บันทึกทางการพยาบาล


บันทึกทางการพยาบาล กับพยาบาล

บันทึกทางการพยาบาล  เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้น คู่มากับวิชาชีพพยาบาล ...   แต่ดูเหมือนว่า การพัฒนาบันทึกทางการพยาบาลไม่ได้เดินก้าวไกลไปมากนัก   กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก  คงเป็นอีกโรงพยาบาลหนึ่งที่ยังไม่สามารถให้คำตอบกับคุณค่า และคุณภาพของบันทึกทางการพยาบาลตามที่ควรจะเป็นได้  มันเป็นอีกความฝันหนึ่งที่กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก  อยากไปให้ถึงฝัน  พวกเราจะพัฒนาบันทึกทางการพยาบาลไปตามเส้นทาง  และบริบทที่เหมาะสมกับความเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก  สิ่งเหล่านี้คือที่มาของการเลือกเครื่องมีอในการพัฒนาคุณภาพบันทึกทางการพยาบาล  กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก ได้มีการพัฒนาระบบบันทึกางการพยาบาล โดยใช้ การวิจัย เพื่อการพัฒนา  R/D . ในระยะที่ 1 และกำลังดำเนินการในระยะที่  2 

 กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก เอง ก็ยังไม่รู้ว่า  จะต้องพัฒนาระบบบันทึกทางการพยาบาลไปอีกกี่ระยะ  เพราะตราบใดที่ยังมีพยาบาล ตราบนั้น เราก็คงยังต้องมีบันทึกทางการพยาบาล ควบคู่ไปกับเรา  เพราะบันทึกทางการพยาบาล  คือเครื่องมือชิ้นที่สำคัญ ที่บ่งบอกความเป็นพยาบาลที่มีคุณภาพ   และความเป็นอิสระของวิชาชีพ  แต่จะมีพยาบาลอีกสักกี่คน ที่คิดจะพัฒนาบันทึกทางการพยาบาล เพื่อบ่งบอกให้เห็นถึงความเป็นพยาบาลทีมีคุณภาพ

ก่อนการพัฒนาระบบบันทึกทางการพยาบาลในระยะที่ 1  เราพบว่า พยาบาลมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการบันทึก  ขาดความตะหนักในความสำคัญของการบันทึก  มีการนำความรู้ในเรื่องกระบวนการพยาบาลสู่การบันทึก ฯ ค่อนข้างน้อย    ผู้บริหารทางการพยาบาลไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการสร้างความตะหนัก  และให้ความสำคัญต่อการทวนสอบบันทึก   สิ่งเหล่านี้ ได้รับการทบทวน และนำสู่การพัฒนา โดยมีการฟื้นฟูความรู้ในการใช้กระบวนการพยาบาลในการบันทึกทางการพยาบาล     การค้นหาปัญหา และความเสี่ยงที่เป็นระบบของผู้ป่วย  การแบ่งระดับความรุนแรงของผุ้ป่วยทีเป็นแนวทางเดียวกัน มาตรฐานการพยาบาล และการบันทึกในแต่ละโรคที่พบบ่อยในโรงพยาบาลหนองจิก  ระบบการตรวจสอบบันทึกทางการพยาบาล  ฯลฯ   หลังการนำแนวทางต่างๆไปสู่การปฏิบัติจริง เราก็ยังพบว่า  บันทึกทางการพยาบาล ของเรายังไม่สามารถครอบคลุมระบบคุภาพ ที่ต้องการได้    การดูแลผู้ป่วย โดยใช้  C3 THER  ,  การดูแลผู้ป่วย โดยใช้  12 กิจกรรม  ของสถาบันพัฒนา และรับรองคูณภาพ โรงพยาบาล  การนำข้อมูลจากการบันทึกสู่การดูแลผู้ป่วยแบบเป็นองค์รวมโดยทีมสหวิชาชีพ  และแล้วเราก็เริ่มพัฒนาบันทึกทางการพยาบาลในระยะที่  2 โดย มีความหวังว่า เราจะสามารถมีบันทึกทางการพยาบาลที่บ่งบอกถึงความมีคุณภาพ ของพยาบาล ได้มากกว่า....

                               

     

หมายเลขบันทึก: 149703เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2007 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 สิงหาคม 2013 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ต่อไปคงใช้บันทึกใน G2K แลกเปลี่ยนกันคงได้นะครับ  เราเพียงแต่คิดเขียน  เขาจัดเก็บไว้ให้เองครับ
  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • เป็นปัญหาเหมือนกันเกือบทุกที่เลยนะคะ
  • ป้าแดงเคยติดตามอยู่พักใหญ่เป้ฯปี จนเหนื่อย ตอนนี้เลยห่างออกมาแล้วอ่ะค่ะ
  • จะรอดูระยะ2ของอาจารย์นะคะ เผื่อว่าจะขอนำมาใช้ที่ทำงานบ้างน่ะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

แวะมาเก็บประสบการณ์เห็นหลายที่ทำเรื่องนี้

ที่นี่เราก็มีปัญหา แต่อาศัยการแลกเปลี่ยนแบบKM เราได้ผลสรุป และนำมาปฏิบัติเห็นใช้ได้ดีค่ะ

หากเรามุ่งมั่นพัฒนาแบบมีส่วนร่วม อะไรคงไม่ยากดังที่คิด รึเปล่าหนอ

ท้อใจจังค่ะเคยอยู่รพ,ที่มีการบันทึกการพยาบาลแบบมีมาตรฐาน

มาอยู่รพ.ใหม่ต้องมาเริ่มทำระบบการบันทึกการพยาบาล

ในขณะที่รพ,อื่นใช้คอมในการบันทึก แบบฟอร์มการบันทึกทางการพยาบาลไม่มีการพัฒนา คงนับตั้งแต่ก่อตั้งรพ,

ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน เราก็แค่พยาบาลตัวเล็กนิดเดียว

ได้เป็นตึกนำร่อง HA ในขณะที่นโยบายไม่มีความชัดเจนเลย ยังยึดติดอยู่กับรูปแบบการทำงานเก่า ตามความเคยชิน

ขอคำแนะนำและกำลังใจในการเริ่มงานด้วยคะ

,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,

จากพยาบาลตัวเล็กๆ

ตอนนี้ ก้คงเริ่มต้นรื้อ บันทึกทางการพยาบาลมาหาลู่ทางการพัฒนา วงล้อที่เท่าไร ไม่รู้ ไม่กล้านับ กลัวท้อ

หลังจากที่เริ่มต้นไปหลายๆ ครั้ง เปลี่ยนหัวหน้าตึกมา ก็หลาย ที่เดียว ตั้งแต่

เตือนใจสายทอง

อัจจิมา เซ่งขุนทอง

วัฒนา พงค์เจริญ

วาสนา ยิ้มเที่ยง

ผาณิต หลีเจริญ

รีชนีกร เฮ่าบุญ

สุดาทิพย์ สมวงค์

ไม่รู้ว่า จะเดินหน้าสู่การพัฒนาบันทึก ฯ ไปอีกสักเท่าไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท