   เรื่องการวัดตำแหน่งที่ของข้อมูลโดยใช้เปอร์เซ็นต์ไทล์     ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6  โรงเรียนสตรีปากพนัง  ปีการศึกษา  2549    ด้วยวิธีสอนแบบมีเพื่อนพี่เลี้ยง    นักเรียนมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินทุกคน  แสดงว่าการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ    เรื่องการวัดตำแหน่งที่ของข้อมูลโดยใช้เปอร์เซ็นต์ไทล์   ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6  โรงเรียนสตรีปากพนัง  ปีการศึกษา 2549   ด้วยวิธีสอนแบบมีเพื่อนพี่เลี้ยง    สามารถแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ   เรื่อง    การวัดตำแหน่งที่ของข้อมูลโดยใช้เปอร์เซ็นต์ไทล์      ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6       โรงเรียนสตรีปากพนัง    ปีการศึกษา  2549   ได้ 
วิธีการปฏิบัติงาน  Best  Practice  1.  ขั้นเตรียม (Plan)                   1.  ศึกษาปัญหา                       2.  ออกแบบนวตกรรม  เขียนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้   และสร้างสื่อ                   3.  ครู  นักเรียนเป้าหมาย  และนักเรียนเพื่อนพี่เลี้ยง    ร่วมกันกำหนดข้อตกลงในการเรียน    การวัดผล  และการประเมินผล2.  ขั้นดำเนินการสอน (Do)                   1.  ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแผนที่วางไว้                   2.  นักเรียนพี่เลี้ยงจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแผนที่วางไว้3.  ขั้นตรวจสอบ (Check)                   1.  นักเรียนกลุ่มเป้าหมายทำแบบฝึกทักษะ    และทดสอบหลังเรียน                      2.  ครูตรวจแบบฝึกทักษะ    และแบบทดสอบหลังเรียน                      3.  ประเมินผลการเรียนรู้4.  ขั้นปรับปรุง/พัฒนา (Action)                   1.  นักเรียนที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน    กลับไปเริ่มต้นขั้นตอนที่  2  ใหม่                   2.  คนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินแล้ว  ช่วยเป็นเพื่อนพี่เลี้ยงให้กับคนที่ยังไม่ผ่าน     ปัจจัยแห่งความสำเร็จ                   1.  ความร่วมมือของนักเรียนเป้าหมาย และนักเรียนเพื่อนพี่เลี้ยง                   2.  ความเสียสละ  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  ของนักเรียนเพื่อนพี่เลี้ยง ความภาคภูมิใจ  และผลที่ได้รับ                   1.  เกิดความรักความสามัคคีระหว่างเพื่อนนักเรียน                      2.  นักเรียนเพื่อนพี่เลี้ยงมีความเชื่อมั่นในตนเองเพิ่มขึ้น    ช่วยครูดูแลเพื่อนคนอื่นๆ  ได้   ทำให้บรรยากาศและผลการเรียนในห้องเรียนปกติดีขึ้น                   3.  นักเรียนที่เรียนอ่อน  มีความมั่นใจในตนเองเพิ่มขึ้น  มีความสุขในการเรียนคณิต                   4.  ครูมีแนวทาง  วิธีการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำได้ดีอีกหนึ่งวิธี
หมายเลขบันทึก: 150083เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2007 09:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 22:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท